โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ถอดรหัส "จดหมายลาครู" เรื่องจริงยิ่งกว่าละคร

Thai PBS

อัพเดต 18 มิ.ย. 2562 เวลา 04.42 น. • เผยแพร่ 18 มิ.ย. 2562 เวลา 05.53 น. • Thai PBS
ถอดรหัส

เรื่องราวชีวิตของ ด.ช.อาทิตย์ มืดคุ้ม หรือ น้องอาร์ม วัย 12 ปี ที่เขียนจดหมายลาครูประจำชั้นขอหยุดเรียนหนึ่งปี ไปทำหน้าที่พี่ชายคนโต ดูแลน้อง 4 ชีวิต เป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงในหลายมิติ โดย 1 ในเรื่องที่ถูกพูดถึง ก็คือเรื่องความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา 

วันนี้ (18 มิ.ย.2562) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เรื่องนี้ทำให้สำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา จัดโครงการ "จดหมายลาครู คืนเด็กกลุ่มเสี่ยงหลุดออกนอกระบบการศึกษาสู่ห้องเรียน" ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สวนเฉลิมหล้า สะพานเฉลิมหล้า 56 กรุงเทพมหานคร

กระผม ด.ช.อาทิตย์ นักเรียนป.6 โรงเรียนบ้านใหม่ปฏิรูป ขออนุญาตคุณครูเป็นเวลา 1 ปีเพื่อช่วยยายเลี้ยงน้องๆ เพราะยายต้องไปเก็บของเก่า ผมจึงต้องลาโรงเรียนครับ

จดหมายของน้องอาร์ม วัย 12 ปีเมื่อวันที่ 16 พ.ค.2562 

ผมขอโทษที่ไม่ได้ทำตามที่ครูบอก ผมสงสารแม่ที่ต้องทำงานหาเงินอยู่คนเดียว ถ้าผมไปเรียนก็ไม่มีใครช่วยแม่ ผมขออนุญาตลาหยุดไปช่วยแม่เก็บลำไย ผมไม่รู้ว่าจะได้กลับมาเรียนอีกเมื่อไหร่ ขอบคุณคุณครูที่ช่วยเหลือมาตลอด 

ส่วนนี่เป็นจดหมายที่เขียนโดย ด.ช.พงศกร อาสาพิทักษ์ไพร จากอ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่

 

จดหมายลาครูแนวกราฟฟิตี้ ที่จัดแสดงในสวนเฉลิมหล้า สะพานหัวช้าง กรุงเทพฯ เป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการมีชีวิต จากเครือข่ายศิลปินกราฟฟิตี้เพื่อสังคม ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเรื่องจริงของเด็กๆ ในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ ที่เขียนจดหมายลาครูไปช่วยดูแลพี่น้อง หรือ แบ่งเบาภาระครอบครัว

ศิลปินกลุ่มนี้ตั้งใจใช้งานศิลปะสะท้อนปัญหาให้คนไทยเข้าใจ และมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โดยสร้างผลงานศิลปะ 7 แห่งในกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ขอนแก่นและภูเก็ต

อยากสื่อสารเรื่องราวในจดหมายมากกว่างานศิลปะชิ้นหนึ่ง

นายนรรัตน์ ถวิลอนันต์ เครือข่ายกราฟฟิตี้  STREET ART บอกว่า ตรงนี้ถ้าสังเกตจริงเป็นแลนด์มาร์กที่ใหญ่ใน กทม.มีคนเดินผ่านไปมา ถ้าคนที่เดินมาแล้วเขาหยุดดูผลงาน คงจะทำให้เขาเกิดอะไรในใจ ถึงจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ทั้งหมด แต่เป็นจุดเริ่มต้น และสะท้อนว่าครูที่ไม่นิ่งเฉยกับจดหมายลาครู

พวกเขา ได้พบกับเด็กๆ ที่เป็นเจ้าของจดหมาย รวมถึงตัวแทนจาก 4 หน่วยงานที่จะมาแถลงความร่วมมือในการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาอย่างจริงจัง

 

เด็กไทย 2 ล้านเสี่ยงหลุดระบบการศึกษา 

ช่วงเช้าที่ผ่านมา ด.ช.อาทิตย์  หรือน้องอาร์ม และด.ช.พงศกร อาสาพิทักษ์ไพร หรือน้องแดง วัย 13 ปี จาก อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นเจ้าของจดหมายที่ถูกนำมาสร้างผลงานศิลปะ ได้เป็นตัวแทนของเด็กนักเรียนมาบอกเล่าเรื่องราวของพวกเขา โดยมีคุณครูของทั้งสองคนมาร่วมพูดคุย หลังจากได้รับเสียงชื่นชมว่า เป็นครูที่ไม่นิ่งเฉยต่อปัญหา และทำให้ลูกศิษย์ได้มีโอกาสศึกษาต่อ

หากจะแก้ปัญหานี้เป็นระบบและครอบคลุมเด็กที่มีความเสี่ยงทั่วประเทศ โดยใช้เงินอุดหนุนของ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ครู ถือเป็นหัวใจสำคัญในการช่วยเหลือ

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง ทำหน้าที่ "พี่ชายคนโต" เด็ก ป.6 ขอหยุดเรียนหนึ่งปีดูแลน้อง 4 ชีวิต

นพ.สุภกร บัวสาย ผจก.กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กล่าวว่า ครูบางคนสังเกตว่ามีลูกศิษย์หายหน้าไป และเราเห็นว่ามีลูกศิษย์บางคนเขียนจดหมายถึงครู ไม่ขอเรียนต่อ และขอหยุดชั่วคราวเป็นความจำเป็นที่ต้องเลี้ยงน้อง เลี้ยงยาย หรือคนใครอบครัวที่พิการ และหารายได้ บางครั้งครูหลายท่านเข้าใจสภาพปัญหา

ข้อมูลจากกระทรวงศึกษาธิการ และกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พบว่าปจจุบันมีเด็กไทยมากกว่า 430,000 คน ที่หลุดอยู่นอกระบบการศึกษาภาคบังคับ และมีเด็กยากจน ที่เสี่ยงไม่ได้ศึกษาต่อ ราวๆ 2 ล้านคนทั่วประเทศ

 

4 หน่วยงานภาคี คือ สำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน และกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ยืนยันว่าจะร่วมมือกันในการแก้ปัญหานี้ ผ่านโครงการเงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจนพิเศษ โดยใช้ระบบสารสนเทศเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ iSEE ของกองทุนฯ มาเป็นเครื่องมือติดตาม ค้นหาและช่วยเหลือเด็กๆ ให้ถูกจุดถูกคน ตรงความจำเป็น

โดยเชื่อว่า คุณครูที่อยู่ใกล้ชิดกับปัญหากว่า 400,000 คน จะช่วยกันค้นหา และคัดกรองให้ได้กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ซึ่งแนวทางนี้ ทำให้ปีการศึกษาที่ผ่านมา มีเด็กยากจนพิเศษกว่า 500,000 คน ได้รับทุนไปแล้ว

การแถลงความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาให้กับเด็กยากจนและด้อยโอกาสได้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาภาคบังคับในวันนี้ถือเป็นสัญญาณที่ดี แต่ถ้าจะทำให้การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษามีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม ก็อาจต้องช่วยกันสะท้อนไปยังรัฐบาล และทุกส่วนของสังคม ที่อาจจะเริ่มทำความเข้าใจจากจดหมายลาครู ที่เป็นผลงานศิลปะ

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง 

ธารน้ำใจยื่นมือช่วย "น้องอาร์ม" ขอหยุดเรียนดูแลน้อง 4 ชีวิต

 

 

 

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0