โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ธปท.ร่อนจดหมายถึง ‘คลัง’ แจงเหตุทำเงินเฟ้อต่ำเป้า

กรุงเทพธุรกิจ

เผยแพร่ 21 ม.ค. 2563 เวลา 12.33 น.

ตามที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีข้อตกลง ร่วมกันเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2561 กําหนดให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปีที่ร้อยละ 2.5 +1.5 เป็นเป้าหมายนโยบายการเงินด้านเสถียรภาพราคาสําหรับระยะปานกลางและเป็นเป้าหมายสําหรับ ปี 2562 ด้วย และระบุให้ กนง. มีจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหากอัตราเงินเฟ้อทั่วไป เฉลี่ยในปี 2562 เคลื่อนไหวออกนอกกรอบเป้าหมาย รวมถึงได้มีข้อตกลงร่วมกันเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2562 กําหนดให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงร้อยละ 1-3 เป็นเป้าหมายนโยบายการเงินด้านเสถียรภาพราคาสําหรับ ระยะปานกลาง และเป็นเป้าหมายสําหรับปี 2563 และระบุให้ กนง. มีจดหมายเปิดผนึกหากอัตราเงินเฟ้อทั่วไป เฉลี่ย 12 เดือนที่ผ่านมาหรือประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 12 เดือนข้างหน้าเคลื่อนไหวออกนอก กรอบเป้าหมาย นั้น

เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2563 กระทรวงพาณิชย์ได้เผยแพร่ข้อมูลอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของ เดือนธันวาคม 2562 อยู่ที่ร้อยละ 0.87 ทําให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี 2562 อยู่ที่ร้อยละ 0.71 ซึ่งต่ํากว่า ขอบล่างของกรอบเป้าหมายนโยบายการเงินของปี 2562 ประกอบกับประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไป เฉลี่ย 12 เดือนข้างหน้า (มกราคม-ธันวาคม 2563) ตามรายงานนโยบายการเงินเดือนธันวาคม 2562 อยู่ที่ ร้อยละ 0.8 ซึ่งต่ำกว่าขอบล่างของกรอบเป้าหมายนโยบายการเงินสําหรับปี 2563 ดังนั้น กนง. จึงขอเรียน ชี้แจงถึง (1) สาเหตุที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปต่ำกว่าขอบล่างของกรอบเป้าหมาย (2) ระยะเวลาที่คาดว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมาย และ (3) การดําเนินนโยบายการเงินเพื่อดูแลให้อัตรา เงินเฟ้อทั่วไปกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในระยะเวลาที่เหมาะสม โดยมีรายละเอียด ดังนี้ สาเหตุที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2562 และประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 12 เดือนข้างหน้า (มกราคม-ธันวาคม 2563) ต่ํากว่ากรอบเป้าหมายนโยบายการเงิน

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี 2562 อยู่ร้อยละ 0.71 ปรับลดลงจากปีก่อนที่ร้อยละ 1.07 และอยู่ต่ำกว่าขอบล่างของกรอบเป้าหมายนโยบายการเงิน โดยมีสาเหตุสําคัญมาจากอัตราเงินเฟ้อหมวด พลังงานที่กลับมาติดลบ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานซะลอลงจากแรงกดดันด้านอุปสงค์ที่มีจํากัดและ ผลของการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตยาสูบในปี 2560 ที่ทําให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นชั่วคราวหมดไป อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อหมวดอาหารสตปรับเพิ่มขึ้นจากปีก่อนตามราคาผักผลไม้ที่ปรับสูงขึ้น รวมถึงราคาสุกรและไข่ไก่ ที่เพิ่มขึ้นจากอุปทานที่ปรับลดลง โดยรายละเอียดของปัจจัยที่ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2562 อยู่ต่ํากว่า กรอบเป้าหมายมีดังต่อไปนี้

ปัจจัยด้านอุปทานโดยเฉพาะการลดลงของราคาพลังงานเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับลดลง โดยราคาน้ํามันขายปลีกในประเทศปรับลดลงสอดคล้องกับทิศทางราคา น้ำมันดิบในตลาดโลก (ราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบดูไบในปี 2562 อยู่ที่ 63.51 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ปรับลดลงจากปี 2561 ที่เฉลี่ยอยู่ที่ 69.65 ตอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล) รวมถึงการแข็งค่าของเงินบาท (ค่าเงินบาท ปี 2562 เฉลี่ยอยู่ที่ 31.05 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากปี 2561 ที่เฉลี่ยอยู่ที่ 32.32 บาทต่อ ดอลลาร์ สรอ.) ทําให้ต้นทุนการนําเข้าน้ำมันจากต่างประเทศถูกลง นอกจากนี้ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงยัง เข้ามาดูแลเสถียรภาพราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศ ทําให้ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้น มากในช่วงที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเร่งสูงขึ้น ปัจจัยต่าง ๆ ข้างต้นส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อหมวดพลังงาน ปี 2562 ปรับลดลงจากปีก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 2.68

