โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ทำความรู้จัก “นภา-1” ดาวเทียมดวงแรกของทัพอากาศไทย

PPTV HD 36

อัพเดต 18 มิ.ย. 2563 เวลา 07.01 น. • เผยแพร่ 18 มิ.ย. 2563 เวลา 01.55 น.
ทำความรู้จัก “นภา-1” ดาวเทียมดวงแรกของทัพอากาศไทย
เปิดรายละเอียด “นภา-1” ดาวเทียมเพื่อความมั่นคงดวงแรกของกองทัพอากาศไทย ซึ่งมีกำหนดยิงขึ้นอวกาศในวันที่ 19 มิ.ย. 63 นี้

พล.อ.ต.สุพิจจารณ์ ธรรมวาทะเสรี ผอ.ศูนย์ปฏิบัติการทางอวกาศกองทัพอากาศ แถลงข่าวการเตรียมปล่อยดาวเทียม “นภา-1 (NAPA-1)” ดาวเทียมดวงแรกของกองทัพอากาศ ที่จะถูงยิงขึ้นไปเพื่อปฏิบัติภารกิจเฝ้าระวังทางอวกาศ และงานป้องกันและช่วยเหลือประชาชนด้านภัยพิบัติธรรมชาติ และความมั่นคง

ทอ.เตรียมยิงดาวเทียม “นภา-1” ขึ้นอวกาศ 19 มิ.ย.นี้

กองทัพอากาศ เตรียมยิงดาวเทียมดวงแรก "นภา1" ขึ้นอวกาศ 19 มิ.ย. ใช้งานความมั่นคง ดับไฟป่า จัดการน้ำ

นภา-1” คือชื่อของดาวเทียมเพื่อความมั่นคงดวงแรกของกองทัพอากาศ มีกำหนดยิงขึ้นสู่อวกาศจากฐานยิงที่เฟรนช์เกียนา (French Guiana) ดินแดนของสาธารณรัฐฝรั่งเศส ที่ตั้งอยู่ทางตอนบนของทวีปอเมริกาใต้ ในวันที่ 19 มิ.ย. 63 นี้ เวลา 08.51 น. ตามเวลาประเทศไทย

ล่าสุด กองทัพอากาศได้รับแจ้งจาก บริษัท Arianespace ผู้รับผิดชอบการยิงจรวด VEGA นำส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศในครั้งนี้ว่าสภาพอากาศบริเวณฐานปล่อยจรวดในวันดังกล่าวไม่เอื้ออำนวย จึงขอเลื่อนกำหนดการยิงนำส่งดาวเทียม “นภา-1” ออกไปจนกว่าสภาพอากาศจะมีความเหมาะสม โดยคาดว่าเร็วที่สุดจะยิงส่งขึ้นอวกาศได้ในวันที่ 21 มิ.ย. 63

ดาวเทียม นภา-1 นี้ สร้างโดยบริษัท Innovative Solutions In Space (ISIS) ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงในการออกแบบ และสร้างดาวเทียมขนาดเล็ก การพัฒนาระบบสถานีภาคพื้น

ดาวเทียมนภา-1 เป็นดาวเทียม Nano Satellite รูปแบบคิวบ์แซต (CubeSat) ขนาด 6U (10 ซม. X 20 ซม. X 30 ซม.) จะส่งขึ้นสู่วงโคจรแบบ Low Earth Orbit ที่ความสูงประมาณ 500 กิโลเมตรจากพื้นโลก มีวงโคจรแบบสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ (Sun Synchronous) นำส่งโดยจรวด VEGA ของบริษัท แอเรียนสเปซ (Ariane Space) ของฝรั่งเศส

โดยจรวด VEGA นั้นเป็นจรวดนำส่งดาวเทียมขนาดเล็กที่จะเน้นการปล่อยดาวเทียมสำรวจโลก และดาวเทียมสำหรับใช้ในด้านวิทยาศาสตร์

