โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ทิศทางลม เรื่องควรรู้ก่อนซื้อบ้าน-สร้างบ้าน

DDproperty

เผยแพร่ 25 มี.ค. 2563 เวลา 19.26 น.
ทิศทางลม เรื่องควรรู้ก่อนซื้อบ้าน-สร้างบ้าน
ทิศทางลม เรื่องควรรู้ก่อนซื้อบ้าน-สร้างบ้าน

"ทิศทางลม" เป็นสิ่งสำคัญที่ก่อนคุณจะซื้อบ้าน หรือสร้างบ้านบนที่ดินของตัวเอง จะต้องมีการวางทิศบ้าน หรือจัดบ้านโดยให้ความสำคัญกับทิศทางลม เพราะหากบ้านวางถูกหลักทิศทางลมแล้ว นอกจากจะทำให้บ้านเย็นแล้ว ยังช่วยประหยัดพลังงานจากการต้องเปิดเครื่องปรับอากาศ หรือเปิดพัดลม ตลอดทั้งวันด้วย ลองมาดูเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับทิศทางลมกันว่า ทิศบ้านแบบไหนที่ตั้งถูกหลักทิศทางลมบ้าง

 

ทิศทางลมคืออะไร

ทิศทางลม คือ กระแสอากาศที่เคลื่อนที่พัดผ่านเข้ามาตามทิศทางต่าง ๆ ซึ่งถือได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ อีกเรื่องหนึ่งที่มองข้ามไม่ได้ในการใช้วางแปลนผังบ้านลงบนตำแหน่งของพื้นที่สำหรับปลูกสร้างบ้าน เพื่อให้บ้านหันไปในทิศทางที่เหมาะสมกับสภาพอากาศและตำแหน่งที่ตั้ง

 

ข้อควรรู้เกี่ยวกับทิศทางลมสำหรับการปลูกบ้าน

ก่อนการสร้างบ้านหรือซื้อบ้านนั้น สิ่งหนึ่งที่ควรรู้และทำความเข้าใจ คือ การวางแผนผังของทิศบ้านให้เหมาะสมกับทิศทางลม แดด และฝน ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตร้อน มีสภาพอากาศร้อนอบอ้าวเกือบตลอดทั้งปี โดยแบ่งออกเป็น 3 ฤดู ดังนี้

1. ฤดูร้อน

- อากาศร้อน จะมีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 35-39.9 อาศาเซลเซียส

- อากาศร้อนจัด จะมีอุณหภูมิสูงตั้งแต่ 40 องศาเซลเซียสขึ้นไป

- โดยเริ่มต้นประมาณช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม

5 วิธีคลายร้อนให้บ้านเก่า

 

2. ฤดูฝน

- โดยทั่วไปแล้วจะเข้าสู่ช่วงฤดูฝนไม่ช้าก็เร็วกว่ากำหนดประมาณ 1-2 สัปดาห์ เมื่อมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ได้พัดผ่านปกคลุมประเทศไทย รวมถึงมีร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านทำให้เริ่มมีฝนตกชุกทั่วทั้งประเทศ

ซึ่งสามารถวัดค่าปริมาณน้ำฝนได้ดังนี้

- ฝนวัดจำนวนไม่ได้: ปริมาณฝนน้อยกว่า 1 มิลลิเมตร

- ฝนเล็กน้อย: ปริมาณฝนระหว่าง 1-10.0 มิลลิเมตร

- ฝนปานกลาง: ปริมาณฝนระหว่าง 1-35.0 มิลลิเมตร

- ฝนหนัก: ปริมาณฝนระหว่าง 1-90.0 มิลลิเมตร

- ฝนหนักมาก: ปริมาณฝนตั้งแต่ 1 มิลลิเมตรขึ้นไป

- เริ่มต้นประมาณช่วงเดือนมิถุนายน-พฤศจิกายน

5 วิธีเลือกซื้อบ้านในหน้าฝน

 