นอกจากนี้ ปัจจัยด้านอุปทานมีส่วนสําคัญทําให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับลดลง โดย ผลของฐานสูงจากการขึ้นภาษีสรรพสามิตยาสูบในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ทําให้อัตราเงินเฟ้อกลุ่มยาสูบ และเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ปรับลดลงในปี 2562 ขณะที่ผลของราคาอาหารสดที่ปรับสูงขึ้นกระทบต่ออัตรา เงินเฟ้อกลุ่มอาหารสําเร็จรูปไม่มาก เนื่องจาก (1) ผู้ประกอบการปรับตัวโดยเปลี่ยนหรือลดปริมาณวัตถุดิบ เพื่อลดต้นทุน (2) ราคาก๊าซหุงต้มยังทรงตัวต่อเนื่องตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม 2561 จากมาตรการตรึง ราคาของภาครัฐ และ (3) ราคาอาหารสดโดยเฉพาะเนื้อสัตว์เริ่มลดลงบ้างในช่วงปลายปี 2562

(2) ปัจจัยด้านอุปสงค์จากการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัวมีส่วนทําให้อัตรา เงินเฟ้อพื้นฐานขะลอลง โดยเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากการส่งออกสินค้าที่สตริงตามปริมาณ การค้าโลกและการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า นอกจากนี้ การส่งออกที่หดตัวเริ่มส่งผลกระทบต่อ การจ้างงานและรายได้ของครัวเรือน การปรับขึ้นราคาสินค้าและบริการของภาตธุรกิจจึงทําได้จํากัด อีกทั้ง ภาคธุรกิจจัดรายการส่งเสริมการขาย (promotion) ถี่และมากขึ้นเพื่อกระตุ้นยอดขาย กดดันให้อัตรา เงินเฟ้อพื้นฐานปรับลดลง

(3) ปัจจัยเชิงโครงสร้างทําให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ําต่อเนื่อง อาทิ (1) พัฒนาการ ทางเทคโนโลยีการผลิต ช่วยให้ผู้ประกอบการผลิตสินค้าได้มากขึ้นภายใต้ต้นทุนที่ต่ําลง โดยเฉพาะ การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตน้ํามันและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ (เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ และ โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น) ทําให้ราคาสินค้าเหล่านี้ปรับลดลงจากในอดีต (2) การขยายตัวของธุรกิจ e-Commerce ทําให้ต้นทุนการขายสินค้าและบริการต่ำลง รวมถึงเกิดการแข่งขันด้านราคามากขึ้นทําให้ อํานาจในการตั้งราคาสินค้าของผู้ประกอบการลดลง และ (3) การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ส่งผลให้ ความต้องการซื้อสินค้าและบริการในภาพรวมปรับสตสง เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุ ซึ่งมีรายได้หลังเกษียณลดลง ขณะที่ประซากรวัยทํางานจะมีแนวโน้มออมเงินมากขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อม ก่อนเกษียณ ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายของประชาชนโดยเฉลี่ยปรับสตสง ซึ่งปัจจัยเชิงโครงสร้างเหล่านี้เป็น ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก และเป็นแรงกดดันให้อัตราเงินเฟ้อทั่วโลกรวมถึงไทยมี แนวโน้มต่ําลงจากในอดีตด้วย

ในระยะข้างหน้า กนง. ประมาณการว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี 2563 อยู่ที่ร้อยละ 0.8 ซึ่งต่ำกว่ากรอบเป้าหมายนโยบายการเงิน โดยคาดว่าเป็นผลจากแรงกดดันด้านอุปทานที่ยังมีแนวโน้ม อยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากราคาพลังงานโลกยังถูกกดดันจากเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป อย่างไรก็ดี ราคาพลังงานมีแนวโน้มผันผวนสูงจากสถานการณ์ความตึงเครียดในตะวันออกกลาง ส่วนราคา อาหารสดแม้ว่าจะชะลอลงบ้างจากผลของฐานสูงในปี 2562 แต่ยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องจากปีก่อน ส่วนหนึ่งจากปัจจัยด้านสภาพอากาศที่อาจกระทบต่อปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรบางชนิด รวมถึงปัญหา อุปทานส่วนเกินในสุกรและไข่ไก่ที่หมดไป ขณะที่แรงกดดันด้านอุปสงค์จะปรับสูงขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับเพิ่มขึ้นได้ในระยะข้างหน้า อย่างไรก็ดี ปัจจัยเชิงโครงสร้างที่กล่าวไว้ข้างต้นจะกดดันให้อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง

