โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ถึงจะบินร่อนไปทั่ว แต่ "นกพิราบ" กลับไม่ใช่นกไทย แถมยังขึ้นแท่นเอเลี่ยนสปีชี่ส์ตัวร้าย

Amarin TV

เผยแพร่ 22 ก.ค. 2562 เวลา 03.34 น.
ถึงจะบินร่อนไปทั่ว แต่
ถ้ามีใครเดินมาถามว่า “วันนี้คุณเห็นนกพิราบแล้วหรือยัง?” เชื่อว่าคงจะมีน้อยคนนักที่ตลอดทั้งวันจะไม่เจอหน้าเจ้านกตัวนี้สักครั้งเดียว เพราะประช

ถ้ามีใครเดินมาถามว่า “วันนี้คุณเห็นนกพิราบแล้วหรือยัง?” เชื่อว่าคงจะมีน้อยคนนักที่ตลอดทั้งวันจะไม่เจอหน้าเจ้านกตัวนี้สักครั้งเดียว เพราะประชากรที่มากมาย แถมยังปรับตัวได้ดีกับการใช้ชีวิตทั้งในป่าและในเมือง ทำให้นกเหล่านี้สามารถพบเห็นได้ยากนัก โดยหารู้ไม่ว่านกเหล่านี้ไม่ใช่นกไทย แถมยังได้ชื่อว่าเป็นเอเลี่ยนสปีชี่ส์อันตรายหนึ่งอีกด้วย

นกพิราบ (rock pigeons) เป็นนกในวงศ์นกพิราบและนกเขา (Columbidae) มีขนสีเทาอ่อน มีแถบสีดำสองแถบบนปีกแต่ละข้าง แต่ทั้งนกป่าและนกเลี้ยงนั้นมีความหลากหลายของสีและรูปแบบของขนเป็นอย่างมาก มีความแตกต่างระหว่างเพศเล็กน้อย นกชนิดนี้มักมีคู่ครองตัวเดียว มีลูกครั้งละ 2 ตัว พ่อและแม่ช่วยกันเลี้ยงดู โดยที่เมื่อจับคู่กันแล้วจะไม่แยกจากกันเลยตลอดชีวิต แม้ว่าคู่จะตายไปแล้ว

นกชนิดนี้มีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับถิ่นที่อยู่อาศัยใหม่ๆ ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นในพื้นที่เกษตรกรรมและในเมือง และสามารถออกไข่ได้ในสถานที่หลากหลาย ตั้งแต่หน้าผาและขอบหิน ไปจนถึงซอกใต้หลังคาบ้าน ก็ถูกใช้เป็นที่ทำรังวางไข่ของนกพิราบได้ และทำให้นกที่มีถิ่นกำเนิดในยุโรป แอฟริกาเหนือ และทางตะวันตกของเอเชีย แพร่กระจายไปตามเมืองต่างๆ ทั่วโลกในเวลาไม่นานหลังจากที่มนุษย์เริ่มนำพวกมันมาเลี้ยงเพื่อใช้งานด้านการสื่อสาร และใช้เพื่อเป็นอาหาร จนมีนกบางส่วนหลุดออกไป (บ้างก็ตั้งใจปล่อยไป เพราะไม่ต้องการเลี้ยงแล้ว) จึงทำให้พวกมันเพิ่มประชากรขึ้นเรื่อย และคาดว่ามีประชากรนกในธรรมชาติประมาณ 17 – 28 ล้านตัวในยุโรป และเป็นนกที่พบได้ในทุกทวีปทั่วโลก ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา

อย่างไรก็ตาม นกพิราบนั้นเป็นที่รวมของเชื้อโรคชนิดต่างๆ ที่ติดต่อมาสู่มนุษย์ได้ อาทิ โรคสมองอักเสบจากเชื้อรา, ปอดอักเสบ, ท้องเสีย, เครียด หรือแม้กระทั่งหมัดจากตัวนก และด้วยพฤติกรรมที่ชอบหากินตามกองขยะในเมืองใหญ่ และกินได้แม้แต่ของเน่าเสีย ทำให้นักวิชาการในสหรัฐอเมริกา ตั้งฉายานกพิราบว่าเป็น “หนูมีปีก” (Flying rat) และจัดเป็นสายพันธุ์ต่างถิ่น หรือเอเลี่ยนสปีชี่ส์ ที่ควบคุมได้ยาก เนื่องจากแพร่พันธุ์รวดเร็ว และไม่สามารถถูกควบคุมโดยนักล่าในธรรมชาติได้ง่ายนัก แถมหากคิดจะกำจัดด้วยสารเคมี ก็ยังส่งผลกระทบต่อสัตว์อื่นในระบบนิเวศด้วย

ปัจจุบัน นกพิราบนั้นถือปัญหาที่กรุงเทพมหานครกำลังเร่งแก้ไขอย่างเร่งด่วน และหนึ่งในนั้นคือการขอความร่วมมือจากประชาชน อย่าให้อาหารนกพิราบ เพื่อป้องกันไม่ให้นกเหล่านี้เข้ามารวมตัวกันอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งเพื่อรออาหาร และขยายพันธุ์ในพื้นใกล้เคียงจนยากจะควบคุม

นอกจากนี้ ผู้ที่ให้อาหารนกพิราบจะมีความผิดทางกฎหมาย มีโทษปรับ 2,000 บาทหากผู้ใดเลี้ยงไว้จนสร้างความเดือดร้อนรำคานรำคาญแก่ผู้อื่น มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 25,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0