โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ท่องเน็ตหนีโควิด ระวังโจรไซเบอร์สวมรอย

ประชาชาติธุรกิจ

อัพเดต 05 ส.ค. 2565 เวลา 06.54 น. • เผยแพร่ 28 มี.ค. 2563 เวลา 12.58 น.
AFGHANISTAN-ECONOMY-TECHNOLOGY-UNREST
AFP PHOTO / WAKIL KOHSAR / TO GO WITH Afghanistan-economy-technology-unrest,FOCUS by Usman Sharifi

ยิ่งกักตัวอยู่บ้าน “work-learn” from home มากเท่าไร ชีวิตแต่ละวันก็วนเวียนกับอินเทอร์เน็ตมากขึ้น
เท่านั้น ซึ่งอินเทอร์เน็ตไม่ได้นำพามาแต่เรื่องดี ๆ แต่ยังนำพา “มิจฉาชีพ” แฝงตัวเข้ามาด้วย

ที่พบเห็นกันบ่อยคือ การหลอกซื้อขายสินค้า ประเภทซื้อของไม่ได้ของหรือได้“ไม่ตรงปก” ด้วยการนำภาพสินค้าของผู้อื่นมาโพสต์ขายเพื่อให้เหยื่อหลงเชื่อ หรือการส่งของปลอมของเลียนแบบมาแทนสินค้าที่ประกาศขาย

โดย “กองบังคับการปราบปราม” สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แนะแนวทางเบื้องต้นป้องกันถูกหลอกเมื่อซื้อสินค้าออนไลน์ โดยให้เลือกร้านค้าที่น่าเชื่อถือ ที่มีลงทะเบียนธุรกิจออนไลน์ มีอายุเว็บอย่างน้อย 1 ปี มีรีวิวที่ดีจากลูกค้าที่เคยซื้อสินค้า มีการบอกรายละเอียด ราคาสินค้า รวมถึงมีการรับประกันสินค้า และเป็นร้านค้าที่ขายสินค้าถูกกฎหมาย

“อย่าดูแค่ว่าเป็นสินค้าราคาถูก โปรโมชั่นดี เพราะมิจฉาชีพมักจะใช้อุบายในลักษณะนี้ดึงดูดคนให้ตกเป็นเหยื่อ”

อีกกลลวงที่ต้องพึ่งระวังในช่วงนี้คือ การหลอกลวงว่าจะให้ “กู้เงิน” ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ โดยประกาศปล่อยเงินกู้ผ่านทางเฟซบุ๊ก เมื่อมีคนติดต่อไปจะขอเอกสารเพื่อเป็นหลักฐานในการกู้ อย่างสำเนาบัตรประชาชน หน้าสมุดบัญชี ทะเบียนบ้าน ก่อนจะแจ้งว่าอนุมัติเงินกู้ให้ แต่ต้องโอนเงินค่าธรรมเนียม หรือค่าดอกเบี้ยงวดแรก หรือค่ามัดจำมาให้ก่อน แต่สุดท้ายก็หนีหาย สูญเงินไปเปล่า ๆ

ยิ่งในสถานการณ์นี้แม้กลโกงจะไม่ซับซ้อน แต่เมื่อเข้าตาจน บางคนก็เลือกที่จะเสี่ยง โดยคิดว่า “เงินไม่กี่ร้อยไม่กี่พันคงไม่โกง”

แต่ถ้าตกเป็นเหยื่อแล้ว สิ่งที่ต้องทำคือ แจ้งความดำเนินคดีกับสถานีตำรวจในท้องที่ที่เกิดเหตุ นั่นคือโอนเงินที่ไหนให้ไปแจ้งความที่พื้นที่นั้น ภายในระยะเวลา 3 เดือน นับแต่วันที่รู้ว่าโดนหลอก เช่น ถึงกำหนดส่งของแล้วไม่ส่ง ติดต่อไม่ได้ หรือโอนค่าธรรมเนียมเงินกู้ไปแล้ว ไม่ได้เงินกู้กลับมา เป็นต้น แล้วย้ำกับพนักงานสอบสวนว่า“แจ้งความเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย” ไม่ใช่แค่ขอลงบันทึกประจำวันเป็นหลักฐาน

โดยหลักฐานสำคัญที่ต้องใช้คือ

1.หน้าประกาศปล่อยกู้ ประกาศข้อความโพสต์ขายสินค้าตัวต้นเหตุของการถูกหลอก ไม่ว่าจะเป็นในเว็บบอร์ดในเพจเฟซบุ๊ก ในอินสตาแกรม LINE หรือหน้าอีมาร์เก็ตเพลซ

2.หลักฐานการโอนเงิน เช่น สลิปโอนเงินไม่ว่าจะเป็นการผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร หรือโมบายแบงกิ้ง

3.หลักฐานข้อความที่แชตคุยกัน แชตสั่งซื้อสินค้า รวมไปถึงข้อมูลผู้ค้าไม่ว่าจะเป็นชื่อ-นามสกุล หมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่ อีเมล์ ชื่อบัญชีผู้ใช้ในโซเชียลมีเดียของผู้ค้า หรือผู้ปล่อยกู้ที่หลอกลวงไม่ว่าจะเป็น LINE เฟซบุ๊ก ฯลฯ หมายเลขบัญชีธนาคารที่โอนเงินไปให้

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0