ระยะเวลาที่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมาย

แม้ว่าประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี 2563 จะอยู่ต่ํากว่าขอบล่างของกรอบ เป้าหมาย แต่ กนง. ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายได้ในช่วงครึ่งหลังของ ปี 2560 โดยแรงกดดันด้านอุปสงค์ทยอยปรับสูงขึ้นจากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อเนื่อง ซึ่งช่วย สนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย และการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ขณะที่แรงกดดันต้าน อุปทานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามราคาอาหารสดที่คาดว่าจะยังอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ดี กนง. ประเมินว่า ปัจจัยด้านอุปทานทั้งจากราคาอาหารสดและพลังงานจะผันผวนสูงตามภัยแล้งและสถานการณ์ ความตึงเครียดในตะวันออกกลาง รวมถึงเศรษฐกิจโลกที่มีความไม่แน่นอนสูงจากสภาวะการกีดกันทาง การค้าและความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์เป็นปัจจัยเสี่ยงสําคัญที่ทําให้อัตราเงินเฟ้อในระยะข้างหน้าอาจ ต่างไปจากที่ประมาณการไว้

การดําเนินนโยบายการเงินเพื่อช่วยสนับสนุนให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมาย ในระยะเวลาที่เหมาะสม

ภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่น (flexible inflation targeting) กนง. ให้ความสําคัญกับการรักษาเสถียรภาพราคาในระยะปานกลางเป็นหลัก ควบคู่ไปกับการดูแลเศรษฐกิจ ให้เติบโตอย่างเต็มศักยภาพ และการรักษาเสถียรภาพระบบการเงินของประเทศ ดังนั้น ในการพิจารณา นโยบายการเงินเพื่อสนับสนุนให้อัตราเงินเฟ้อกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายนั้น กนง. คํานึงถึงขนาดและสาเหตุ ของปัจจัยที่เข้ามากระทบ ตลอดจนบริบทและแนวโน้มของภาวะเศรษฐกิจและเสถียรภาพระบบการเงิน เพื่อกําหนดแนวนโยบายที่จะช่วยให้อัตราเงินเฟ้อกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในระยะเวลาที่เหมาะสม

คนง. เห็นว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลายในช่วงที่ผ่านมามีส่วนช่วยสนับสนุน การขยายตัวของเศรษฐกิจ และเอื้อให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปกลับสู่กรอบเป้าหมาย แต่เมื่อประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวต่ํากว่าที่คาดและต่ํากว่าระดับศักยภาพ ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจาก การส่งออกที่หดตัวและมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ช้าตามปริมาณการค้าโลกที่ชะลอลงจากสภาวะการกีดกันทางการค้า ส่งผลให้การจ้างงานและอุปสงค์ในประเทศขะลอลง ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้ม ต่ำกว่าขอบล่างของกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ ดังนั้น กนง. ได้มีมติลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 จากร้อยละ 1.75 เป็นร้อยละ 1.50 ต่อปีในการประชุม กนง. ครั้งที่ 5/2562 และลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ลงอีกร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 1.25 ต่อปีในการประชุมครั้งที่ 7/2562 เพื่อให้ภาวะการเงินโดยรวม ผ่อนคลายเพิ่มขึ้นเพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจและช่วยให้อัตราเงินเฟ้อกลับเข้าสู่กรอบ เป้าหมาย

กนง. พร้อมใช้เครื่องมือในการดําเนินนโยบายการเงินที่หลากหลายทั้งอัตราดอกเบี้ย นโยบาย มาตรการกํากับดูแลรายสถาบันการเงิน (microprudential measures) และมาตรการดูแล เสถียรภาพระบบการเงิน (macroprudential measures) ในลักษณะผสมผสานกันอย่างเหมาะสม เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยเฉพาะการดูแลความเสี่ยงด้านเสถียรภาพ ระบบการเงินในระยะต่อไปที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอลงและอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง ซึ่งที่ผ่านมา ความเสี่ยงในภาคอสังหาริมทรัพย์ได้รับการดูแลไปบางส่วนจากเกณฑ์การกํากับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ที่ปรับปรุงใหม่ (LTV) สะท้อนจากการปรับตัวของผู้ประกอบการที่ชะลอการเปิดโครงการใหม่ ดัชนีราคา ที่อยู่อาศัยในภาพรวมที่ค่อนข้างทรงตัว รวมถึงสถาบันการเงินที่มีแนวโน้มเพิ่มความระมัดระวังในการปล่อย สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยหลังที่ 2 ขึ้นไปของผู้กู้รายเดิม อย่างไรก็ดี ยังมีความเสี่ยงในภาคการเงินบางจุดที่ต้องติดตามต่อเนื่อง อาทิ ความสามารถในการชําระหนี้ และพฤติกรรม แสวงหาผลตอบแทนที่อาจนําไปสู่การประเมินความเสี่ยงต่ํากว่าที่ควร

