โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ทอท.โต้กลับแผนพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิแก้ได้ทุก5ปี ยันเร่งส่วนต่อขยายทิศเหนือแก้วิกฤติผดส.ล้นสนามบิน

สยามรัฐ

อัพเดต 15 พ.ย. 2562 เวลา 07.39 น. • เผยแพร่ 15 พ.ย. 2562 เวลา 07.39 น. • สยามรัฐออนไลน์
 ทอท.โต้กลับแผนพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิแก้ได้ทุก5ปี ยันเร่งส่วนต่อขยายทิศเหนือแก้วิกฤติผดส.ล้นสนามบิน

นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ท่าอากาศยานไทย หรือ ทอท. เปิดเผยว่า โครงการส่วนต่อขยายทางด้านทิศเหนือ North Expan Sion ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ที่ทางนักวิชาการจากวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ระบุว่า เป็นโครงการลักษณะตัดแปะ โดยทอท.ไม่ได้ทำตามแผนแม่บทเดิมที่มีของสนามบิน ซึ่งยืนยันว่าแผนแม่บทฯมีมา 16 ปี และได้มีการแก้ไขมาแล้ว 4 ฉบับ การแก้ไขทุกครั้งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่ถูกกำหนดโดยองค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือ (ICAO) ซึ่งเป็นไปตามสถานการณ์และความจำเป็นแต่ละช่วงเวลาของสนามบินแต่ละแห่ง

สำหรับสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งปัจจุบันมีปริมาณผู้โดยสารโดยเฉพาะระหว่างประเทศเติบโตอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้สนามบินสุวรรณภูมิต้องรองรับผู้โดยสารสูงถึง 65 ล้านคนต่อปี ทั้งที่มีความจุในการก่อสร้างเมื่อเริ่มต้นใช้ 45 ล้านคนต่อปี ขณะที่แผนการเร่งขยายสนามบินของไทยประสบปัญหาความล่าช้ามาอย่างต่อเนื่อง

“หากพิจารณาตามแผนแม่บทการพัฒนาสนามบินที่มีอยู่เดิมทอท.ได้พัฒนาครบทุกเฟสที่เคยระบุไว้ตามแผน เพียงแต่มีการแทรกการพัฒนาเฟสที่ 3 รวมถึงการขยายสนามบินด้านทิศเหนือแก้ปัญหาแออัดปัจจุบัน ซึ่งเชื่อว่าหลังจากก่อสร้างส่วนต่อขยายทิศเหนือเสร็จจะสามารถรองรับผู้โดยสารเพิ่มอีก 40 ล้านคนต่อปี และเมื่อรวมความจุผู้โดยสารที่จะเติบโตมากขึ้น เมื่อถึงกำหนดการเสร็จของโครงการประมาณการว่าจะใช้เวลาสร้าง 3-4 ปี หรือปี 2566 หรืออย่างช้าไม่เกินปี 2567 สนามบินสุวรรณภูมิจะสามารถรองรับผู้โดยสาร 85 ล้านคน”

นายนิตินัย กล่าวว่า อย่างไรก็ตามการผลักดันการก่อสร้างส่วนต่อขยายทิศเหนือนี้ ฝ่ายบริหาร ทอท.จะนำเสนอที่ประชุมบอร์ด ทอท.เพื่อพิจารณาอนุมัติเดินหน้าโครงการ หลังจากก่อนหน้านี้เปิดรับฟังความคิดเห็นผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด ทั้งผู้ประกอบการ สายการบิน และส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยบอร์ดทอท.จะพิจารณาวันที่ 20 พฤศจิกายนนี้ หลังจากนั้นจะเสนอโครงการไปยังกระทรวงคมนาคมก่อนนำเสนอให้สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และขอความเห็นชอบจาก ครม. หลังจากนั้นจะก่อสร้างภายใต้กรอบวงเงินที่เคยกำหนดไว้กว่า 40,000 ล้านบาท ใช้เวลาก่อสร้าง 3-4 ปี คาดเสร็จใกล้เคียงกับการก่อสร้างรันเวย์ที่ 3 หรืออย่างช้าจะเสร็จหลังรันเวย์ที่ 3 ไม่เกิน 1 ปี ซึ่งทั้ง 2 ส่วนจะเป็นการลดปัญหาความแออัดทั้งอาคารผู้โดยสารและรันเวย์ได้เป็นรูปธรรม

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0