3. ฤดูหนาว

- ในช่วงราว ๆ 1-2 สัปดาห์แรกก่อนเปลี่ยนฤดูกาล จากฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาวสภาพอากาศจะมีความแปรปรวนค่อนข้างสูงและเกิดขึ้นไม่แน่นอน ทำให้ถึงแม้ว่าจะเริ่มมีอากาศเย็นแล้ว แต่ก็ยังคงมีฝนตกประปรายอยู่

ซึ่งเกณฑ์ในการแบ่งอุณหภูมิต่ำสุดของลักษณะสภาพอากาศในฤดูหนาว สามารถแบ่งออกได้ดังนี้

- อากาศหนาวจัดจะมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส

- อากาศหนาวมีอุณหภูมิระหว่าง 0-15.9 องศาเซลเซียส

- อากาศเย็นมีอุณหภูมิระหว่าง 0-22.9 องศาเซลเซียส

- เริ่มต้นประมาณช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์

 

ทิศบ้านเหมาะกับทิศทางลม ช่วยประหยัดพลังงาน
ทิศบ้านเหมาะกับทิศทางลม ช่วยประหยัดพลังงาน

ทิศบ้านเหมาะกับทิศทางลม ช่วยประหยัดพลังงาน

 

ทิศทางลมในแต่ละฤดู

ในแต่ละฤดทิศทางลมจะไม่เหมือนกัน ดังนี้

1. ฤดูร้อน (ช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม) ทิศทางลมจะพัดมาทางทิศใต้ ถือว่าเป็นลมที่ดี ช่วยลดความร้อนของอากาศลงได้

2. ฤดูฝน (ช่วงเดือนมิถุนายน-พฤศจิกายน) ทิศทางลมจะพัดมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ลมนี้เรียกว่า “ลมมรสุม”

3. ฤดูหนาว (ช่วงธันวาคม-กุมภาพันธ์) ทิศทางลมจะพัดมาจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือเรียกว่า "ลมหนาว"

 

ทิศบ้าน-ทิศทางลมกับฮวงจุ้ย

เมื่อรู้แล้วว่าแต่ละฤดูจะมีทิศทางลมอย่างไร มาดูกันต่อว่าทิศบ้านที่ดีควรหันไปทางไหน และเมื่อพิจารณาควบคู่กับฮวงจุ้ยแล้วเป็นอย่างไร 

1. การวางทิศบ้านใหัหันไปทางทิศใต้ ถือเป็นทิศที่ดี เพราะเป็นทิศที่มีลมพัดเข้าบ้านตลอด จึงควรเปิดหน้าบ้านให้โล่ง เพื่อดึงลมเข้าบ้านให้มากที่สุด รวมทั้งไม่ควรปลูกต้นไม้ใหญ่บังหน้าบ้าน เพราะจะเป็นการบังทิศทางลม หากพื้นที่หน้าบ้านกว้างควรขุดบ่อน้ำ หรือทำสระน้ำไว้หน้าบ้าน เพื่อให้ลดพัดไปเย็นเข้าสู่ตัวบ้าน

2. การวางทิศบ้านให้หันไปทางทิศทิศตะวันตกเฉียงใต้ เป็นทิศของลมมรสุมที่ค่อนข้างแรง จึงควรปลูกต้นไม้ไว้ช่วยลดความแรงของลมได้ โดยเฉพาะต้นไม้ใหญ่ที่มีรากแก้วเพื่อไม่ให้ต้นไม้ล้มได้ง่ายนัก และควรปลูกให้ห่างจากตัวบ้าน เนื่องจากลมมรสุมที่แรง หากต้นไม้ล้มจะได้ไม่หักโค่นทับตัวบ้าน

3. การวางทิศบ้านให้หันไปทางทิศเหนือ โดยปกติจะได้รับอิทธิพลจากลมหนาว แต่ประเทศไทยไม่มีลมหนาวมากนักจึงไม่ต้องกังวลในจุดนี้ แต่ตามหลักฮวงจุ้ยแล้วหาวางทิศบ้านหันไปทางทิศเหนือ หลังบ้านควรจะมีภูเขา เพื่อช่วยลดความเร็วของลม โดยตำแหน่งภูเขาจะต้องอยู่ทางทิศเหนือ หรือตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อช่วยบังลมหนาว

