โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ถอดบทเรียนโควิด-19 ของ IKEA ‘เรียนรู้ ปรับตัว ต่อยอด’

Businesstoday

เผยแพร่ 24 พ.ค. 2563 เวลา 06.50 น. • Businesstoday
ถอดบทเรียนโควิด-19 ของ IKEA ‘เรียนรู้ ปรับตัว ต่อยอด’

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้เห็นการปรับตัวของธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือใหญ่เพียงใด เพื่อรักษาระดับยอดขายและรายได้ไว้ให้ได้มากที่สุด หนึ่งในนั้นที่อยากจะหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงนั้นคือIKEA (อิเกีย) ผู้จำหน่ายสินค้าเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้างสัญชาติสวีเดน ที่เข้ามาลงทุนทำธุรกิจในประเทศไทยราวๆในช่วงปลายปี2554 จนถึงปัจจุบัน

“ตลอดระยะเวลาในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รายได้หลักทางด้านการขายออนไลน์เป็นสัดส่วน100% ที่ขับเคลื่อนธุรกิจในช่วงที่ผ่านมา” ทอม ซูเทอร์ ผู้จัดการสโตร์ อิเกีย บางใหญ่ กล่าว

ย้อนกลับไปในช่วงสัปดาห์นี้ของปีที่แล้ว นับเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่IKEA เปิดให้บริการในรูปแบบออนไลน์เป็นครั้งแรก สำหรับสัดส่วนยอดขายที่มาจาก ออนไลน์ ในสถานการณ์ปกติอยู่ที่ราว10-12% ของรายได้รวมทั้งหมด

บทเรียนของอิเกียในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 คืออะไร?

เราได้รู้จักลูกค้าและเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคในกลุ่ม อี-คอมเมิร์ซ หรือ ลูกค้าที่อยู่บนออนไลน์ของเรามากขึ้น เนื่องจากเราได้ทุ่มทุกสรรพกำลังที่เรามีไปให้กับรูปแบบการทำธุรกิจบน อี-คอมเมิร์ซ ตลอดช่วงที่เกิดสถานการณ์ดังกล่าว ฉะนั้นเราจะหาวิธีลดต้นทุนในธุรกิจ อี-คอมเมิร์ซ หลังจากนี้ที่จะเกิดขึ้นให้ได้มากที่สุด

นอกจากนี้ ทิศทางการขยาย สโตร์ ของ อิเกีย ทั่วโลก(ไม่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์โควิด-19) มีแนวโน้มขยายตัวลดลงมาในช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้ว ซึ่งโดยปกติขนาดสโตร์ของ อิเกีย จะอยู่ที่ราว2,000-5,000 ตร.ม. และมาจากปัจจัยสำคัญอีกอย่างก็คือพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป

ด้านยอดขายรวมในช่วง มี.ค.-เม.ย. ลดลงไปกว่า40% เมื่อเทียบกับช่วงปกติ แต่เรายังคงดูแลค่าจ้างและค่าแรงของพนักงานทุกคนของ อิเกีย พร้อมการปรับวิธีการทำงานรูปแบบใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์มากที่สุด

ikea
ikea

ช่วงที่ผ่านมาผู้บริโภคสั่งซื้ออะไรจากสโตร์ออนไลน์ของอิเกีย?

ช่วงแรกเริ่มการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สินค้า2 กลุ่มหลักที่ได้รับความนิยมตลอดช่วง2 สัปดาห์แรกของสถานการณ์คือ กลุ่มสินค้าเครื่องใช้ในครัว และ กลุ่มสินค้าสำหรับการทำงาน ซึ่งเติบโตไปมากกว่า500% เมื่อเทียบกับช่วงปกติ  กระทั่งกลุ่มสินค้าสำหรับการทำงาน ขาดตลาด!! ส่งผลให้ตัวเลขยอดขาย ออนไลน์ ของ อิเกีย ตลอดช่วงโควิด-19 (มี.ค.-พ.ค.) มีอัตราเติบโตมากกว่า3.5 เท่า เมื่อเทียบกับช่วงปกติ

สำหรับตลอดช่วงโควิด-19 สินค้า5 กลุ่มที่ได้รับการสั่งซื้อผ่าน สโตร์ ออนไลน์ ของ อิเกีย มากที่สุดคือ

1.โต๊ะ-เก้าอี้

2.เครื่องอบขนม

3.เครื่องมือในการรับประทานอาหาร

4.ผ้าคลุม, ผ้าม่าน, ผ้าปูที่นอน

5.ต้นไม้

คาดการณ์ผลกระทบของอิเกียในประเทศไทยที่จะเกิดขึ้นในปีนี้เป็นอย่างไร?