พล.อ.ต.สุพิจจารณ์ ระบุว่า การยิงดาวเทียมนภา-1 เกิดขึ้นโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ เนื่องจากในปัจจุบัน หลายประเทศได้มีการพัฒนา และแสวงหาการใช้ประโยชน์จากกิจการอวกาศ ซึ่งเป็นผลประโยชน์ที่มีมูลค่ามหาศาล และผลประโยขน์แห่งชาติจากกิจการอวกาศของประเทศไทยก็มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงเช่นกัน

จากการศึกษาของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ในปี 2562 พบว่า มูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมของอุตสาหกรรมอวกาศของไทยมีรายได้อยู่ที่ 5.6 หมื่นล้านบาท ทำให้เกิดการจ้างงานได้ 1.6 ล้านคน สร้างมูลค่าทางสังคมกว่า 5.8 พันล้านบาท และมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ 2.9 หมื่นล้านบาท โดยประกอบด้วย ส่วนที่เกี่ยวข้องโดยตรง เช่น การขนส่งทางอวกาศ ระบบรับสัญญาณภาคพื้นดิน ฯลฯ ซึ่งมีสัดส่วนรายได้สูงสุดถึง 42%

ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 60 กำหนดหน้าที่ของรัฐไว้ว่า “รัฐต้องรักษาไว้ซึ่งคลื่นความถี่ และสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมอันเป็นสมบัติของชาติเพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติ และประชาชน” ตลอดจนยุทธศาสตร์ชาติก็ได้กำหนดประเด็นเกี่ยวกับความมั่นคงทางอวกาศด้วยเช่นกัน

ด้วยความสำคัญด้านความมั่นคงและภัยคุกคามทางอวกาศที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต กองทัพอากาศจึงได้กำหนดยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ 20 ปี และกำหนดให้มิติอวกาศเป็นหนึ่งในมิติหลักในการปฏิบัติภารกิจ และได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการทางอวกาศกองทัพอากาศเมื่อเดือนตุลาคม 2562 เพื่อรักษาผลประโยชน์แห่งชาติในอวกาศ และการปฏิบัติการทางอวกาศทั้งปวงเพื่อความมั่นคงของประเทศ

เทคโนโลยีอวกาศสามารถตอบสนองในการพัฒนาประเทศได้หลากหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ การพยากรณ์อากาศ การวางผังเมือง การช่วยเหลือบรรเทาสาธารณภัย การสื่อสารและโทรคมนาคม รวมถึงการใช้ดาวเทียมเพื่อความมั่นคงในการลาดตระเวนเฝ้าระวังบริเวณพื้นที่ชายแดน เป้าหมายของการใช้ นภา-1 จึงได้แก่

การเฝ้าระวังทางอวกาศ (Space Situational Awareness – SSA)

เพื่อค้นหา ติดตาม และพิสูจน์ทราบภัยคุกคามจากอวกาศที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงและผลประโยชน์ด้านอวกาศของประเทศ เช่น ดาวเทียมของต่างชาติเข้ามาใช้วงโคจรดาวเทียมค้างฟ้าที่ประเทศไทยได้สิทธิอยู่, การชนดาวเทียมของไทยโดยวัตถุอวกาศ และเหตุการณ์ชิ้นส่วนจรวดหรือดาวเทียมตกใกล้ประเทศไทย เป็นต้น โดยใช้ระบบตรวจจับภาคพื้น (Ground-Based Sensors) กล้องโทรทรรศน์ที่ติดตั้งที่ ณ สถานีเฝ้าระวังทางอวกาศดอยอินทนท์ และสถานีเฝ้าระวังทางอวกาศสมุย พร้อมกับดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล ณ ศูนย์ปฏิบัติการทางอวกาศกองทัพอากาศเพื่อประเมินสถานการณ์ภัยคุกคาม และแจ้งเตือนหน่วยต่าง ๆ ต่อไป

การข่าวกรอง การเฝ้าตรวจ และการลาดตระเวนทางอวกาศ (Space Intelligence Surveillance and Reconnaissance – Space ISR)

