โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ถอดถ้อยคำ จากใจ “อริยะ พนมยงค์”  ฝ่ามรสุม-คลื่นใต้น้ำ ฟื้นช่อง 3 ทำกำไรให้ได้   

กรุงเทพธุรกิจ

เผยแพร่ 26 ก.พ. 2563 เวลา 08.55 น.

กรุงเทพธุรกิจได้เจอหน้าอริยะครั้งแรกหลังรับตำแหน่งคือการไปสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) เพื่อรับฟังแนวทางการคืนใบประกอบอนุญาตทีวีดิจิทัล หรือไลเซ่นส์เพราะช่อง3 แบก3 ช่องหากคืนช่องจะลดต้นทุนต่างๆและได้รับเงินเยียวยากว่า800 ล้านบาทช่วยทำให้“งบการเงิน” ดูดีขึ้นจากที่ขาดทุนสาหัสสากรรจ์ 

เมื่ออริยะเข้ามาทำงานได้ระยะแผนงานและกลยุทธ์การฟื้นช่อง3 วางไว้ถึง6 เสาหลักเช่นเช่นTV plus , คอนเทนท์เพิ่มรายการใหม่ๆปรับรายการข่าว, ลุยขายต่างประเทศและเทคโนโลยีรุกออนไลน์ทั้งรวบทุกแพลตฟอร์มมาอยู่CH3+ และจับมือพันธมิตรเสิร์ฟคอนเทนท์เป็นต้น 

วางเสาหลักไม่พอการเคลื่อนทัพธุรกิจ“บุคลากร” มีความสำคัญเมื่อ“อริยะ” มาทำงานต้องมี“ขุนพล” ข้างกายจึงเห็นทีมงานที่เคยร่วมหัวจมท้ายที่“ไลน์” มาอยู่ด้วยหลายชีวิตขณะที่การคืน2 ช่องทำให้ต้อง“ลดคน” อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

ทว่าล่าสุดยังเปิดโครงการสมัครใจลาออกเป็นทางเลือกให้พนักงานซึ่งปัจจุบันช่อง3 มีบุคลากร1,500 ชีวิต 

การตกงานในยุคข้าวยากหมากแพงเป็นเรื่องใหญ่ของคนทำงานเสียงวิพากษ์สะท้อนกลับไปยังหัวเรือใหญ่“อริยะ” จึงเต็มไปด้วยเชิงลบรุนแรงด้วย 

และเป็นอีกครั้งที่อริยะเปิดใจถึงกลยุทธ์การทำงานแผนการฟื้นช่อง3 ภายใต้ข้อจำกัดนานัปการ 

158270611497
158270611497

อริยะ พนมยงค์ 

เริ่มเรื่องฮอตก่อนก็ได้อริยะเปิดบทสนทนาพร้อมรอยยิ้มและแจกแจงการหยิบโครงการสมัครใจลาออกมาพูดและเป็นทางเลือกให้แก่พนักงานตอนจัดทาวน์ฮอลล์ 

“มีการพูดคุยหลายหัวข้อแต่ที่ถูกหยิบยกมาเหลือแค่บรรทัดเดียว” แต่ไม่ว่าเรื่องไหนที่ทำความเข้าใจพนักงานต้องการให้เห็นภาพใหญ่ขององค์กรและการปรับกลยุทธ์การพยายามปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรเพื่อให้เดินหน้าต่อไปได้ที่สำคัญต้อง“ฟื้นกำไร” ให้กลับมาเป็นบวก  

ข้างในองค์กรมีการทับซ้อนอยู่เหมือนกันการเดินหน้าต้องทำให้วิธีการทำงานคล่องตัวมากขึ้นมีความAgile Lean ไม่ใช่แค่ลดSize องค์กรแต่รวมถึงProcess การรทำงานต้องรวดเร็วกว่าเดิม 

อย่างไรก็ตามเมื่อตัดสินใจเปิดโครงการสมัครใจลาออกเวลานี้จึงอยู่ระหว่างคิดคำนวณแพ็คเกจเพื่อจูงใจให้พนักงานสมัครใจแต่หากมีพนักงานประสงค์อยู่ต่อหน้าที่ของ“ผู้นำ” ต้องไล่เลียงดูต้นทุนการผลิตคอนเทนท์รวมถึงบริหารจัดการต้นทุนอื่นๆให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

