โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ทนายชี้ “เช็คมือถือแฟนโดยไม่ได้รับอนุญาต” ผิดกฎหมายตาม พรบ.คอมพิวเตอร์

Beartai.com

อัพเดต 03 ต.ค. 2560 เวลา 19.13 น. • เผยแพร่ 02 ต.ค. 2560 เวลา 15.44 น.
ทนายชี้ “เช็คมือถือแฟนโดยไม่ได้รับอนุญาต” ผิดกฎหมายตาม พรบ.คอมพิวเตอร์
ทนายชี้ “เช็คมือถือแฟนโดยไม่ได้รับอนุญาต” ผิดกฎหมายตาม พรบ.คอมพิวเตอร์

ที่เพจ “สายตรงกฎหมาย” โดยทนายรัชพล ศิริสาคร รายงานว่า การแอบดูโทรศัพท์มือถือของแฟน แม้จะไม่มีกฎหมายระบุเฉพาะ แต่ก็ถือว่าผิดกฎหมาย พรบ.คอม หากแฟนใช้โทรศัพท์ประเภทสมาร์ทโฟน (มีองค์ประกอบเหมือนคอมพิวเตอร์คือ มี CPU (หน่วยประมวลผล) หน่วยความจำหลัก หน่วยความจำสำรอง ระบบปฏิบัติการ และสามารถเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายเช่น Wi-Fi, Bluetooth ฯลฯ ได้) ซึ่งเข้าข่ายนิยามของคำว่า คอมพิวเตอร์ ซึ่ง พรบ.คอมพิวเตอร์นั้นครอบคลุมอยู่

ดังนั้นการที่แฟนได้ตั้งรหัสผ่าน หรือล็อคเครื่องด้วยวิธีอื่นๆ หากมีการพยายามปลดล็อคไม่ว่าจะวิธีใดโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของเครื่อง (แฟน) ถือว่าเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ “เข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ”

สรุปคือการแอบดูโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนที่มีการป้องกันไว้ ไม่ว่าจะของใครก็ตามโดยไม่ได้รับอนุญาตถือว่าผิดกฎหมายตาม พรบ. คอมพิวเตอร์

แต่ว่าทางเพจนี้ก็ปิดท้ายว่า “ในทางปฏิบัติคงไม่น่ามีใครดำเนินคดี แต่ถ้ามีการฟ้องร้องกันจริงคงต้องทะเลาะกันแรงจริงๆ”

ส่วนตัวผู้เขียนคิดว่าถ้าจะฟ้องร้องกันจริงๆ ก็น่าจะสามารถทำได้เพราะมันเข้าข่ายผิด พรบ.คอมพิวเตอร์ จริงๆ และผู้ชายน่าจะเป็นฝ่ายสิ้นชีพไปก่อนถ้ากล้าหือกับภรรยา 😛

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

มาตรา 3 “ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่งหรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย

มาตรา 7 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอรที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สําหรับตน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

ที่มา: ข่าวสด, เพจ “สายตรงกฎหมาย”

ภาพหน้าปกบทความ : Pexels.com

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0