โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ธุรกิจประกันภัยกับฟินเทค

ประชาชาติธุรกิจ

เผยแพร่ 23 พ.ค. 2561 เวลา 01.55 น.
typing-690856_960_720

คอลัมน์ คุยฟุ้งเรื่องการเงิน

โดย พิเชฐ เจียรมณีทวีสิน www.actuarialbiz.com

ในปัจจุบันการใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามาช่วยในธุรกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะในวงการการเงินที่เรียกกันว่า “ฟินเทค” ก็ได้ใช้กันเป็นที่แพร่หลาย เช่น โมบายแบงกิ้ง เป็นต้น ซึ่งในเชิงลึก ฟินเทค ไม่ได้หมายถึงแค่การทำธุรกรรมทางการเงินที่ใกล้ตัวเราเท่านั้น แต่รวมไปถึงบริษัทสตาร์ตอัพ แต่มีจุดประสงค์เพื่อการบริการทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงการสร้างสกุลเงินทางโลกออนไลน์ขึ้นสิ่งที่ท้าทาย คือการสร้างความน่าเชื่อถือในระบบจัดเก็บ-รับ-โอนนั้น ๆ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจประกันภัย ซึ่งมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับการเงิน การรับ-โอนเงินของธุรกิจประกันนั้นจึงจำเป็นอย่างมากที่ ฟินเทค จะเข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนธุรกิจประกันภัย เนื่องจากสิ่งที่บริษัทประกันภัยทำการแลกเปลี่ยนกัน ระหว่างลูกค้าคือตัวเงิน (เบี้ยประกัน เงินเอาประกัน เงินปันผล หรือค่าชดเชยต่าง ๆ) ที่มีสัญญาประกันภัยเป็นตัวกำหนดกฎเกณฑ์การจ่าย จึงเตรียมพร้อมทั้งด้านความเข้าใจและระบบที่จะรองรับฟินเทค เพื่อที่ธุรกิจประกันภัยจะได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีทางการเงินนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

การนำเทคโนโลยีมาใช้ในช่องทางประกัน จะมีรูปแบบการกำกับดูแลที่เปลี่ยนแปลงไป

คุณสามารถนำเทคโนโลยีมาช่วยในธุรกิจประกันภัยได้ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเสนอขาย การพิจารณารับประกันภัย การโอนเงินค่าเบี้ยประกัน การต่ออายุ รวมไปถึงการจ่ายเคลม ซึ่งในส่วนของการกำกับดูแลนั้นจะดูแลตั้งแต่การออกใบอนุญาตขาย การตลาด/การเสนอขาย และการจ่ายเคลม

แน่นอนว่าการนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามา ทางผู้กำกับดูแลก็ได้มีการเตรียมความพร้อมและมองไปข้างหน้าถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ ยกตัวอย่างการนำเทคโนโลยีมาใช้ในช่องทางการเสนอขายประกันนั้นเป็นข้อดีของการเติบโต และการขยายตัวทางการตลาดของธุรกิจประกันภัย เนื่องจากสะดวก รวดเร็ว และสามารถเข้าถึงคนยุคใหม่ได้ในวงกว้าง แต่ต้องระวังสื่อที่เสนอขาย ว่ามีความชัดเจนต่อผู้บริโภค เป็นไปตามข้อกำหนดของหน่วยงานกำกับ หรือการจะควบคุมอย่างไรให้ธุรกิจประกันภัยที่มีการเสนอขายในช่องทางดังกล่าวไม่เติบโตเร็วจนเกินความสามารถของการรับความเสี่ยงในแต่ละบริษัท ซึ่งจะเห็นได้ว่าทางฝ่ายที่กำกับดูแลก็จะต้องมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการกำกับดูแลเพื่อเป็นคู่ขนานกันกับบริษัทประกันด้วยเช่นกัน เรียกว่า regtech

การนำเทคโนโลยีมาช่วยในเรื่องประกัน จะสามารถทำให้คนเข้าถึงประกันได้ง่ายขึ้น

หากบริษัทประกันสามารถนำเทคโนโลยีมาช่วยให้ทุกกระบวนการง่ายขึ้น และทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่าย รวดเร็ว เช่น เน้นไปทางเพิ่มช่องทางของการชำระเบี้ยประกัน นอกจากนั้น การพัฒนาระบบ “การเคลม” หรือ “การจ่ายเงินเอาประกัน” ก็มีส่วนช่วยได้อย่างมาก หากกระบวนการเหล่านี้สามารถทำได้รวดเร็ว ถูกต้อง และอธิบายได้ชัดเจน มากเท่าไหร่ คาดว่าธุรกิจประกันจะดูโดดเด่นและเข้าถึงคนได้ง่ายขึ้น

คาดว่าอนาคตการเติบโตของ insuretech จะเป็นอย่างไร

แต่ก่อนคนมักจะต้องไปเดินเลือกซื้อตามแหล่งต่าง ๆ ที่คาดว่าจะมีสินค้าที่เราต้องการ แต่ในปัจจุบัน อย่างแรกที่เราทำเมื่อจะซื้อสินค้า คือ search หาความรู้เบื้องต้นก่อน จากนั้นจะ search เปรียบเทียบราคา และโปรโมชั่นต่าง ๆ สุดท้ายคือเมื่อหาราคาที่พึงพอใจแล้วก็จะกดสั่งซื้อให้ของมาส่งที่บ้าน ซึ่งสะดวกกว่าการเดินทางไปซื้อของในห้าง อีกเหตุผลหนึ่งคือ ราคาถูกกว่า ได้รับโปรโมชั่นที่พึงพอใจ (เพราะผู้ขายสามารถลดต้นทุนในเรื่องของการเช่าสถานที่โชว์สินค้าไปได้มาก)

ต่อมาก็จะเป็นเรื่องของการประหยัดเวลาและค่าเดินทาง ดังกรณีที่ได้กล่าวไปนี้เป็นกรณีของพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค ซึ่งกรมธรรม์ประกันภัยก็ถือเป็นสินค้าอย่างหนึ่ง เมื่อผู้บริโภคเริ่มมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว เช่น ก่อนเสียเงินก็ต้องการความรู้ความเข้าใจ ต้องการเปรียบเทียบราคา/รายละเอียดสินค้า และต้องการความสะดวกรวดเร็ว พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปดังกล่าวทางผู้ผลิตก็ต้องมีการปรับตัว ไม่ว่าจะเป็นช่องทางการขาย ระบบภายใน ให้มีความสะดวก รวดเร็ว เข้าถึงง่าย ซึ่งการนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการต่าง ๆ นั้น หากพัฒนาให้เกิดความเสถียรและมีประสิทธิภาพ จะเป็นผลดีต่อทั้งบริษัทประกันและผู้บริโภค

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0