เดิมทีในปีงบประมาณ2562 ที่จะสิ้นสุดในเดือน ส.ค. 2563 นี้ เราได้มีการคาดการณ์ว่าจะมีอัตราเติบโตราว3.5% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่จะเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 กระทั่งล่าสุดเราได้คาดการณ์ใหม่ว่า จะมีอัตราเติบโตลดลง8.4% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และมีแนวโน้มว่าอีกราว2 ปีงบประมาณข้างหน้า(ในปีงบฯ2565) ตัวเลขอัตราเติบโตจึงจะกลับมาเท่ากับปีงบประมาณ2562 ได้

ซึ่งถึงแม้จะดูเป็นภาพลบทางธุรกิจก็ตามแต่ อิเกีย มองว่าในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้ประชาชนทุกคนต้องกักตัวอยู่ในบ้านตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของรัฐบาล ทำให้ผู้บริโภคมีความสนใจในสินค้าตกแต่งบ้านมากขึ้น จึงทำให้ภาพรวมตลาดและอุตสาหกรรมนี้รวมถึง อิเกีย ยังคงพอไปได้

ikea
ikea

สถานการณ์โควิด-19 และมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของรัฐเริ่มผ่อนคลายลงอิเกียมองอย่างไร?

เราได้มีการแชร์ข้อมูลกับ อิเกีย ทั่วโลก ถึงมาตรการรับมือการผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์ในประเทศต่างๆ และ การเปิด อิเกีย สโตร์ วันแรกในวันที่17 พ.ค. ที่ผ่านมา เราได้มีการรับมือในมาตรการต่างๆอย่างเต็มที่ ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในการเปิดสโตร์วันแรกไม่ได้เป็นสิ่งที่เกินความคาดหมายของเรา เพราะในลักษณะเดียวกันเกิดขึ้นในหลายประเทศมาแล้วก่อนหน้านี้

เรายังคงปฏิบัติตามกฎและมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของรัฐบาลอย่างเคร่งครัด โดยที่ผ่านมา สโตร์ ของ อิเกีย บางใหญ่ รับผู้ใช้บริการได้ราว5,000 คน โดยในช่วงมาตรการจำกัดพื้นที่ต่อตารางเมตร ได้ลดลงเหลือ3,600 คน แต่ในส่วนที่ได้รับผลกระทบอยู่คือโซนของ ธุรกิจอาหาร เนื่องจากจำนวนที่นั่งของผู้ใช้บริการลดลงกว่า50% จากมาตรการSocial Distancing

ขณะเดียวกัน ระยะเวลาการใช้บริการภายใน อิเกีย สโตร์ ปกติเฉลี่ยอยู่ที่1-1.30 ชั่วโมง ลดลงเหลือราว1 ชั่วโมง เนื่องจากผู้บริโภคใช้เวลาเดินเฉพาะซื้อสินค้าในสโตร์เท่านั้น จากเดิมจะมีการบริโภคอาหารด้วย

อย่างไรก็ตาม มองว่าในระยะเวลา3 สัปดาห์แรก ผู้บริโภคจะยังคงมีความต้องการเข้ามาใช้บริการใน สโตร์ ของอิเกีย หลังจากนั้นจะเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

ikea
ikea

หลังจากโควิด-19 ผ่านไปอิเกียจะนำบทเรียนต่างๆไปปรับใช้ในธุรกิจอย่างไร?

เราเตรียมแผนการลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีในธุรกิจ อี-คอมเมิร์ซ และ ออนไลน์ มากขึ้น รวมถึงเตรียมแผนการเปิดตัวรูปแบบการขายผ่านSocial Media ในเร็วๆนี้ จากล่าสุดในช่วง2 สัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีการเปิดให้บริการClick & Collect สั่งซื้อออนไลน์และมารับสินค้าด้วยตนเองที่สโตร์ ซึ่งได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคเป็นอย่างดี

หลังจากนี้ จะมีการขยายการส่งสินค้าให้ครอบคลุมในพื้นที่ต่างจังหวัดให้ได้มากที่สุด พร้อมกับการลดต้นทุนในการขนส่งสินค้าในพื้นที่กรุงเทพฯ อย่างไรก็ตาม อิเกีย เป็นบริษัทข้ามชาติซึ่งไม่มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจด้านการขนส่งในประเทศไทย จึงอาจเป็นอุปสรรคในการทำโปรโมชั่นค่าขนส่ง

ทอม กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า ในเดือน ก.ย. จะมีการลดราคาสินค้า3% และในช่วงเดือน ส.ค. นี้จะมีการเปิดตัวสินค้า คอลเลตชั่นพิเศา ที่ร่วมกับ เกรย์ฮาวด์(Greyhound) พร้อมกันนี้ ยังมีแคมเปญIKEA Making Home Count : ทำบ้านให้เป็นบ้าน เพื่อสร้างประสบการณ์การช้อปปิ้งให้ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : IKEA เปิดบริการวันแรกกวาดยอดขายเติบโตแรง

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0