++เวลาไม่เข้าข้างอุตฯทีวีดิจิทัล

การปรับโครงสร้างองค์กรเรื่องคนทำให้ลดต้นทุนได้ไม่น้อยแต่สิ่งที่อริยะคาดหวังเพิ่มคือเห็นการSpeed ธุรกิจเพราะในสภาวะเศรษฐกิจหรือจีดีพีหดตัวต่ำกว่า3% แน่นอนไวรัสโควิด-19 มาแบบไม่ตั้งตัวทุบซ้ำท่องเที่ยวและฉุดเศรษฐกิจให้ย่ำแย่ไปอีกผลพวงตามมาคือลูกค้าย่อม“หั่นงบ” หรือ“โยกงบโฆษณา” จากทีวีไปลุยTrade จัดกิรรมณพื้นที่(On ground) เพื่อปั้มตัวเลขยอดขายตุนไว้แต่ต้นปีดีกว่า 

ตอนนี้เราไม่ได้มีเวลาเยอะเวลาไม่ได้เข้าข่างเราเราต้องวิ่ง  

ทั้งนี้โครงการสมัครใจลาออกไม่ระบุว่า“ฝ่ายไหน” จะกระทบบ้างแต่อนุมานได้ว่าการยุติการออกอากาศทีวีระบบอนาล็อกจะทำให้พนักงานดูแลโครงข่ายมีโอกาสเข้าข่ายรวมถึงพนักงานวัยเกษียณอาจพิจารณายุติการทำงานได้โดย“สมัครใจ”

 “คนที่อยู่ในอุตสาหกรรมนี้(ทีวีดิจิทัล)คงพอเห็นว่าไม่ใช่แค่เรา..บีอีซีเวิลด์ที่กระทบซึ่งนั่นไม่ใช่ข้ออ้างหรอกแต่สถานการณ์อุตสาหกรรมSuffer จริงๆการคืน7 ช่องไม่ได้ลดการแข่งขันลงเพราะช่องหลักยังอยู่เหมือนเดิมขณะที่เศรษฐกิจไม่ดียิ่งทำให้การแข่งขันหนักเข้าไปใหญ่ทุกรายต้องหาทางรักษาฐานธุรกิจโกยเงินโฆษณา..เทรนด์มันไม่ดีแม้เราไม่อยากเห็นภาพแบบนี้ เขาย้ำและฉายภาพ2 เดือนแรกของปี2563 เศรษฐกิจเลวร้ายกว่าเดิมเหนือความคาดหมายของหลายๆคน

++ลดคนคุมต้นทุนไม่ได้ 

ต้องลุยบริหารการผลิตคอนเทนท์

ทั้งนี้หากพนักงานสมัครใจลาออกไม่เข้าเป้าแผน2 ของอริยะต้องโฟกัสการบริหารการผลิตคอนเทนท์ให้มีประสิทธิภาพโดยยืนยันว่าจะไม่กระทบ“คุณภาพ” ของเนื้อหารายการแน่นอนส่วนงบลงทุนด้านการผลิตใช้มากน้อยแค่ไหนขอ“อุบ” ไว้แต่เฉพาะละครมีการผลิตมากถึง30-40 เรื่องต่อปี 

นอกจากนี้ยังมีการ“Synergy” กับเครือเช่นบีอีซี-เทโรเอ็นเตอร์เทนเมนท์ในการจัดกิจกรรมหรืออีเวนท์ต่างๆเช่นการจัดกิจกรรมวิ่งฉลอง50 ปีช่อง3 กระจายไปยัง5 จังหวัดเช่นสุพรรณบุรีจันทบุรีฯโดยแต่ละปีบริษัทมีการจัดอีเวนท์ค่อนข้างมาก  

158270631724
158270631724

ส่วนอีกฝ่ายที่“ซีนเนอร์ยี” คือรายการข่าวออนไลน์ที่ให้ทีมบีอีซี-เทโรฯรับไปจัดการ 

เรามีทีมที่ทำข่าวออนไลน์ได้ดีอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องสร้างทีมใหม่เพิ่มใช้ทีมงานบีอีซี-เทโรฯ

