โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ที่มาคำว่า "นายแคว้น" หรือ "แคว่น" ภาษาเหนือ คือ?

MThai.com

เผยแพร่ 18 ก.ค. 2562 เวลา 02.19 น.
ที่มาคำว่า
ตามรอยละครเรื่องกลิ่นกาสะลองกันต่อ หลังจากที่ทีนเอ็มไทยได้นำเสนอเนื้อหา เรียนรู้ภาษาเหนือ จากละครกลิ่นกาสะลอง ไปแล้ว วันนี้มาติดตามอีกหนึ่งตัวละครที่น่าสนใจ

ตามรอยละครเรื่องกลิ่นกาสะลองกันต่อ หลังจากที่ทีนเอ็มไทยได้นำเสนอเนื้อหา เรียนรู้ภาษาเหนือ จากละครกลิ่นกาสะลอง ไปแล้ว วันนี้มาติดตามอีกหนึ่งตัวละครที่น่าสนใจ นั้นก็คือ นายแคว้น หรือในเรื่องคือ นายแคว้นมั่ง (รับบทโดย ปุ๊ มนตรี) พ่อของกาสะลองกับซ้องปีบ และทุกคนทราบกันไหมคะว่า “นายแคว้น” ทางภาษาเหนือนั้นแปลว่าอะไร?

ที่มาคำว่า “นายแคว้น”

หรือ “แคว่น” ภาษาเหนือ คือ?

คำว่า “นายแคว้น” หรือที่คนเหนือออกเสียงว่า “พ่อแคว่น หรือ แคว่น” ซึ่งหมายถึง “กำนัน” ของตำบล

โดยตำแหน่ง “แคว่น” หลังมีการปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 เชียงใหม่เป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย จึงได้เปลี่ยนชื่อ แคว่น เป็น กำนัน มีบรรดาศักดิ์ เป็น “ขุน” ชั้นประทวน ได้รับการแต่งตั้งโดย ข้าหลวงประจำจังหวัด (ผู้ว่าราชการจังหวัด ในสมัยต่อมา)

หน้าที่การงานของพ่อแคว่น ก็คือ ในอดีตชาวบ้านจะอยู่กันเป็นกลุ่มเป็นก้อน แต่ละกลุ่มก็จะมีผู้นำเพื่อป้องกันโจรผู้ร้าย โดยในแต่ละเมืองแบ่งการดูแลเป็นแขวง ตำบล และหมู่บ้าน ซึ่งมาจากการแต่งตั้งของเจ้าเมือง จะทำหน้าที่คอยดูแลสารทุกข์สุกดิบชาวบ้าน ชาวบ้านก็มักจะเรียกติดปากว่า “พ่อแคว่น” เมื่อสมัยเก่า และเริ่มเรียกว่า”กำนัน หรือ ป้อกำนัน” กันมากขึ้น เมื่อช่วงประมาณ 40-50 ปีที่ผ่านมา

ดังนั้นจึงหมายความว่า พ่อของฝาแฝดกาสะลองและซ้องปีบนั้นชื่อมีตำแหน่งเป็นกำนัน เพราะในละคร “กลิ่นกาสะลอง” เล่าเรื่องราวย้อนอดีตไปปี 2467 เชียงใหม่ในยุคนั้นเรียกว่า “มณฑลพายัพ” มณฑลหนึ่งในการปกครองส่วนภูมิภาคระบบมณฑลเทศาภิบาลของราชอาณาจักรสยาม ซึ่งได้รับอิทธิพลการแบ่งการดูแลนี้จากสยามเช่นกัน ตำแหน่งของ “นายแคว้นมั่ง” จึงเป็นเหมือนกำนันในการดูแลปกครองลูกบ้าน คอยติดต่อประสานงานราชการ โดยเฉพาะกับกลุ่มมิชชันนารีที่ถูกส่งตัวมาจากสยามทั้งในด้านการแพทย์และการศึกษา เรียกว่าเป็นตำแหน่งอันกว้างขวางจนใครๆ ต่างก็เกรงบารมี

ที่มาข้อมูลและภาพจากละคร กลิ่นกาสะลอง

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0