โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ที่ยังโสด เพราะเป็นโรคนี้รึเปล่า 7 สัญญาณ บ่งบอกว่าคุณเป็น 'โรค Philophobia' กลัวที่สุด ก็รักนี่แหละ!

SistaCafe

อัพเดต 26 ก.พ. 2563 เวลา 17.53 น. • เผยแพร่ 23 ก.พ. 2563 เวลา 01.29 น. • belfry

 

✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜
…ไม่ใช่ไม่อยากรัก แต่มันกลัวที่จะรักใครสักคน…
ต๊ายตาย!! พอได้รู้ว่ามีโรคนี้อยู่บนโลก คนโสดอย่างเรา ต้องหันมามองตัวเองแล้ว ว่าที่โสดอยู่ทุกวันนี้ สาเหตุมันมาจากตรงไหนกันแน่ ไม่มีคนมาจีบหรือว่ากลัวความรัก! ซิสรู้จักโรคกลัวการตกหลุมรัก (Philophobia) มั้ย รู้มั้ยว่าโรคนี้มีอยู่จริงๆ นะ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักโรคๆ นี้กัน พร้อมทั้งเช็ตตัวเองสักหน่อย7 สัญญาณ บ่งบอกว่าคุณเป็นโรค Philophobia ถ้าอยากรู้ว่าตัวเราเองเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคนี้หรือไม่ ไปเช็คลิสต์พร้อมๆ กันเลยค่ะซิส!
✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜

โรคกลัวการตกหลุมรัก (Philophobia) คืออะไร

   ไม่คิดว่าโรคแบบนี้จะมีอยู่จริงๆ ก่อนที่เราจะไปดูสัญญาณของโรค เรามาทำความรู้จักโรคๆ นี้กันก่อนดีกว่า โรคกลัวความรัก (Philophobia) ถูกจัดว่าเป็นโรคกลัวชนิดหนึ่ง ซึ่งผู้ป่วยจะรู้สึกกลัวการมีความรัก การตกหลุมรักหรือการมีสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งกับผู้อื่นจนไม่กล้าเริ่มต้น บางรายรุนแรงถึงขั้นส่งผลต่อการใช้ชีวิต! แล้วความกลัวที่ว่านั้น ไม่ใช่ความกลัวแบบเล่นๆ หยอกๆ นะ แต่เป็นความกลัวที่อาจส่งผลให้บางคนมีอาการทางร่างกาย เช่น ตื่นกลัว มีเหงื่อออก หัวใจเต้นเร็ว หายใจลำบาก คลื่นไส้ เป็นต้น หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจส่งผลต่อสุขภาพจิตและเสี่ยงทำให้ผู้ป่วยแยกตัวออกจากสังคมได้

การรักษาโรคกลัวความรัก

   ใครที่รู้สึกว่า ฉันมีแนวโน้มที่จะป่วยเป็นโรคนี้ ไม่ต้องกังวล จริงๆ แล้วโรคนี้มีทางรักษานะ ซึ่งการรักษานั้น ก็จะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค แพทย์จะให้การรักษาตามระดับความรุนแรงของอาการ ซึ่งวิธีรักษาส่วนใหญ่ที่แพทย์เลือกใช้ มีตามนี้เลยค่ะ
   การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตโดยการให้ผู้ป่วยได้ลองทำกิจกรรมบางอย่างเพื่อนคลายเครียด เช่น ออกกำลังกาย นั่งสมาธิ ฝึกการหายใจ เป็นต้น วิธีนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายและสบายใจขึ้น
   การบำบัดให้หายจากความกลัว จิตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาจะช่วยให้ผู้ป่วยเรียนรู้การรับมือกับความกลัวที่เกิดขึ้นด้วยการพูดคุย เพื่อชี้ให้เห็นถึงความคิดและความเชื่อในทางลบที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดความกลัวขึ้น รวมทั้งพยายามช่วยให้ผู้ป่วยมองเห็นแนวทางแก้ไข แนะนำให้เริ่มสร้างความสัมพันธ์จากจุดเล็กๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไป หรือแนะนำให้เริ่มจากการสร้างสัมพันธ์กับเพื่อนและคนใกล้ชิด เพื่อขจัดความกลัวไปทีละน้อย
   การใช้ยาหากผู้ป่วยมีความผิดปกติทางจิตชนิดอื่นๆ ร่วมด้วย แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานยาต้านซึมเศร้าหรือยาคลายความวิตกกังวลควบคู่ไปกับการบำบัดด้วยการพูดคุย

