โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

ทำความรู้จักกับ PCD หรือ อาการซึมเศร้าหลังจบคอนเสิร์ต

Campus Star

เผยแพร่ 22 ม.ค. 2562 เวลา 09.40 น.
ทำความรู้จักกับ PCD หรือ อาการซึมเศร้าหลังจบคอนเสิร์ต
เชื่อว่าสาวกเกาหลีหลายคนต้องเคยเกิดความรู้สึกเศร้า เสียใจ หดหู่ หลังจากจบคอนเสิร์ตศิลปินที่ชื่นชอบ - PCD อาการซึมเศร้าหลังจบคอนเสิร์ต

เชื่อว่าสาวกเกาหลีหลายคนต้องเคยเกิดความรู้สึกเศร้า เสียใจ หดหู่ หลังจากจบคอนเสิร์ตหรือแฟนมีตติ้งของศิลปินที่ชื่นชอบ บางคนถึงขั้นเสียน้ำตา ไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ในระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งอาการดังกล่าวเรียกว่า “PCD หรือ Post Concert Depression” 

PCD อาการซึมเศร้าหลังจบคอนเสิร์ต

แต่จริงๆ แล้วอาการ PCD ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับคนที่เพิ่งชมคอนเสิร์ตเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นกับผู้ที่มีความสุขมากๆ จากสถานการณ์ต่างๆ อาทิ งานแต่ง งานเลี้ยงสังสรรค์ การเที่ยวในวันหยุดยาว เป็นต้น และเมื่อต้องกลับมาสู่สภาวะปกติหรือเผชิญหน้ากับความเป็นจริง ก็จะทำให้เกิดอาการ PCD ขึ้นได้

PCD คืออะไร?

PCD หรือ Post Concert Depression ภาวะที่เกิดจากสารแห่งความสุข ได้แก่ Serotonin, Dopamine Endorphin และ Oxytocin หลั่งออกมามาก และเมื่อเหตุการณ์ที่มีความสุขนั้นจบลงอย่างกระทันหัน จะทำให้สารที่หลั่งออกมานั้นมีผลกระทบกับความรู้สึกนึกคิด มักจะมีความรู้สึกเศร้า ใจหาย หดหู่ รู้สึกเสียดายที่ความสุขนั้นหมดไปหรือมีความรู้สึกว่าจะไม่ได้พบเจอความสุขนั้นอีกเป็นเวลานาน โดยอาการดังกล่าวจะเกิดขึ้นประมาณ 3 วัน บางรายอาจเป็นสัปดาห์ หรืออาจเป็นเดือนๆ เลยก็มี ซึ่งอาจเป็นจุดเริ่มต้นของโรคซึมเศร้าได้

อาการ 9 ระยะ

หากเป็นอาการหลังชมคอนเสิร์ต ในช่วงแรกจะรู้สึกผิดหวัง ที่คอนเสิร์ตจบลงหรือคอนเสิร์ตน่าจะนานกว่านี้ และกังวลว่าจะมีคอนเสิร์ตดีๆ แบบนี้อีกเมื่อไร จะต้องรอคอยอีกนานแค่ไหน แบ่งอาการออกเป็น 9 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 จมอยู่กับความสุข

เมื่อได้ชมคอนเสิร์ตที่ดีหรือรอคอยมานาน จะทำให้มีความสุขมากๆ เหมือนได้เติมเต็มส่วนหนึ่งของชีวิต สารแห่งความสุขจะหลั่งออกมามากกว่าปกติ ทำให้ในช่วงนี้จะยังคงจมอยู่กับบรรยากาศในคอนเสิร์ต ดูรูปหรือวีดีโอต่างๆ เกี่ยวกับคอนเสิร์ตหรือศิลปินคนนั้นๆ

ระยะที่ 2 การระบายความรู้สึก

หลังจากได้ชมคอนเสิร์ต ส่วนใหญ่จะต้องการเล่าเรื่องราวในคอนเสิร์ตที่ได้พบเจอมา ให้เพื่อนหรือใครสักคนฟัง เป็นการระบายความรู้สึกที่อยู่ข้างในออกมา อาจโพสภาพ วีดีโอหรือเขียนบรรยายลงในโซเชียลมีเดียของตนเอง

ระยะที่ 3 การตระหนักว่าความสุขจบลงแล้ว

เมื่อความรู้สึกเต็มไปด้วยความสุข แต่ในขณะหนึ่งจะตระหนักได้ว่าอาจจะไม่ได้สัมผัสความสุขนี้อีกเป็นเวลานาน หรืออาจจะไม่เกิดความสุขนี้อีก ซึ่งทำให้รู้สึกเศร้าและหดหู่เข้ามาแทนที่ความสุขที่เพิ่งหมดไป

ระยะที่ 4 กลับสู่ความจริง

หลังจากจบคอนเสิร์ต ทุกคนก็ต้องกลับไปใช้ชีวิตของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการเรียนหนังสือหรือทำงาน จะรู้สึกว่าการดำเนินชีวิตไม่มีความสุข ไม่มีชีวิตชีวา รู้สึกว่าการอยู่ในคอนเสิร์ตนั่นแหละคือชีวิตจริงๆ คือสิ่งที่ต้องการ ยังไม่สามารถยอมรับความจริงได้ว่า ความสุขนั้นจบลงแล้วจริงๆ