++ภารกิจพิชิตเป้าหมาย 

เมื่อเกม“ทีวีดิจิทัล” ออกสตาร์ทปฏิเสธไม่ได้ว่าการเอาตัวรอดบนสังเวียนจอแก้วเป็นไปอย่างโหดหินทุลักทุเลสุดท้ายมี“ผู้รอด” และยอมยกธงชาวให้“จอดำ” คืนช่องรับเงินเยียวยาจากกสทช.ดีกว่าส่วนโมเดลธุรกิจคือลุยออนไลน์เต็มที่ไปเลย 

แม้ช่อง3 จะยุติ2 ช่องได้เงินเยียวมา800 กว่าล้านบาทแต่ผลประกอบการปี2562 ก็ไม่ได้สวยหรูเพราะภาพรวม“ร่วง” เกือบยกแผงเริ่มจากรายได้รวมทั้งปีอยู่ที่8,310 ล้านบาทลดลง17.9% แบ่งเป็นรายได้โฆษณา6,743.5 ล้านบาทลดลง22% รายได้จากการให้ใช้ลิขสิทธิ์และบริการอื่น933.5 ล้านบาทลดลง8.4% มีเพียงรายได้จากการจัดคอนเสิร์ตและแสดงโชว์ที่บวก51.1% อยู่ที่557 ล้านบาทฯ 

ส่วนกำไรยังแดงเพราะขาดทุน!! 397.2 ล้านบาท

อริยะแจงเหตุผลรายได้ลดโฆษณาทีวีเป็นไปตามเทรนด์ตลาดขาลงยิ่งช่องใหญ่เม็ดเงินหายแรงกว่าช่องเล็กๆส่วนการขายคอนเทนท์ต่างประเทศหดตัวเพราะตลาดใหญ่คือจีนช่อง3 มีแผนออกอากาศละครคู่ขนาน(Simulcast) แต่ต้องเลื่อนออกไปเพราะติดขัดบางอย่างขณะที่ไต้หวันไม่มีปัญหา 

ส่วนออนไลน์สิ่งที่เจรจากับพันธมิตรนำคอนเทนท์ไปออกอากาศกว่าจะจบแต่ละดีลใช้เวลาเช่นการผนึกWeTV หารือปี2562 จบดีลปลายปีเปิดตัวต้นปีจึงการันตีว่าหลายพันธมิตรที่ปิดดีลจะทยอยเห็นการเปิดตัวในปีนี้และจะส่งผลบวกต่อการเติบโตของรายได้ที่วางเป้าหมายออนไลน์โต2เท่า

++New Media-D2C ขุมทรัพย์รายได้ใหม่

การฟื้นรายได้สำคัญแต่ที่ต้องให้น้ำหนักว่าคือพลิกช่อง3 ที่ขาดทุนให้มีกำไรภายในปี2563 อริยะจึงงัดกลยุทธ์Direcr to Consumer: D2C มาใช้เริ่มจากการพลิกสื่อดั้งเดิมอย่างทีวีให้เป็นNew Media ไม่พึ่งแค่สปอตโฆษณาทางทีวีเหมือนเดิมอีกต่อไปเพราะตราบที่เทรนด์โฆษณาทีวียังส่งสัญญาณ“หดตัว” โตต่อยากเหลือเกินการกระจายความเสี่ยงจึงจำเป็นมากขึ้นเป็นเงาตามตัว

158270623939
158270623939

โมเดลD2C คือการใช้หน้าจอ เป็นช่องทางขายสินค้าโมเดลธุรกิจมีความยืดหยุ่นแต่หลักใหญ่ใจความสำคัญช่อง3 จะรับเป้าหมาย จากลูกค้า ทั้งเจ้าของสินค้าและเอเยนซี่ว่าต้องการอะไรเช่นดึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย(Traffic) ยอดจอง(Leads) และยอดขายสินค้า(Conversion) ข่อง3 จะนำสินค้าไปนำเสนอในรูปแบบของสปอตโฆษณาออกอากาศเวลาไหนก็ได้จะนาทีทองหรือไม่(Prime time - Non prime time) ทางช่องจะบริหารจัดการเองทั้งหมด 