1. กลัวการเริ่มต้นความรักครั้งใหม่

   สัญญาณแรก ว่ากันว่าคนที่ป่วยเป็นโรคนี้มักจะกลัวการเริ่มต้นความรักครั้งใหม่ ทุกครั้งที่เจอคนถูกใจหรือความสัมพันธ์กำลังจะไปได้ดีแล้ว อยู่ๆ ก็เกิดกลัวที่จะสานสัมพันธ์ต่อ เลยพยายามที่จะยุติความสัมพันธ์ทุกอย่างกระทันหัน สาเหตุอาจจะมาจากความเจ็บปวดที่เคยได้รับมาในอดีต ทำให้คุณไม่กล้าที่จะเริ่มต้นใหม่กับใคร เพราะกลัวที่จะผิดพลาดซ้ำรอยเก่า เลยลือกที่จะตัดความรู้สึกและความสัมพันธ์นั้นทิ้ง เพื่อที่ไม่ให้ตัวเองต้องเจอกับภาวะเสียใจอีก

2. อยู่คนเดียวก็มีความสุขดี ไม่เห็นต้องมีใคร

   บางคนชอบที่จะอยู่คนเดียว แต่ถ้าเรามีสังคม มีความรู้สึกรัก ไม่ได้วิตกกังวลอะไร การที่เราจะชอบอยู่คนเดียวมันก็ไม่ใช่เรื่องผิด สำหรับคนที่ป่วยเป็นโรคนี้ส่วนใหญ่ก็มักจะรักการอยู่คนเดียวมากๆ คือไม่ชอบเข้าสังคม ไม่ชอบทำอะไรร่วมกับคนอื่น จะรู้สึกว่าอยู่คนเดียว อยากทำอะไรก็ได้ ไม่ต้องมานั่งรอ ไม่ต้องคาดหวัง ตัวคนเดียวสบายใจกว่า ผู้ป่วยบางคนมักจะชอบคิดว่า การใช้ชีวิตหรือการทำอะไรสักอย่างกับใครสักคนมันน่าหงุดหงิด มันน่าเบื่อหน่าย ก็เลยเลือกที่จะตัดทุกๆ ความสัมพันธ์นั้นทิ้ง เพราะฉะนั้น คนที่เป็นโรคกลัวความรัก ไม่ใช่แค่ชอบอยู่คนเดียว แต่เสพติดการอยู่คนเดียวและไม่ต้องการใช้ชีวิตร่วมกับใคร

3. กลัวที่จะต้องเผชิญกับทุกๆ สิ่งที่เกี่ยวข้องกับความรัก

   ไม่ใช่แค่กลัวที่จะเริ่มต้นความรักกับใครเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่กลัวแม้กระทั่งการพาตัวเองเข้าไปอยู่ในสถานการณ์หรืออะไรก็ตามที่มันเกี่ยวกับเรื่องรักๆ ใคร่ๆ ทุกๆ ครั้งเวลาที่คุณตกเข้าไปอยู่ในสถานที่สุดหวานของคู่รักหรือต้องพบเจอคนรักกันคุณจะรู้สึกอึดอัดและเครียด ต้องรีบพาตัวเองออกมาจากตรงจุดนั้นทันที บางคนถึงขั้นแสดงออกทางร่างกาย เช่น เหงื่อแตก มือไม้สั่น ร้องไห้หวาดกลัว หัวใจเต้นแรง หายใจเร็วและแรง มือเท้าชา อาเจียน ไปจนถึงขั้นเป็นลมเลยก็มี เพราะฉะนั้นสถานที่ที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะหลีกเลี่ยง จะเป็นสถานที่ที่คนชอบไปเดทกัน เช่น สวนสาธารณะหรือโรงภาพยนตร์นั่นเองค่ะ

4. กลัวว่าความเป็นส่วนตัวของคุณจะหายไป

   ด้วยความที่พวกเขารักที่จะอยู่คนเดียวมากๆ ฉะนั้นพวกเขาจะกลัวว่า ถ้าวันนึงมีความรักขึ้นมา อิสระของตัวเองมันจะหายไป บางคนอาจจะรู้สึกว่า ความรักจะมาพรากความเป็นส่วนตัวที่มีไป เลยเลือกที่จะใช้ชีวิตคนเดียวอย่างสันโดษแทนที่จะเริ่มต้นความสัมพันธ์กับใครสักคนหนึ่ง แม้เราจะรู้สึกว่า ความรักมันไม่ได้น่ากลัวขนาดนั้น แต่กลับคนที่เป็นโรคกลัวความรักบางคน เค้าไม่ได้คิดแบบนั้น สำหรับเค้าความรักเป็นเรื่องที่น่ากลัวและยากที่จะเริ่มต้น

