โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ธนาคารโลกมองไทยแกร่งรับโลกป่วน คาดนี้เศรษฐกิจโต3.8%

Money2Know

เผยแพร่ 16 ม.ค. 2562 เวลา 09.22 น. • money2know - เงินทองต้องรู้
ธนาคารโลกมองไทยแกร่งรับโลกป่วน คาดนี้เศรษฐกิจโต3.8%
ธนาคารโลก ประเมิณเศรษฐกิจไทยปี 2562 เติบโตได้ที่ 3.9% ด้วยการเติบโตในประเทศอย่างยืดหยุ่น ท่ามกลางความผันผวนโลก ชี้ควรลงทุนโครงสร้างพื้นฐานปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อการเติบโตในระยะยาว

ดร.เกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสประจำเทศไทย ธนาคารโลก เปิดเผยรายงานตามติดเศรษฐกิจไทย : ความเหลื่อมล้ำ โอกาส และทุนมนุษย์ ระบุว่า เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวอาจจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกและผลการดำเนินงานภาคอุตสาหกรรมที่เน้นการส่งออกของไทย ซึ่งในสภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ ประเทศไทยควรเดินหน้าดำเนินโครงการโครงสร้างพื้นฐานและปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยกระตุ้นความต้องการบริโภคของประเทศในช่วงปี 2562 และยังเป็นการส่งเสริมการเติบโตของประเทศในระยะปานกลางอีกด้วย

"จึงนิยามว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2562 นั้น มีความยืดหยุ่นภายใต้แรงต้านเศรษฐกิจโลก"

ตามรายงานเศรษฐกิจไทยฉบับล่าสุดของธนาคารโลก คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตอยู่ที่ 3.8% และในปี 2563 จะโตได้ที่ 3.9% ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว รวมถึงความตึงเครียดทางการค้าที่เพิ่มมากขึ้น แนวโน้มเศรษฐกิจโลกโดยรวมยังคงไม่สดใส

โดยในปีที่ผ่านมา 2561 เศรษฐกิจไทยเติบโตอยู่ที่ 4.1% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แม้ว่าจะมีปัจจัยลบทั้งด้านการค้าและการท่องเที่ยว แต่พื้นฐานของเศรษฐกิจไทยที่มีความยืดหยุ่น ด้วยการบริโภคภายในประเทศที่เข้มแข็ง เข้าชดเชยบางส่วน

เศรษฐกิจไทยคาดว่าจะปรับตัวลดลงเล็กน้อยในปี 2562 ตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มจะชะลอการเติบโตอยู่ที่ 3.8% ในปี 2562 และฟื้นขึ้นเล็กน้อยที่ 3.9% ในปี 2563

ส่วนความเสี่ยงนั้นมีอัตราความเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฯและจีน อาจชะลอตัวลงอีกเนื่องจากความตึงเครียดทางการค้า ความต้องการภายนอกอาจมีความเสี่ยงที่จะลดลงอย่างต่อเนื่อง

ด้าน ดร.เบอร์กิท ฮานสล์ ผู้จัดการธนาคารโลกประจำประเทศไทย กล่าวว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจไทยค่อนข้างเข้มแข็ง สัดส่วนการเจริญเติบโต การลงทุนในภาคเอกชน การบริโภค ความต้องการในประเทศนั้นล้วนเพิ่มขึ้น มาชดเชยปัจจัยภายนอก ประเทศไทยถือเป็นไม่กี่ประเทศในภูมิภาคนี้ ที่สามารถชดเชยปัจจัยต่างประเทศ ได้ทั้งการบริโภคและการลงทุน ทำให้เห็นว่าประเทศไทยมีความยืดหยุ่น

การรักษาคุณภาพของการปฏิรูปโครงสร้างของประเทศให้ยั่งยืนเป็นเรื่องสำคัญสำหรับประเทศไทยในการลดความยากจน และช่วยยกระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในระยะยาวให้สูงกว่า 4% ในสภาวะการณ์ที่ต้องเผชิญกับสังคมสูงวัยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

การให้ความสำคัญเรื่องการลงทุนด้านมนุษย์นับเป็นเรื่องสำคัญในการสร้างอนาคตที่ดีกว่าสำหรับคนไทยทุกคน และการให้ความสำคัญด้านการศึกษา สาธารณสุข จะเป็นการเปิดโอกาสที่เท่าเทียมกันให้แก่คนรุ่นต่อไปในระยะยาว

ดัชนีทุนมนุษย์ของไทย ซึ่งวัดระดับผลิตภาพของคนวัยทำงานรุ่นใหม่จากศักยภาพสูงสุดที่พวกเขาพึงมีหากได้รับการศึกษา และการดูแลด้านสุขภาพอย่างเต็มที่ แม้ว่าคะแนนดัชนีมนุษย์ของไทยหลายตัวสูงกว่าค่าเฉลี่ยของหลายประเทศในกลุ่มอาเซียน และประเทศรายได้สูงระดับปานกลาง แต่ก็ยังมีโอกาสที่จะปรับปรุงให้ดีขึ้นได้อีก

สำหรับเรื่องความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยนั้น มีอัตราใกล้เคียงกับหลายประเทศในภูมิภาคนี้ ถ้าเราดูสัดส่วนการบริโภคและรายได้ใน 1% จะกินไป 3% ของการบริโภค ส่วนรายได้ 1% กันสัดส่วนไปมากกว่า 7% เลย

เด็กไทยทีเกิดมาวันนี้จะมีโอกาสใช้ศักยภาพที่มี เพียง 60% เท่านั้น หากมองจากเรื่องผลิตภาพและรายได้ที่สามารถหาได้ในช่วงชีวิต ความเหลื่อมล้ำเรื่องคุณภาพการศึกษายังคงเป็นความท้าทายที่สุดขอประเทศไทย

ช่องว่างของการเรียนรู้ของเด็กไทย ขาดหายไปถึง 3.8 ปี เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานและอุปกรณ์การเรียนการสอนที่ไม่เพียงพอ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0