4. การวางทิศบ้านให้หันไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ จะได้รับอิทธิพลของลมมากที่สุด หากในแง่ของการวางทิศบ้านให้ถูกทิศทางลมแล้ว ถือว่าทิศนี้รับลมได้ดีที่สุด แต่ข้อเสียคือบ้านตั้งอยู่ในแนวลมมรสุม ซึ่งเสี่ยงต่อการที่บ้านจะเสียหายจากลมพายุได้ง่ายเมื่อเกิดพายุฝน

5. การวางทิศบ้านให้หันไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นอีกหนึ่งทิศที่จะได้รับอิทธิพลจากลมหนาว ซึ่งในทางฮวงจุ้ยแล้วถือว่าเป็นทิศไม่ดี จะนำพาความเจ็บป่วยเข้ามาสู่คนในบ้านได้

ทิศของบ้านแบบไหนที่เหมาะกับชาว 12 ราศี

 

ทิศทางลมไม่ดี อาจทำให้ต้นไม้ในบ้านล้มได้
ทิศทางลมไม่ดี อาจทำให้ต้นไม้ในบ้านล้มได้

ทิศทางลมไม่ดี อาจทำให้ต้นไม้ในบ้านล้มได้

 

ข้อดี-ข้อเสียของทิศทางลมที่ส่งผลต่อตัวบ้าน

การอ่านทิศทางลมให้ออก ถือเป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะทำให้บ้านน่าอยู่ มีอายุการใช้งานที่ยาวนานแล้ว ยังทำให้บ้านธรรมดา ๆ กลายมาเป็นบ้านประหยัดพลังงานได้อีกด้วย ซึ่งข้อดีและข้อเสียของทิศทางลมที่ส่งผลโดยตรงต่อตัวบ้านมีดังนี้

1. ข้อดีของบ้านที่ตั้งรับทิศทางลมได้ถูกต้อง

- ประหยัดพลังงาน เนื่องจากตัวบ้านถ่ายเทอากาศได้สะดวก ไม่ร้อนอบอ้าว และเย็นสบาย

- ยืดอายุการใช้งาน เนื่องจากลดแรงปะทะโดยตรงกับสภาพอากาศต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแดด ลม และฝน

- สนุกกับการจัดการพื้นที่ใช้สอยต่าง ๆ ภายในบ้านให้เข้ากับทิศทางลม เพื่อช่วยประหยัดพลังงาน โดยใช้ประโยชน์จากแสงแดดและลมจากธรรมชาติ

2. ข้อเสียของบ้านที่ตั้งรับทิศทางลมไม่ถูกต้อง

- หากตั้งทิศทางของบ้านในทิศทางรับกับลมมรสุมหรือได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม เมื่อเกิดพายุฝนลมฟ้ากระหน่ำ จะทำให้บ้านเกิดความเสียหายได้ เนื่องจากเป็นสุดเสี่ยงจากการพัดผ่านของกระแสลมและฝนโดยตรง

 

การรู้ข้อมูลเหล่านี้ มีส่วนช่วยทำให้ยืดอายุการใช้งานและถนอมบ้านให้อยู่กับเราไปนาน ๆ อยู่สบายในทุก ๆ ฤดู เนื่องจากสามารถช่วยให้บ้านหลบเลี่ยงแดดได้ในฤดูร้อน โดยการปลูกพันธุ์ไม้มงคลช่วยพรางและบดบังแสงแดด หรือสามารถเปิดบ้านรับลมและระบายอากาศช่วงไหน ทำให้บ้านไม่ร้อน เย็นสบาย และประหยัดพลังงาน หรือแม้กระทั่งหลบเลี่ยงการปะทะลมและเม็ดฝนโดยตรงจากทิศทางฝนที่สาดเข้ามายังตัวบ้านมากที่สุด

 

สนใจรับบทความดีดี อัปเดต ข่าวอสังหาริมทรัพย์ และ อ่านคู่มือซื้อขาย พร้อม รีวิวโครงการคอนโดฯ ใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคา รวมถึง ทำความรู้จักกับทำเลฮอตทั่วกรุง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อ-ขาย-เช่า

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0