โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

ทำความรู้จัก โรคหูดหงอนไก่ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่เป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่

MThai.com - Health

เผยแพร่ 17 ต.ค. 2561 เวลา 04.38 น.
ทำความรู้จัก โรคหูดหงอนไก่ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่เป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
เวลามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับอวัยวะเพศ บางคนมักอายที่จะไปหาหมอเพื่อตรวจภายใน โดยเฉพาะ ผู้หญิง วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับ โรคหูดหงอนไก่

เวลามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับอวัยวะเพศ บางคนมักอายที่จะไปหาหมอเพื่อตรวจภายใน โดยเฉพาะ ผู้หญิง วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับ โรคหูดหงอนไก่ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่สามารถเป็นได้ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก

โรคหูดหงอนไก่ เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดจากเชื้อฮิวแมนแปบปิโลมาไวรัส (Human papilloma virus) หรือเรียกสั้นๆว่า HPV โรคนี้เป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ในเด็กมักมีอาการที่ฝ่ามือฝ่าเท้า ในผู้ใหญ่พบบ่อยในวัยเจริญพันธุ์ คือ ในช่วงอายุ 16-25 ปี เชื้อชนิดนี้ชอบอยู่บริเวณที่อับชื้น ทำให้เกิดรอยโรคที่อวัยวะสืบพันธุ์

การติดต่อ

  1. ทางเพศสัมพันธ์ พบประมาณ 50 -70 % ส่วนใหญ่พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

  2. จากแม่ไปสู่ลูก พบในกรณีที่ทารกคลอดผ่านช่องคลอดของมารดาที่เป็นโรคหูดหงอนไก่ แต่พบได้จำนวนน้อย

ระยะฟักตัว

ประมาณ 3 สัปดาห์ถึง 8 เดือน โดยเฉลี่ยประมาณ 2 -3 เดือน แต่ผู้ที่สัมผัสเชื้อนี้ไม่ได้ติดโรคทุกราย ขึ้นอยู่กับภาวะภูมิคุ้มกันและจำนวนเชื้อที่ได้รับ ในหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อนี้จะมีอาการของโรคมากกว่าคนที่ไม่ตั้งครรภ์

อาการของโรคหูดหงอนไก่

เริ่มจากรอยโรคเล็กๆ แล้วขยายตัวใหญ่ขึ้น เป็นติ่งเนื้อขรุขระคล้ายหงอนไก่ บางชนิดไม่เป็นติ่งแต่มีลักษณะแบนราบ ผิวขรุขระ บางชนิดมีขนาดใหญ่มากและผิวขรุขระคล้ายดอกกะหล่ำ ผู้ที่เป็นโรคนี้มีโอกาสติดเชื้อกามโรคอื่นร่วมด้วย เช่น ซิฟิลิส หนองใน พยาธิในช่องคลอด การติดเชื้อเหล่านี้ผู้ป่วยจะมีอาการปัสสาวะแสบ มีตกขาว คัน หรือมีแผลที่อวัยวะเพศเพิ่มขึ้น

ตำแหน่งที่พบ

ในผู้หญิง พบได้ที่ปากช่องคลอด ผนังช่องคลอด ปากมดลูกทวารหนักและบริเวณฝีเย็บ หูดจะเริ่มจากขนาดเล็กๆ และโตขึ้นเรื่อยๆ การตั้งครรภ์จะทำให้หูดโตเร็วกว่าปกติ

ในผู้ชาย มักพบใต้หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ เส้นสองสลึง และรูเปิดท่อปัสสาวะ และอาจพบบริเวณรอบทวารหนักในผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก

ในทารกที่คลอดผ่านช่องคลอดของมารดาที่มีหูดหงอนไก่ อาจจะทำให้เกิดโรคซึ่งมีอาการแตกต่างกัน ตั้งแต่เสียงแหบจนถึงมีการอุดกั้นของกล่องเสียง

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อ

  1. มีคู่นอนหลายคน

  2. มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย

  3. มีพฤติกรรมรักร่วมเพศ

  4. คู่นอนมีการติดเชื้อหูดหงอนไก่

การเลือกใช้วิธีการรักษาชนิดใดนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างดังต่อไปนี้

  1. อาการของโรค

  2. ค่าใช้จ่ายในการรักษา

  3. การเดินทางของผู้ป่วย

  4. ดุลพินิจของแพทย์

  5. ตำแหน่งที่เป็น

  6. การตั้งครรภ์

การรักษา

  1. การจี้ด้วยสารเคมี เช่น 80% กรดไตรคลอโรอะเซติค (Trichloroacetic acid) และ 25% โพโดฟิลลีน (Podophyllin) จี้บริเวณที่เป็นหูดโดยบุคลากรทางการแพทย์สัปดาห์ละครั้ง ติดต่อกันทุกสัปดาห์จนหาย ถ้ารักษาติดต่อกันเกิน 6 ครั้งแล้วไม่ดีขึ้น แพทย์จะพิจารณารักษาด้วยวิธีอื่น หลังจี้ยาประมาณ 1 ชั่วโมงไม่ควรให้บริเวณที่ถูกจี้โดนน้ำ

  2. การใช้ยาทาบริเวณที่เป็นหูด เช่น 5% อิมิควิโมดครีม (5% Imiquimod cream) จะช่วยลดปริมาณไวรัสทำให้หูดหายไปและยังช่วยลดอัตราการกลับเป็นซ้ำของโรค อีกทั้งสะดวกในการใช้ เพราะผู้ป่วยสามารถนำกลับไปทา เองที่บ้านได้ แต่มีข้อเสียคือ ราคาแพง

  3. การผ่าตัด ทำได้หลายวิธี คือ

3.1 การจี้หรือการตัดออกด้วยไฟฟ้า

3.2 การจี้หรือตัดออกโดยใช้ความเย็นจัด

3.3 การผ่าตัดด้วยแสงเลเซอร์ มักใช้รักษาหูดที่มีขนาดใหญ่

ที่มา : โรงพยาบาลศิริราช

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0