5. เพราะความเจ็บช้ำในอดีต ทำให้ปิดกั้นทุกๆ คน

   อีกหนึ่งสัญญาณหลักๆ ของคนที่ป่วยเป็นโรคกลัวความรัก คือการปิดกั้นโอกาสไม่ให้ใครเข้ามาสานสัมพันธ์ ปกติเวลาเราโสด เราก็อยากจะให้ใครสักคนเข้ามาจีบเราบ้างไรบ้าง แต่กับผู้ป่วยส่วนใหญ่เลยนะ จะปิดกั้นตัวเองแบบสุดๆ Say No ความรักและความสัมพันธ์ที่กำลังจะวิ่งเข้าหาตัว ไม่ว่าจะมีคนมาชอบมาจีบมากแค่ไหน ก็ไม่เอา พวกเขาจะสร้างกำแพงกั้นเอาไว้เลยค่ะ เพื่อปิดกั้นไม่ให้คนอื่นเข้ามาทำความรู้จัก แม้คนอื่นๆ จะมองว่า แบบนี้มันน่าเศร้า แต่กลับคนที่เค้ากลัวความรักอะ เป็นแบบนี้ เค้ารู้สึกโอเคแล้วจริงๆ

6. ทุกๆ ครั้งที่มีความรัก ก็มักจะวิตก กลัวว่าจะพลาดเหมือนที่ผ่านมา

   สำหรับบางคนที่เริ่มมีความรักหรือกำลังจะสานสัมพันธ์กับใครสักคน บางทีมันก็ไม่ได้ง่ายเหมือนกับคนอื่นๆ เพราะสำหรับคนที่กลัวความรัก ความกลัวและความวิตก มักจะเป็นอุปสรรคที่เกิดขึ้นกับตัวของพวกเขาเสมอ ซึ่งมันไม่ได้เกิดขึ้นจากใคร แต่เกิดขึ้นมาจากข้างในจิตใจของผู้ป่วยเอง ส่วนใหญ่ก็มักจะกังวลว่า เค้าจะรักเรามั้ย เค้าจะดูแลเราดีรึเปล่า ถ้าคบกันแล้วจะไปรอดมั้ย เค้าจะนอกใจรึเปล่า บลาๆ ในหัวจะมีแต่คำถามและความกังวลอยู่ตลอดเวลา บางคนมีความรู้สึกแบบนี้เพราะเคยผิดหวังหรือเจ็บปวดมากๆ มาจากในอดีต หรือเคยเห็นคนใกล้ตัวเจ็บปวดเพราะความรักมาก่อน เลยทำให้ตัวเองเกิดความกลัวนั้นขึ้นมาเลยทำให้จำฝังใจ จนไม่กล้าที่จะเริ่มต้นใหม่หรือรักใครอีกเลย 

7. มือชา เท้าชา หน้าชา หายใจเร็วและแรงเมื่อมีคนเข้ามาจีบ

   และสัญญาณสุดท้าย เป็นสัญญาณที่เกิดขึ้นทางร่ายกาย ส่วนใหญ่ผู้ที่มีอาการป่วยเป็นโรคกลัวความรักนั้นเมื่อต้องเจอกับสถานการณ์หวานๆ หรือโดนรุกจีบ จะมีอาการทางกายภาพอย่างเช่นเหงื่อแตก ร้องไห้ ใจสั่น หัวใจเต้นรัวเร็ว หายใจแรง ชามือ - เท้า อาเจียน หรือเป็นลม ใครที่รู้ตัวว่า ตัวเองมีอาการแบบนี้เวลาตกอยู่ในสถานการณ์รักๆ ใคร่ๆ คุณมีแนวโน้มที่จะป่วยเป็นโรคกลัวความรักนะ

✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜ ✜
แอบกลัวอยู่เหมือนกันนะเนี่ย เรื่องความกลัว มันเกิดขึ้นกับทุกคนอยู่แล้วแหละ แน่เรื่องบางเรื่อง อย่าเพิ่งรีบกลัวหรือกังวลไป เรื่องความรัก มันไม่ได้แย่เสมอไป วันนั้นอาจจะเจ็บปวด แต่ก็ไม่ใช่ว่าวันนี้หรือวันข้างหน้าคุณจะต้องเจ็บเพราะมัน ฉะนั้นเปิดโอกาสให้กับตัวเอง เราเชื่อว่าสักวันนึง ความรักดีๆ จะวิ่งเข้ามาหาคุณแน่นอนค่ะ

ติดตามบทความใหม่ๆได้ที่ SistaCafe Facebook
SistaCafe เว็บไซต์รวบรวมบทความสำหรับผู้หญิง https://sistacafe.com
♥ ดาวน์โหลด App SistaCafe ฟรีได้แล้ววันนี้! ♥
iOS : AppStore
Android : PlayStore

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0