มีภารกิจด้านการข่าวกรอง การเฝ้าตรวจ และการลาดตระเวนทางอวกาศ (Space ISR) ที่จะสามารถสนับสนุนการปฏิบัติการทางอากาศของกองทัพอากาศได้ทั้ง ระดับยุทธศาสตร์ ระดับยุทธการ และระดับยุทธวิธี ทั้งในภารกิจการปฏิบัติการรบและการปฏิบัติการที่มิใช่การรบ  โดยการใช้ภาพถ่ายหรือข้อมูลจากดาวเทียม แล้วดำเนินการปรับแก้และประมวลผลเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

ด้วยขีดความสามารถของดาวเทียม “นภา 1” ที่สามารถถ่ายภาพพื้นโลกจากอวกาศและเข้าถึงพื้นที่ปฏิบัติการได้ทั่วประเทศไทย ทำให้สามารถตอบสนองภารกิจการปฏิบัติการทางอากาศและอวกาศ การลาดตระเวนและเฝ้าตรวจตามแนวชายแดน การสนับสนุนการพัฒนาประเทศ การบรรเทาสาธารณภัย ตลอดจนจะเป็นรากฐานอันสำคัญในการพัฒนาสร้างอุตสาหกรรมอวกาศภายในประเทศไทยได้อีกด้วย

ในด้านความมั่นคงนั้น ดาวเทียม “นภา 1” จะสามารถนำมาบูรณาการข้อมูลภาพถ่ายทางอวกาศร่วมกับระบบตรวจจับอื่น ๆ ของกองทัพอากาศเพื่อสร้างให้เกิดการตระหนักรู้ในสถานการณ์ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว แล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยการดึงสีของภาพ เพื่อสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ แนวการไหลของน้ำ การกัดเซาะชายฝั่ง จุดความร้อนที่มีโอกาสเกิดไฟป่า แนวผักตบชวา นำมากลั่นกรอง สร้างข้อมูลสารสนเทศ เพื่อวางแผนป้องกันการเกิดภัยพิบัติ และการตัดสินใจในการช่วยเหลือเยียวยาของกองทัพและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

สำหรับดาวเทียม นภา-1 พล.อ.ต.สุพิจจารณ์ บอกว่า มีอายุการใช้งานไม่ต่ำกว่า 3 ปี แต่หากประสบพายุสุริยะ ก็อาจทำให้อายุการใช้งานลดน้อยลง

นอกจากนี้ ปลายปี 2563 นี้ จะมีการยิงส่งดาวเทียม นภา-2 (NAPA-2) ขึ้นสู่อวกาศ โดยจะเป็นรุ่นที่กล้องสเปกตรัลที่ใช้แยก และดึงสีสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

นอกจากนี้ ทอ. ยังมีแผนสร้างดาวเทียมเอง โดยมีการส่งบุคลากรไปเรียนรู้การออกแบบการสร้าง เพราะวัสดุอุปกรณ์การสร้างหากซื้อมาจากต่างประเทศตลอดจะใช้ต้นทุนมาก

“หากเราสามารถสร้างเองได้ ก็จะเป็นการประหยัดงบประมาณ และเราสามารถออกแบบดาวเทียมได้ตรงตามความต้องการของเรา ที่สำคัญ จะเกิดการสร้างงานภายในประเทศ ทำให้คนของเรามีความรู้ มีรายได้ ไม่อย่างนั้นเราต้องพึ่งพาเขาตลอด”

พล.อ.ต.สุพิจจารณ์ ยืนยันว่า การยิงส่งดาวเทียม นภา-1 ขึ้นไปอวกาศนั้น มีจุดประสงค์หลักเพื่อรักษาความมั่นคงภายในประเทศ ไม่ใช่เพื่อการรบหรือสอดส่องติดตามใคร ใช้เพื่อพัฒนาประเทศ ทั้งด้านเกษตรกรรม ป่าไม้ ทรัพยากระรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ชลประทาน ฯลฯ

