โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ทำไม เปิดโรงเรียนนานาชาติ แต่ปิดโรงเรียนรัฐ

คมชัดลึกออนไลน์

อัพเดต 25 พ.ค. 2563 เวลา 16.11 น. • เผยแพร่ 25 พ.ค. 2563 เวลา 15.58 น.

ปัญหาเพียงเล็กน้อย ของอีกชนชั้นการศึกษา ท่านสามารถมองเห็นและแสดงออก ซึ่งความเห็นอกเห็นใจ แค่กับ ครู ซึ่งท่านเป็นเจ้ากระทรวงศึกษาธิการกลับไม่มีมีความเห็นใจ ไม่มีความไว้วางใจ อะไรที่ทำให้ท่านคิดว่า ครู จะทำไม่ได้ ท่านลองคิดใหม่อย่างไว้ใจครู

อ่านข่าว:  เข้าใจผิด รู้ยัง..เรียนออนไลน์ เฉพาะม.ปลาย

วันที่ 21 พฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา ดร.อรรถพล ตรึกตรอง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (เลขาธิการ กช.) นำเสนอข่าวผ่าน https://moe360.blog/ ว่า สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) กำลังจัดเตรียมข้อเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ต่อการพิจารณาทบทวนการเปิดภาคเรียนของโรงเรียนเอกชน ประเภทโรงเรียนนานาชาติ

เนื่องจาก การเปิดภาคเรียนตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการในวันที่ 1 กรกฎาคมนั้น อาจทำให้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงกับโรงเรียนนานาชาติ จึงเป็นสาเหตุของการขอผ่อนผันให้โรงเรียนนานาชาติ สามารถทำการเปิดเรียนได้ ตั้งแต่ 1 มิถุนายน โรงเรียนนานาชาตินั้น มีปัจจัยความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับมาตรการการป้องการการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19)

กล่าวคือ มีความปลอดภัย นักเรียนต่อห้อง 20-25 คน (ส่วนใหญ่ 10-20คน) มีพื้นที่โรงเรียนกว้าง มีห้องเรียน/ห้องกิจกรรม เพียงพอ มีจำนวนครูและบุคลากรต่อนักเรียน เฉลี่ย 1:10 (อนุบาล 1:7) ผู้ปกครองมีศักยภาพและมีความพร้อมสูงในการป้องกันโรค โรงเรียนมีที่ตั้งในพื้นที่ที่มีความพร้อมด้านสาธารณสุขและโครงสร้างพื้นฐาน

อีกทั้งโรงเรียนนานาชาติมีระบบสอน online อยู่แล้ว ทำให้นักเรียนจำเป็นต้องเข้ามาในโรงเรียนช่วงสั้นๆ ทำให้สามารถติดตามนักเรียนได้ง่ายในกรณีที่มีปัญหาสุขภาพ

และเลขาธิการ กช.ยังบอกอีกว่า เพื่อเป็นการลดผลกระทบทางธุรกิจและสังคม เนื่องจากในเดือนมิถุนายนจะเป็นเดือนสุดท้ายของปีการศึกษาโรงเรียนนานาชาติทั้งไทยและต่างประเทศ ที่ใช้หลักสูตรเดียวกันทำให้จำเป็นต้องปรับช่วงเวลาให้ตรงกับหลักสูตรของต่างประเทศด้วย และผู้ปกครองไม่ยอมรับการสอนแบบออนไลน์ตลอดภาคเรียน แต่ต้องการแบบผสมผสาน (hybrid) ทำให้ผู้ปกครองชะลอการจ่ายค่าธรรมเนียมการเรียน จนทำให้เกิดการฟ้องร้องขอเงินค่าธรรมเนียมการเรียนคืน และมีการร้องเรียนเข้ามาเป็นจำนวนมาก

ย้อนกลับมามามองโรงเรียนของรัฐบาลในทุกสังกัด ที่ยังอยู่ในช่วงการทดลองการจัดการเรียนการสอนทางไกล ที่นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) อ้างว่า เป็นการทดลอง ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ( ม.4-6 ) เท่านั้น 

