โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ทำความรู้จักกับขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ฉบับเข้าใจง่าย

Mango Zero

เผยแพร่ 13 ธ.ค. 2562 เวลา 12.45 น. • Mango Zero
ทำความรู้จักกับขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ฉบับเข้าใจง่าย

เนื่องในวันที่ 12 ธันวาคม 2562 ได้มีการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคทางน้ำในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกขั้นตอนสุดท้ายของรัชกาลที่ 10 ซึ่งประเพณีอันสวยงามของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ หลายคนคงเคยสงสัยว่ามีขึ้นมาเพื่ออะไร ครั้นจะหาข้อมูล ก็มีมหาศาลจนเกินจะทำความเข้าใจ เราจึงได้มีการสรุปข้อมูลของขบวนพยุหยาตราทางชลมารคที่น่ารู้ และย่อยให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น มาให้อ่านกัน

ประวัติฉบับย่อมากของขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

  • ขบวนเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำของพระมหากษัตริย์ไทย ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย เพื่อเป็นการแสดงแสงยานุภาพของกองทัพ จนกลายเป็นประเพณีของไทยมาจนถึงปัจจุบัน
  • เคยมีมาแล้วตั้งแต่สมัยกรุงสโขทัย,สมเด็จพระนารายณ์มหาราช,กรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์
  • ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในปัจจุบัน จะเป็นการเสด็จไปทอดผ้ากฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม และพิธีสำคัญต่างๆ

จำนวนครั้งที่จัดในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

  • รัชกาลที่ 9 จัดมาแล้ว 17 ครั้ง เริ่มตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2500 ครั้งสุดท้ายคือวันที่ 9 พฤศจิกายน 2555
  • รัชกาลที่ 10 เป็นการจัดครั้งแรกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก (พิธีที่พระมหากษัตริย์ไทยได้รับการสถาปนาอย่างเป็นทางการด้วยการถวายน้ำอภิเษก) วันที่ 12 ธันวาคม 2562

จำนวนขบวนเรือตั้งแต่เมื่ออดีตกาล

  • สมัยกรุงสุโขทัย ไม่น้อยกว่า 100 ลำ

  • สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จำนวน 113 ลำ เป็นสมัยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและเป็นต้นแบบขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในสมัยต่อๆ มา

  • สมัยกรุงธนบุรี รวมทั้งสิ้น 246 ลำ

  • สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

  • รัชกาลที่ 9

  • จำนวน 39 ลำ ครั้งที่ 1 ถึง 7 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2500 ถึง 27 ตุลาคม 2510

    [* จำนวน 51 ลำ ครั้งที่ 8 ถึง 10 เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2525 ถึง 16 ตุลาคม  2530 , * จำนวน 52 ลำ ครั้งที่ 11 ถึง 17 เมื่อวันที่ 7พฤศจิกายน 2539 ถึง 9 พฤศจิกายน 25 ]
    •  รัชกาลที่ 10 จำนวน 52 ลำ

เส้นทางการเดินเรือ

  • รัชกาลที่ 9 จุดเริ่มต้นท่าวาสุกรีไปยังวัดอรุณราชวราราม ประชาชนสามารถชมได้ทั้งสองฝากฝั่งแม่น้ำเจ้าพะยา
  • รัชกาลที่ 10 จุดเริ่มต้นท่าวาสุกรีไปยังท่าราชวรดิฐ

มรดกของแผ่นดินที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นสิ่งที่ควรเก็บรักษาไว้ หลายคนอาจลืมเลือนไปบ้างตามกาลเวลา แต่ไม่ว่าจะมองกี่ครั้งความตั้งใจที่คนในอดีตถ่ายทอดไว้ยังคงอยู่เสมอ เรียกได้ว่าเป็นเสน่ห์อันสวยงามของประเทศไทย

ที่มา: silpa-mag.com ,wikipedia.orgposttoday

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0