ทั้งนี้ ผอ.ศูนย์เสริมว่า ดาวเทียมนภา-1 จะไม่ได้ขึ้นไปทำงานซ้ำซ้อนกับดาวเทียมอื่น เช่น ของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ GISTDA อย่างแน่นอน

“ทอ. เน้นความมั่นคงของประชาชนและสาธารณภัย ดังนั้นซอฟต์แวร์ระบบต่าง ๆ ของดาวเทียมจะมีความแตกต่างกัน แต่ไม่ได้แยกกันทำงาน เนื่งจากดาวเทียมจะมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลา ไม่สามารถเคลื่อนผ่านจุดเดิมได้ใน 1 ต้องรอการโคจรครบรอบ การมีดาวเทียมหลายตัวจะช่วยให้ไม่เราต้องรออีกวันในกรณีที่ต้องการข้อมูลจากพื้นที่ที่ดาวเทียมของเราเคลื่อนผ่านไปแล้ว เรามองดาวเทียมเป็นระบบตรวจจับ ปฏิบัติงานได้รวดเร็ว สั่งการได้เร็ว ภารกิจเร็วกว่า”

สำหรับโครงการพัฒนาการปฏิบัติการในห้วงอวกาศของกองทัพ ข้อมูลจากเอกสาร สมุดปกขาวกองทัพอากาศ พ.ศ.2563 (RTAF White Paper 2020) ซึ่งเป็นเอกสารเปิดเผยต่อสาธารณชน ระบุว่า มีอยู่ 4 ระยะ ได้แก่

ปีงบประมาณ 2564 โครงการพัฒนาการปฏิบัติการในห้วงอวกาศ (ระยะที่ 1)

ปีงบประมาณ 2565 โครงการพัฒนาการปฏิบัติการในห้วงอวกาศ (ระยะที่ 2)

ปีงบประมาณ 2567 โครงการพัฒนาการปฏิบัติการในห้วงอวกาศ (ระยะที่ 3)

ปีงบประมาณ 2570 โครงการพัฒนาการปฏิบัติการในห้วงอวกาศ (ระยะที่ 4)

โดยโครงการทั้งหมดเป็นไปเพื่อการพัฒนากิจการด้านอวกาศ และความมั่นคงทางอวกาศเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการในมิติอื่น ๆ ของกองทัพอากาศ ได้แก่ มิติอากาศ และมิติทางไซเบอร์ และพัฒนาขีดความสามารถด้านการปฏิบัติการในห้วงอวกาศ ด้านการสังเกตการณ์ห้วงอวกาศ การตรวจการณ์จากอวกาศ และการสื่อสารและโทรคมนาคมด้วยระบบดาวเทียม

ในโครงการระยะที่ 1 มีความต้องการ ดาวเทียม Micro Satellite จำนวน 2 ดวง พร้อมอุปกรณ์ ซอฟต์แวร์ และสถานีภาคพื้นรับสัญญาณ โดยมีการส่งบุคลากรไปรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการพัฒนารวมทั้งการใช้งานที่เหมาะสมให้แก่ประเทศไทย

โครการระยะที่ 2 มีความต้องการ กล้องโทรทัศน์ 1 ระบบ พร้อมสถานีภาคพื้น รวมทั้งระบบการตรวจจับ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของกองทัพอากาศ

ระยะที่ 3 และระยะที่ 4 มีความต้องการ Micro หรือ Mini Satellite สำหรับการตรวจการณ์ รวมทั้งการสื่อสารและโทรคมนาคมด้วยระบบดาวเทียม

สำหรับงบประมาณโครงการระยะที่ 1 อยู่ที่ 1.47 พันล้านบาท ส่วนระยะที่ 2, 3, 4 วงเงินตามกรอบงบประมาณที่ได้รับ

เทียบชัด ๆ ภาพถ่ายดาวเทียมที่ชี้ว่าโควิด-19 อาจระบาดในอู่ฮั่นเร็วกว่าที่จีนประกาศ

ภาพดาวเทียมชี้ไวรัสโควิด-19 อาจระบาดในอู่ฮั่นเร็วกว่าที่คิด

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0