ล่าสุด เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563 ดร.อำนาจ วิชยานุวัติ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวภายหลังการประชุมมอบนโยบายผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนท์ ให้แก่ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ผอ.สพท.) จำนวน 225 เขต เรื่องการจัดการศึกษาระบบการศึกษาทางไกลผ่านโทรทัศน์ดิจิทัลและระบบออนไลน์ว่า ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้เริ่มทดสอบระบบการจัดการเรียนการสอนผ่านทีวีและออนไลน์แล้วตั้งแต่วันที่ 18 พ.ค.-30 มิ.ย. 2563

“ดังนั้นขอให้เขตพื้นที่ทุกแห่ง ได้ลงพื้นที่ติดตามและสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้ปกครองและนักเรียนถึงการเรียนผ่านระบบนี้ด้วย โดยจะต้องลงไปสำรวจเด็กเป็นรายบุคคลและรายโรงเรียนว่า ปัญหาจากการทดสอบระบบเหล่านี้มีอะไรบ้าง เพื่อนำไปสู่การแก้ไขให้มีความสมบูรณ์ต่อไป”

ดร.อำนาจ กล่าวอีกว่า สำหรับการทดสอบระบบการเรียนผ่านทีวีและระบบออนไลน์ สพฐ.จะมีการประเมินระบบ 3 รอบ แบ่งเป็นรอบการประเมินในวันที่ 30 พ.ค. รอบกลางเดือนมิ.ย. และรอบวันที่ 30 มิ.ย.2563  เพื่อดูความพร้อมทั้งหมด

“ผมเชื่อมั่นว่า หากเปิดเรียนในวันที่ 1 ก.ค.2563  สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ไม่พ้นวิกฤตและโรงเรียนในกลุ่มจังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อยังมีตัวเลขสูงอยู่ ก็จะมีความพร้อมสามารถจัดการเรียนการสอนผ่านทีวีและระบบออนไลน์ได้ ” เลขาธิการ กพฐ.ระบุ

ดังนั้นขอย้ำให้สังคมรับทราบเป็นแนวทางเดียวกันว่า กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในการเปิดภาคเรียนโรงเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติและนักเรียนได้เรียนกับครูในห้องเรียน ซึ่งการทดสอบระบบต่างๆเหล่านี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือกับโรคระบาดหากยังไม่พ้นวิกฤตเท่านั้น อีกทั้งเป็นการเตรียมปูพื้นฐานให้เด็กก่อนเปิดภาคเรียนใหม่ โดยจะไม่มีการประเมินหรือวัดผลนักเรียนใดๆทั้งสิ้น

จึงมีคำถามว่า ถ้าโรงเรียนนานาชาติเปิดได้ แต่โรงเรียนรัฐเปิดไม่ได้

1. มันสะท้อนให้เห็นการเลือกปฏิบัติและความเหลื่อมล้ำ

2. ดูถูกความพร้อมของโรงเรียนรัฐ/เอกชนไทยมาก

3. มีผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างคนใหญ่คนโตในกระทรวงกับโรงเรียนนานาชาติหรือไม่?

ฝากคำถามนี้ไปยังผู้บริหารการศึกษา ระดับประเทศ ทัศนคติที่ไม่ไว้ใจครู ดูถูก ดูแคลนครู ว่า ครูจะทำไม่ได้ ความเลื่อมล้ำ ทางการศึกษา เนื่องมาจากระบบหรืออะไรก็ตาม ที่ทำให้เกิดช่องว่างมากมายเหลือเกิน ระหว่างการศึกษาชั้นสูงที่มาจัดอยู่ในแผ่นดินของเรา

ปัญหาเพียงเล็กน้อย ของอีกชนชั้นการศึกษา ท่านสามารถมองเห็นและแสดงออก ซึ่งความเห็นอกเห็นใจ แค่กับ ครู ซึ่งท่านเป็นเจ้ากระทรวงศึกษาธิการ กลับไม่มีมีความเห็นใจ ไม่มีความไว้วางใจ อะไรที่ทำให้ท่านคิดว่า ครู จะทำไม่ได้ ท่านลองคิดใหม่อย่างไว้ใจครู

 

     

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0