โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ทำร่อแร่!! “ว่านจักจั่น” พิษแรงนัก

SpringNews

อัพเดต 18 มิ.ย. 2562 เวลา 04.18 น. • เผยแพร่ 18 มิ.ย. 2562 เวลา 02.20 น. • SpringNews
ทำร่อแร่!!  “ว่านจักจั่น” พิษแรงนัก

เมื่อไปถาม ธิติยา บุญประเทือง ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑ์เห็ดรา ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ให้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์  ชี้ชัดแล้วว่า  ว่านจักจั่น ที่หลายคนบูชานี่ที่แท้แล้วคือ จั๊กจั่นที่ตายแล้วจากการติดเชื้อรา ไม่มีส่วนไหนที่เป็นว่านหรือพืชเกี่ยวข้องตามที่เข้าใจ

"จักจั่นจะติดเชื้อราในขณะที่เป็นตัวอ่อนในช่วงที่ขึ้นมาลอกคราบเป็นตัวเต็มวัยเหนือดิน ในระยะนี้จักจั่นจะอ่อนแอมาก ร่วมด้วยช่วยกันกับอากาศชื้นจากหน้าฝนที่มีความชื้นสูง ทำให้เชื้อราที่แพร่กระจายได้ดีในอากาศ เมื่อเชื้อราตกลงไปอยู่บนตัวจั๊กจั่นผู้อ่อนแอ ภูมิต้านทานต่ำ จึงทำให้เชื้อราสามารถแทงเส้นใยเข้าไปและงอกงามภายใจตัวจักจั่นได้ดี โดยดูดน้ำเลี้ยงในตัวจักจั่นเป็นอาหาร และทำให้จักจั่นตายในที่สุด

เมื่อจักจั่นตายแล้วเชี้อราหมดทางหาอาหารได้จึงต้องพยายามไปหาอาหารที่อื่น โดยการสร้างโครงสร้างสืบพันธุ์ที่มีลักษณะเหมือนเขายืดขึ้นเหนือพื้นดิน (ลักษณะที่เหมือนเขาของว่านจักจั่น) สปอร์ หรือ หน่วยสืบพันธุ์ที่ติดอยู่บริเวณปลายเขาที่สร้างขึ้นเหนือพื้นดิน จะต้องอาศัยลมหรือน้ำในการพัดพาให้ไปตกอยู่ในที่อื่นๆ เพื่อค้นหาจักจั่นโชคร้ายตัวต่อไป"

เชื้อราที่มีพฤติกรรมอาศัยอยู่ในตัวแมลงที่มีชีวิต จัดอยู่ในประเภท เชื้อราทำลายแมลง ราชนิดนี้นักวิจัยสันนิษฐานว่าเป็นเชื้อราสายพันธุ์ Cordyceps sobolifer

จากการศึกษาของนักวิจัยจากไบโอเทคพบว่า มีราทำลายแมลงในประเทศไทยมากกว่า 400 ชนิด พบได้ทั้งบนหนอน แมลงวัน มวน เพลี้ย ผีเสื้อ ปลวก แมลงปอ แมงมุม มด เป็นต้น

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0