นอกจากนี้ กนง. ได้ติดตามผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนต่อภาคการส่งออกในภาวะที่ ความเสี่ยงด้านต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น และมีส่วนทําให้แรงกดดันเงินเฟ้อปรับลดลง โดยที่ผ่านมา ธปท. ได้ ดําเนินมาตรการเพื่อลดการแข็งค่าของเงินบาท ได้แก่ (1) การเข้าซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. ในจังหวะที่ เหมาะสมเพื่อสร้างสมดุลการซื้อขายเงินดอลลาร์ สรอ. ในตลาดอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเห็นได้จากปริมาณ เงินสํารองระหว่างประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมา (2) การปรับปรุงหลักเกณฑ์มาตรการป้องปราม การเก็งกําไรค่าเงินบาท โดยสตยอดคงค้างบัญชีเงินฝากสกุลบาทของผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ เพื่อลดช่องทาง ในการเก็งกําไรค่าเงินบาท และเพิ่มความเข้มงวดในการรายงานข้อมูลการลงทุนในตราสารหนี้ของนักลงทุน ต่างชาติ เพื่อติดตามพฤติกรรมการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติอย่างใกล้ชิด (3) การปรับปรุงกฎเกณฑ์เพื่อ เอื้อให้เงินทุนไหลออกและลดแรงกดดันต่อค่าเงินบาท อาทิ การยกเว้นการนําเงินรายได้จากการส่งออกกลับ ประเทศ การเปิดเสรีการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศให้นักลงทุนรายย่อย การเปิดเสรีการโอนเงินออกนอก ประเทศ รวมถึงการอนุญาตให้ซื้อขายทองคําในประเทศเป็นเงินตราต่างประเทศ และ (4) การประสานงานกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยลดการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง อาทิ การส่งเสริม การลงทุนและการนําเข้าโดยเฉพาะการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล

ในระยะต่อไป กนง. เห็นว่านโยบายการเงินยังควรอยู่ในระดับผ่อนคลายไปอีกระยะหนึ่ง เพื่อให้ภาวะการเงินโดยรวมเอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจซึ่งจะช่วยให้อัตราเงินเฟ้อกลับเข้าสู่กรอบ เป้าหมาย ขณะเดียวกัน กนง. จะคํานึงถึงความเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงินควบคู่ไปด้วย โดยเฉพาะ ในสภาวะที่อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ําเป็นเวลานาน ซึ่งอาจทําให้เกิดการสะสมความเสี่ยงที่อาจ สร้างความเปราะบางให้กับเสถียรภาพระบบการเงินในอนาคต โดย กนง. จะติดตามพัฒนาการของข้อมูล ทั้งการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ เสถียรภาพระบบการเงิน และปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ โดยเฉพาะ ผลกระทบของการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ และความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ รวมถึงประเมิน ปัจจัยเชิงโครงสร้างที่มีผลต่อพลวัตเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด และพร้อมใช้เครื่องมือเชิงนโยบายที่มีอยู่เพื่อให้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในระยะเวลาที่เหมาะสม ตลอดจนยึดเหนี่ยวอัตราเงินเฟ้อ คาดการณ์ในระยะปานกลางของสาธารณชน ควบคู่กับการดูแลการเติบโตทางเศรษฐกิจและรักษา เสถียรภาพระบบการเงินของประเทศ

อนึ่ง ตามข้อตกลงร่วมกันระหว่าง กนง. และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2562 กนง. จะมีจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอีกครั้งใน 6 เดือน ข้างหน้า หาก ณ เวลานั้น อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 12 เดือนที่ผ่านมาหรือประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไป เฉลี่ย 12 เดือนข้างหน้ายังคงเคลื่อนไหวออกนอกกรอบเป้าหมาย ทั้งนี้ เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับ สาธารณชนเป็นการทั่วไป กนง. จะเผยแพร่สาระของหนังสือชี้แจงฉบับนี้ต่อสาธารณชนผ่านทาง website ของ ธปท. ด้วย

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0