โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ถึงเวลา เที่ยวอร่อย

Rabbit Today

อัพเดต 24 เม.ย. 2562 เวลา 15.08 น. • เผยแพร่ 24 เม.ย. 2562 เวลา 15.08 น. • นันทขว้าง สิรสุนทร
Gastronomy-tourism-smart-living-Rabbit-Today-banner

ควรจะต้อง ‘ยินดีปรีดา’ มากกว่า ‘โศกาอาดูร’ อยู่แล้ว ที่หน่วยงานของรัฐ รวมทั้งการท่องเที่ยวของบ้านเรา จะจุดกระแส Gastronomy ขึ้นมารับใช้ ‘ชนชั้นกลาง’ และ ‘พลเมืองล่าง’ หลังจากเทรนด์ Gym-goer หรือ Fit Generation ถูกโหมมาพักหนึ่ง

อันที่จริง บทความวันนี้น่าจะต้องเขียนเรื่อง ‘อะไรก็ตาม’ ที่เกี่ยวกับ ‘ต้นไม้’ เพราะตอนนี้ เวลานี้ นาทีนี้ พืชพันธุ์ธรรมชาติ กลายเป็นเทรนด์ที่การตลาดต่างๆ ใช้เป็นจุดขายในการทำมาร์เก็ตติ้ง แต่หลังจากเห็นการนำเอาอาหารมาบวกกับการเดินทางท่องเที่ยวในแบบ Gastronomy tourism จึงคิดว่า เราน่าจะคุยเรื่องนี้กัน

ต้องเท้าความก่อนว่า แมกกาซีนอย่าง Good life เคยชี้ทางไว้เล่นๆ ว่า มีเรื่องอยู่ 3 สิ่ง ที่สามารถขายได้ในการเคลื่อนไหวของเทรนด์ นั่นคือ การเที่ยว การกิน และความตื่นเต้น! จะตื่นเต้นกับดนตรี ภาพยนตร์ หรือเข้าป่าดำน้ำ ก็แล้วแต่ว่า จะ Adventure กับอะไร

แล้ว Gastronomy tourism เริ่มมาจากอะไร?

ในเอเชียนั้น ปรากฏการณ์หนึ่งที่ระเบิดเทรนด์นี้อย่างชัดเจนคือ ซีรีส์เรื่อง ‘แดจังกึม’ เมื่อเกือบๆ 20 ปีที่แล้ว ในกลางยุค 90s รัฐบาลเกาหลีมองเห็นทางข้างหน้าว่า ถ้าแดนกิมจิยังคงขายอะไรไปนิ่งๆ เรื่อยๆ เอื่อยๆ ไม่มีวันเลยที่เกาหลีจะแซงญี่ปุ่น ซึ่งมี Pop culture หลากหลายกว่ามาก…

รัฐบาลตอนนั้นจึงออกนโยบายที่เรียกว่า 3s คือ Show, Sex และ Screen ใน s ตัวหลังนี่เอง ที่หมายถึงทั้งหนัง ละคร อะไรก็ตามที่ขึ้นจอ และใส่วัฒนธรรมป๊อปของของตัวเองอย่างเต็มที่ (ขณะที่ Show หมายถึงดนตรี คอนเสิร์ต หรืออีเวนต์ต่างๆ เช่น การหั่นผักผสมเพอร์คัสชั่น ก็ถือว่าใช่)

และจากยุค 90s นี่เอง ที่เกาหลี ‘กินยาว’ ทั้งเพลงผ่าน เกิร์ลกรุ๊ป บอยแบนด์ ทั้งหนังตระกูล K-pop ที่ขายเนื้อหนังมังสา แต่ชนะเลิศต้องซีรีส์ขายอาหารผสมเรื่องราว สร้างเนื้อสร้างตัวจากคุณธรรมของ แดจังกึม (การให้นักแสดงดูตัวเล็กกว่าหลายๆ ตัวละครนั้น เป็นจิตวิทยาอย่างหนึ่งว่า เธอให้ความรู้สึกถูกกดขี่ ต้องต่อสู้ วิธีการนี้คล้ายๆ ดัสติน ฮอฟแมน รับบท เบนจามิน ในหนัง The Graduate ปี 1967)

ผลก็คือ มิเพียงแต่ ‘รสชาติอาหาร’ จะได้รับการใส่ ‘เรื่องราว’ ลงไปในกระทะแล้ว ผู้ชมทั่วเอเชียยังได้ ‘ดื่มด่ำ’ กลิ่น รูป รส ผ่านสายตาหน้าจออีกด้วย แดจังกึมไม่เพียงทำให้ใครต่อใคร หรือหลายๆ ประเทศต้องลุกขึ้นมา ‘ทำ ผลิต สร้าง’ อะไรก็ตามที่เกี่ยวกับอาหาร

แต่ผลพวงเอฟเฟ็กต์หลังจากนั้นก็คือ คลื่นยักษ์ที่โถมตัวการตลาดก็คือ มือถือเอย บัตรเครดิตเอย หรือแบรนด์ห้างฯ ดังๆ ต่างจัดกิจกรรม ‘เดินทางท่องเที่ยวเชิงอาหาร’ เพื่อไปดื่มกินอาหารที่เป็นเอกซ์คลูซีฟไม่ว่าจะเป็นนั่งรถไฟไปดูกินเสพ อาหารมองโกเลีย หรือบินลัดฟ้าสะสมแต้ม ไปนั่งละเลียดอาหารที่เชฟฝรั่งเศส เชฟมิชลิน มานั่งทำสดๆ ให้เรารับประทาน

การขายเทรนด์ Gastronomy นั้น ว่ากันตามตรง ทุกประเทศสามารถทำได้หมด เพราะการท่องเที่ยวเชิงอาหาร Story แต่ละโลกเคชั่นย่อมมีเรื่องเล่า ประกอบรสแตกต่างกันอยู่แล้ว ผลของแดจังกึมที่เป็นซีรีส์ร้อนแรง ยังมีเรื่องของหนังที่ใช้ชื่อเกี่ยวกับอาหารออกมาหลายเรื่อง แม้ว่าหลายๆ เรื่องนั้น จะไม่ค่อยเกี่ยวกับ ‘ของกิน’ เช่น ต้มยำกุ้ง หรือ เสือร้องไห้ (แล้วจะบอกว่า ต้มยำกุ้งเป็นหนังเกี่ยวกับศิลปะแม่ไม้มวยไทยก็ไม่ได้อีก เพราะว่ามันเป็น Exhibition show มากกว่า)

หลังจากพัดกันไป ม้วนกันมา… 

ตอนนี้ อาหารเดินทาง กลับมารวมกันในคลื่นของ Gastronomy tourism ที่ ททท. ก็หวังว่า ไม่ว่ามันจะเกี่ยวดองในมุมไหนของการเที่ยวดื่มกิน ยังมีอีกหลายรส…ที่ลิ้น ยังแตะไปไม่ถึง!

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0