โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ทุนต่างชาติแห่จองนิคมฯ ยางพาราแล้ว 500 ไร่

The Bangkok Insight

เผยแพร่ 23 ต.ค. 2561 เวลา 03.43 น. • The Bangkok Insight
ทุนต่างชาติแห่จองนิคมฯ ยางพาราแล้ว 500 ไร่

กนอ. เผยนักลงทุนจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน มาเลเซีย พาเหรด จ่อจองพื้นที่นิคมฯ ยางพารา จ.สงขลา 500 ไร่ ขณะที่แผนการพัฒนาพื้นที่นิคมฯ ใกล้สมบูรณ์ 100% มั่นใจพร้อมเปิดรับนักลงทุนไทย-เทศ

นางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.)
นางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.)

นางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายเพิ่มมูลค่าของสินค้าเกษตรในกลุ่มอุตสาหกรรมยางพารา ตามยุทธศาสตร์พลังประชารัฐที่จะส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำไปถึงปลายน้ำ ที่มีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการผลิต เพื่อยกระดับราคายางพาราภายในประเทศให้มีเสถียรภาพมากขึ้น ซึ่งปัจจุบัน กนอ.ได้เร่งดำเนินการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมยางพารา หรือ รับเบอร์ชิตี้ ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ จังหวัดสงขลา บนพื้นที่รวม 1,248 ไร่ เพื่อรองรับอุตสาหกรรมคลัสเตอร์ยางพารา และอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง โดยปัจจุบันการพัฒนาพื้นที่ใกล้เสร็จสมบูรณ์ 100% แล้ว พร้อมรองรับนักลงทุนที่สนใจทั้งในและต่างประเทศเข้าใช้พื้นที่เพื่อประกอบการได้ทันที

ทั้งนี้ภายหลังจากที่การพัฒนาพื้นที่นิคมฯ ยางพารามีความชัดเจน ทั้งทางด้านระบบสาธารณูปโภค และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ส่งผลให้มีกลุ่มนักลงทุนจากประเทศมาเลเซีย ไต้หวัน จีน และญี่ปุ่น ตัดสินใจที่จะใช้พื้นที่ดังกล่าวเพื่อการลงทุน โดยล่าสุดได้แจ้งความประสงค์จองพื้นที่เพื่อประกอบกิจการแล้ว ประมาณ 500 ไร่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้และกลุ่มอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้า อุตสาหกรรมการแพทย์ และ อุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง

ขณะเดียวกันยังมีพื้นที่ที่ผู้ประกอบการให้ความสนใจอยู่ระหว่างการตัดสินใจเข้ามาลงทุนอีก จำนวน 179 ไร่ เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพไม่ว่าจะเป็นระบบโลจิสติกส์แบบครบวงจร ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศที่สามารถเชื่อมโยงกับตลาดต่าง ๆ ทั้งในกลุ่มสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ (IMT – GT) ประกอบด้วย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย รวมทั้งการส่งออกไปยังประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก

นอกจากนี้ในพื้นที่ดังกล่าว ยังมีความได้เปรียบทางด้านแรงงาน และวัตถุดิบยางพารา โดย กนอ. คาดว่าหากมีการใช้พื้นที่เต็มโครงการทั้งหมด จะมีความต้องการใช้ยางพาราเพิ่มขึ้นประมาณ 9,000 ตันต่อปี โดยมีสัดส่วนเป็นน้ำยางข้นประมาณ 60% หรือ 5,400 ตันต่อปี และยางแผ่นรมควัน ประมาณ 40 % หรือ 3,600 ตันต่อปี ซึ่งจะก่อให้เกิดรายได้แก่กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางประมาณ 450 ล้านบาทต่อปี และเมื่อนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยางพาราแล้วจะสามารถเพิ่มมูลค่าได้ถึง 10 เท่า หรือ คิดเป็นเม็ดเงินประมาณ 4,500 ล้านบาทเลยทีเดียว

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0