โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ทัพฟ้าเจ๋งเปิดตัวเครื่องบินขับไล่และอากาศยานไร้คนขับที่พัฒนาเอง

ช่อง 7

อัพเดต 14 พ.ย. 2562 เวลา 09.53 น. • เผยแพร่ 14 พ.ย. 2562 เวลา 09.53 น. • Ch7
ทัพฟ้าเจ๋งเปิดตัวเครื่องบินขับไล่และอากาศยานไร้คนขับที่พัฒนาเอง
ทัพฟ้าเจ๋งเปิดตัวเครื่องบินขับไล่และอากาศยานไร้คนขับที่พัฒนาเอง

พล.อ.อ.มานัต วงษ์วาทย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศเป็นประธานในการเปิดตัว F-5 TH ที่อัปเกรดใหม่ และ RTAF U1 อากาศยานไร้คนขับสายพันธุ์ไทย เดินหน้าตามแผนการยืนด้วยลำแข้งตนเอง
ที่ท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 ดอนเมือง พล.อ.อ.มานัต วงษ์วาทย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธานในพิธีบรรจุประจำการเครื่องบินขับไล่ F-5 TH จำนวน 14 ลำและอากาศยานไร้คนขับแบบ RTAF U1 โดยเครื่องบินขับไล่ F-5 ได้มีการปรับปรุงติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และระบบ Avionics ที่ทันสมัย ระบบป้องกันตนเอง ระบบเรดาร์ใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจจับเป้าหมาย รวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการใช้อาวุธสมัยใหม่ที่มีความแม่นยำสูงและระยะยิงไกล
อีกทั้งยังมีขีดความสามารถในการปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (Network Centric Operation) ระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี (Tactical Data Link) เพื่อรองรับการใช้งานระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี (Link-T) เทียบเท่าเครื่องบินขับไล่ GRIPEN 39 C/D ในยุค 4.5 ทั้งนี้ โครงการปรับปรุงทั้งหมดจะแล้วเสร็จในปี 2565 โดย F5 เป็นเครื่องบินรบของสหรัฐฯที่มีอายุใช้งานเก่าที่สุดในภูมิภาคนี้เหลือแค่ไทยเพียงประเทศเดียวที่ยังประจำการอยู่และได้มีการพัฒนาปรับปรุงให้ทันสมัยเพื่อยืดอายุใช้งานได้ต่อไปอีก 15 ปี
กองทัพอากาศยังร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศ ในการสนับสนุนและร่วมมือกันผลิตอากาศยานไร้คนขับแบบ RTAF U1 จำนวน 17 เครื่อง ได้รับการออกแบบและผลิตตามมาตรฐาน รวมถึงข้อกำหนดความสมควรเดินอากาศสากล โดยสามารถปฏิบัติภารกิจได้ต่อเนื่อง 8 ชั่วโมง ในรัศมีปฏิบัติการ 100 กิโลเมตร และสามารถวิ่งขึ้นและร่อนลงสนามบินด้วยระบบอัตโนมัติ มีสมรรถนะ และขีดความสามารถในการปฏิบัติการทางทหาร และการปฏิบัติการทางทหารนอกเหนือจากสงคราม
พล.อ.อ.มานัต เผยว่า ทั้งสองโครงการมาจากมันสมองคนไทย โดยการอัปเกรด F-5 ครั้งนี้ได้ใช้ร่างกายเดิมของเขา แต่ใส่จิตวิญญาณของกองทัพอากาศเข้าไป ทุกอย่างทำใหม่หมด ถ้าให้ต่างประเทศทำ คาดว่าจะเสียงบประมาณนับหมื่นล้านบาท แต่กองทัพอากาศดำเนินการเองก็ใช้งบประมาณประมาณแค่หลักห้าพันล้านบาท ต่อไปจะมีสร้างนักบินรบ วิศวกรต้นแบบ รวมถึงวิศวกรซอฟต์แวร์ในกองทัพอากาศไทยขึ้น เพื่อคิดค้น ซอฟต์แวร์แอปพลิเคชันที่ฝังอยู่ในอากาศยาน โดยลงลึกถึงระดับ Source code หรือคำสั่งในโปรแกรม ซึ่งเป็นสิ่งที่เราตั้งใจให้ยืนอยู่บนขาของตัวเองให้ได้

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0