โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ทำความรู้จัก SSF กองทุนรวมเพื่อการออมน้องใหม่ และ Update เกณฑ์ภาษีใหม่ของ RMF!!

SET ตลาดหลักทรัพย์ฯ

เผยแพร่ 04 ธ.ค. 2562 เวลา 17.00 น. • SET Education

เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2562 การประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการส่งเสริมการออมระยะยาว ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ประกอบด้วย การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับการซื้อกองทุนรวมเพื่อการออม (Super Savings Fund : SSF) และการปรับปรุงหลักเกณฑ์การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับการซื้อกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund :  RMF) เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีการออมระยะยาวมากขึ้น ซึ่งการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจะมุ่งเน้นให้กลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางถึงน้อยและผู้ที่เริ่มต้นวัยทำงานได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ เพื่อเป็นการจูงใจให้ประชาชนกุ่มดังกล่าวเริ่มต้นการออมระยะยาวโดยเร็ว 

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมต่อได้ที่ : https://www.mof.go.th/th/detail/1543205599/2019-12-03-15-45-11

กองทุน SSF หรือ Super Saving Fund คือ กองทุนเพื่อการออมที่ให้สิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีที่ออกมาใหม่ เพื่อทดแทนกองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ LTF ที่กำลังจะสิ้นสุดในปี 2562 นี้  โดยกองทุน SSF มีข้อกำหนดและหลักเกณฑ์สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่แตกต่างจากกองทุน LTF ดังนี้

1. กองทุน SSF สามารถลงทุนในหลักทรัพย์ได้ทุกประเภท

2. กองทุน SSF ให้บุคคลธรรมดาสามารถหักลดหย่อนภาษีเงินได้สำหรับเงินที่จ่ายป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนไม่เกินร้อยละ 30 ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท โดยเมื่อรวมกับกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุอื่นๆ (กองทุน RMF กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน กองทุนการออมแห่งชาติ หรือเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ) แล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในแต่ละปีภาษี

3. ผู้ซื้อกองทุน SSF สามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ก็ต่อเมื่อถือครองมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปีนับจากวันที่ซื้อ

ทั้งนี้ ผู้ลงทุนสามารถซื้อหน่วยลงทุนใน SSF และนำค่าซื้อมาหักลดหย่อนภาษีได้เป็นระยะเวลา 5 ปี (ปี 2563-2567) โดยหลังจากนั้นกระทรวงการคลังจะพิจารณาอีกที

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมต่อได้ที่ : https://www.mof.go.th/th/detail/1543205599/2019-12-03-15-45-11

Update หลักเกณฑ์การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับการซื้อกองทุน RMF ดังนี้

 

1. ปรับสัดส่วนการหักลดหย่อนภาษีสำหรับเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน RMF จากเดิมไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน เป็นไม่เกินร้อยละ 30 ของเงินได้พึงประเมิน โดยยังคงกำหนดวงเงินหักลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุอื่นๆ (กองทุน SSF กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน กองทุนการออมแห่งชาติ หรือเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ) เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนออมได้มากขึ้น

 

2. ยกเลิกการกำหนดจำนวนขั้นต่ำในการซื้อกองทุน RMF จากเดิมกำหนดให้ซื้อไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของเงินได้พึงประเมิน หรือไม่น้อยกว่า 5,000 บาทต่อปี แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า เพื่อให้ผู้ที่มีรายได้ปานกลางถึงน้อยสามารถซื้อกองทุน RMF ได้ โดยยังคงกำหนดให้ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี และไม่ระงับการซื้อเกิน 1 ปี ติดต่อกันเช่นเดิม

 

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมต่อได้ที่ : https://www.mof.go.th/th/detail/1543205599/2019-12-03-15-45-11

เอาล่ะ… รู้เงื่อนไขทั้ง 3 กองทุนเพื่อการออมและลดหย่อนภาษีกันไปแล้ว
ใครชอบแบบไหน ถูกจริตกับกองทุนแบบใด ก็เลือกซื้อ เลือกใช้สิทธิกันตามอัธยาศัย เพราะไม่ว่าจะลงทุนในกองไหนๆ ก็ดีทั้งนั้น ช่วยให้เรามีเงินออมก้อนโตเก็บไว้ใช้ยามเกษียณ ^^

 

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมต่อได้ที่ : https://www.mof.go.th/th/detail/1543205599/2019-12-03-15-45-11

 

“ลงทุนเรื่องใหญ่ แต่ไม่ใช่เรื่องยาก”

ติดตามความรู้การลงทุนได้ที่ "ห้องเรียนนักลงทุน"www.set.or.th/education

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0