โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ธปท.จับตา’บาทแข็งค่า’ สวนทางขาดดุลบัญชีเดินสะพัด

Businesstoday

เผยแพร่ 03 มิ.ย. 2563 เวลา 10.26 น. • Businesstoday
ธปท.จับตา’บาทแข็งค่า’ สวนทางขาดดุลบัญชีเดินสะพัด

ค่าเงินบาทเผชิญกับแรงกดดัน 2 ปัจจัย คือ จากเกินดุลบัญชีเดินสะพัดและการเก็งกำไรของนักลงทุนที่มองว่าเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย แต่จากนี้ไปแรงกดดันจากเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่ลดลง เนื่องมาจากผลกระทบจากภาคท่องเที่ยว

ค่าเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงกลางปีที่แล้ว จนมาแข็งค่ามากที่สุดในช่วงต้นปีที่ 29.97 บาท/ดอลลาร์ ก่อนที่จะอ่อนค่าลงนับตั้งแต่มีการระบาดของโรคคิดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เมื่อต้นเดือนเม.ย. ที่ 33.17 บาท/ดอลลาร์ จากนั้นก็เริ่มแข็งค่าอีกครั้ง ล่าสุด เมื่อวันที่ 3 มิ.ย. อยู่ที่ 31.59 บาท/ดอลลาร์

ความผันผวนของค่าเงินบาทในช่วงที่ผ่านมา เกิดจากการเก็งกำไร เมื่อนักลงทุนมองว่าเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย จากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่อยู่ในระดับสูง อีกทั้งการส่งออกและท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดี แต่เมื่อเกิดการระบาดของโควิด-19 สถานการณ์ค่าเงินบาทได้เปลี่ยนแปลงไป

นายทิตนันทิ์มัลลิกะมาส ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย และเลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) กล่าวว่า แนวโน้มเศรษฐกิจในระยะถัดไปยังมีความไม่แน่นอนสูงภายใต้สภาพแวดล้อมของเศรษฐกิจและตลาดการเงินโลกในปัจจุบัน และมีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะหดตัวมากกว่าที่ประเมินไว้

กนง.ประเมินจีดีพีครั้งล่าสุด คาดว่าจะติดลบ 5.3% ในปีนี้ และขยายตัว 3% ในปีหน้า

นายิตนันทิ์ กล่าวว่าการประชุม กนง. ในครั้งก่อน คณะกรรมการฯ มีความกังวลต่อสถานการณ์เงินบาทที่อาจกลับมาแข็งค่าขึ้นและอาจกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ จึงเห็นควรให้ติดตามและดูแลสถานการณ์ในตลาดการเงินและตลาดอัตราแลกเปลี่ยนอย่างใกล้ชิด

ด้านดุลบัญชีเดินสะพัดล่าสุดเดือนเมษายน 2563 ขาดดุล 0.7 พันล้านดอลลาร์ และหากไม่รวมทองคำ ดุลบัญชีเดินสะพัดจะขาดดุลสูงถึง 3.1 พันล้านดอลลาร์ นับเป็นมูลค่าการขาดดุลสูงสุดในช่วงกว่า 2 ทศวรรษ

ในระยะถัดไป คาดว่าราคาน้ำมันที่อาจปรับสูงขึ้นและข้อจำกัดในการเดินทางของนักท่องเที่ยวต่างชาติจากการปิดประเทศจะทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลงต่อเนื่อง

“ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อเดือนในช่วงที่เหลือของปีจะเข้าใกล้สมดุลมากขึ้นจนกว่าสถานการณ์ของนักท่องเที่ยวต่างชาติจะฟื้นตัว ซึ่งลดลงจากที่เคยเกินดุลถึงประมาณ 3-4 พันล้านดอลลาร์ต่อเดือนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา” นายทิตนันท์กล่าว

แนวโน้มดังกล่าวสะท้อนทิศทางของดุลบัญชีเดินสะพัดและพลวัตของค่าเงินบาทที่เปลี่ยนแปลงไปหลังเกิด COVID-19 ซึ่งทำให้คาดว่าการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดจะไม่ใช่แรงกดดันต่อค่าเงินบาทที่สำคัญในระยะถัดไป

ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ จะเผยแพร่ประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) อัตราเงินเฟ้อ และดุลบัญชีเดินสะพัดใหม่ในการประชุมครั้งถัดไปวันที่ 24 มิถุนายน 2563

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0