ระยะที่ 5 รู้สึกถูกทอดทิ้ง

เมื่อได้ชมคอนเสิร์ตแล้วก็ต้องการที่จะระบายหรือพูดคุยกับเพื่อน ที่ไม่ได้ไปหรือสัมผัสกับบรรยากาศในคอนเสิร์ตโดยตรง ซึ่งส่วนใหญ่เพื่อนๆ ก็จะตอบรับเป็นมารยาท เช่น น่าสนุกนะ ดีจัง จริงป่ะเนี่ย เป็นต้น แต่ผู้เล่าก็จะรู้สึกว่าเพื่อนนั้นไม่ได้รู้สึกอินเท่ากับเรา จนเกิดความรู้สึกโดดเดี่ยว ถูกทอดทิ้ง ไม่มีใครเข้าใจ

ระยะที่ 6 อยู่ในโลกส่วนตัว

แม้ว่าจะมีหลายคนอยู่รอบๆ ตัว แต่คุณก็ไม่สนใจที่จะพูดคุยหรือมีปฏิสัมพันธ์ คุณจะอยากคุยแต่กับคนที่เป็นแฟนคลับหรือเพื่อนที่ได้ไปคอนเสิร์ตด้วยกันกับคุณ และติดตามข่าวสาร ทั้งภาพ วีดีโอและความเคลื่อนไหวทั้งหมดของศิลปินที่คุณรัก เพรารู้สึกว่านี่เป็นทางเดียวที่จะทำให้คุณมีความสุขได้

ระยะที่ 7 การควบคุมความคิด

ในระยะหนึ่งคุณจะเริ่มควบคุมความคิดของตัวเองได้ว่า เดี๋ยวก็มีคอนเสิร์ตดีๆ แบบนี้อีกและคุณจะต้องไปอย่างแน่นอน หรือตั้งใจเก็บเงินเพื่อไปคอนเสิร์ตครั้งหน้า เมื่อควบคุมความคิดได้ตามนี้คุณก็จะค่อยๆ พาตัวเองออกมาจากวังวนความเศร้าได้

ระยะที่ 8 การยอมรับความจริง

เมื่อคุณค่อยๆ จัดการกับความคิดตัวเองได้ ก็จะค่อยๆ ยอมรับความจริงได้แล้วว่าความสุขนั้นจบลงแล้ว และสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติมากขึ้น

ระยะที่ 9

สุดท้ายแล้วอาการเศร้าทั้งหมดจะหายไป คุณจะสามารถดูรูปหรือวีดีโอในคอนเสิร์ตได้โดยที่ไม่รู้สึกเศร้าแล้ว คุณจะคิดว่านั่นเป็นความทรงจำที่ดี จนกว่าจะได้พบกับคอนเสิร์ตนั้นอีกในครั้งต่อๆ ไป ซึ่งคุณก็จะต้องเผชิญกับอาการเหล่านี้อีกครั้งอยู่ดี 55555

วิธีแก้ไข

ร้องไห้ระบายความรู้สึก แม้ว่าหลายคนจะคิดว่าการร้องไห้หลังจบคอนเสิร์จมันเวอร์ไป เกินไปมั้ย แต่บอกเลยว่านี่เป็นการระบายความรู้สึกที่ดีที่สุด เพราะเหมือนได้ปลดปล่อยสิ่งที่อัดอั้นภายในใจออกมาผ่านน้ำตา จึงขอแนะนำให้ร้องไห้ออกมาให้พอ อย่าเก็บมันไว้

ปรับทัศนคติ ถ้ามัวแต่คิดเสียดายที่คอนเสิร์ตจบลงไปแล้ว กังวลว่าจะมีคอนเสิร์ตนี้เกิดขึ้นอีกหรือไม่ ก็จะยังคงจมอยู่กับความเศร้า แต่หากปรับเปลี่ยนทัศนคติใหม่ ลองคิดว่าคุณโชคดีแค่ไหนที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในคอนเสิร์ตครั้งนี้ มีอีกหลายคนที่อยากมา แต่ไม่มีโอกาสได้มาคอนเสิร์ตครั้งนี้

ระบายให้ใครสักคนฟัง เป็นอีกหนึ่งหนทางที่จะปลดปล่อยความตื้นตันภายในใจออกมา แต่ควรจะเลือกบุคคลที่เราสามารถเล่าให้ฟังได้ทุกเรื่อง และเอาใจใส่กับสิ่งที่เราจะพูด หรืออีกทางหนึ่งคือการระบายลงในโซเชียลส่วนตัว ก็สามาช่วยได้

เริ่มต้นใหม่ เชื่อว่าคอนเสิร์ตไม่ได้มีเพียงครั้งเดียวอย่างแน่นอน จะต้องมีคอนเสิร์ตเกิดขึ้นอีก ลองตั้งเป้าหมายใหม่หรือเริ่มโปรเจคใหม่ๆ ให้กับตัวเองดู เช่น จะไปคอนเสิร์ตครั้งหน้า เก็บเงินซื้อโทรศัพท์ใหม่ ไปกินบุฟเฟ่ต์เปิดใหม่ เป็นต้น

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก altpress.comunlockmen.com

บทความแนะนำ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0