ลูกค้าโยนโจทย์ให้เราขายสินค้า20,000 ชิ้นเราจะไปบริหารการยิงสปอตโฆษณาช่วงเวลาต่างๆหากโฆษณาเพียงวันเดียวขายสินค้าหมดเลยคือจบซึ่งลูกค้าจะได้ประโยชน์ทั้งcost per leads ยอดขายการเชื่อมค้าขายD2C ทำได้ทั้งหน้าจอทีวีและออนไลน์ด้วย  

ก่อนหน้านี้ช่อง3 ชิมลางD2C ด้วยการผนึกกับร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่นลูกค้าที่เห็นQR Code ทางทีวีสามารถนำไปร่วมกิจกรรมที่ร้านได้เพราะเป็นการ“ทดลอง” จึงเห็นข้อด้อยบางประการเช่นระยะเวลาสั้นการรับรู้(Awareness) ไม่ทั่วถึงการสแกนผ่านระบบหรือQR Code ไหนจึง“ปรับ” ใหม่จากนี้ไปแอพพลิเคชั่นCH3+ จะมีQR Code ให้สแกนได้เลยที่สำคัญสามารถสะสมแต้ม(Point) เพื่อนำไปต่อยอดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า(CRM)ได้ด้วยเรียกว่า“ช่อง3” จะดึงลูกค้าให้ซื้อโฆษณาขายสินค้าและCRM ครบจบในช่องเดียว

จังหวะเศรษฐกิจเช่นนี้ผู้ประกอบการต้องการยอดขายและD2C คือบริการใหม่ของช่อง3 ที่วัดผลการดำเนินงานยอดขายของลูกค้าได้นี่ยังทำให้ช่อง3 เป็นมากกว่าทีวี(Beyon TV) อย่างที่ตั้งใจไว้ด้วย

++คอนเทนท์ต้องดึงเรทติ้ง

ภารกิจการสร้างเรทติ้งเป็นอีกงานโหดหินเพราะจริตคนดูเปลี่ยนเร็วมากบางเรื่องถูกใจผู้ชมรายนี้แต่ไม่ถูกใจอีกรายเป็นเรื่องปกติที่คนทำทีวีต้องเจอ 

ทว่าการโกยเรทติ้งที่อริยะวางกลยุทธ์ไว้คือสร้างNew Prime time หรือช่วงนาทีทองใหม่จาก20.20-22.30 น. มาเป็น18.00-20.20 น. ชูคอนเซปต์สร้างมิติความสนุกแบบใหม่อัด3 รายการใหม่แทนละครเย็นซึ่งปัจจุบันเป็น“ละครรีรัน” ประเดิม“สกิดใจโชว์” นำร่อง18.00 น. และยังมีอีก2 รายการทำร่วมกับบริษัทออเร้นจ์มาม่าส้มส่วนช่วง19.00 น. จะเป็นละครงานนี้ยังเตรียมเข็นนักแสดงตัวท็อปของช่องที่เล่นละครหลังข่าวมาเป็นแม่เหล็กดึงดูดผู้ชมด้วย  

158270643873
158270643873

เมื่อละครใหม่มีเพิ่มแต่จำนวนละครทั้งปีคงไม่ผลิตพุ่งอีก30-40 เรื่องเพราะเวลาออกอากาศ(Air time) มีเพียง1 ชั่วโมงเท่านั้น 

“ดูข้อมูลหรือData จากนีลเส็นพบว่าผู้ชมทีวีทั้งวัน(Universe)อยู่ในช่วง18.00-19.30 น.กราฟพีคตอนนี้ผมไม่ได้คิดเก่งนี่เป็นข้อมูลล้วนๆ” เขาบอกและย้ำว่าตอนนี้เราอยากBet ดูว่าละครรีรันที่ทำได้ดีอยู่แล้วเมื่อนำรายกาใหม่มาก็ต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลงขณะที่การทุ่มเททำละครเย็นการดึงนักแสดงดังละครหลังข่าวมาเล่นแสดงให้เห็นว่าเราเอาจริงทุ่มเทให้ช่วงเวลานี้

หากย้อนดูเรทติ้งช่วงเวลาดังกล่าวเป็นอย่างไรอริยะตอบสั้นๆว่าเราควรทำได้ดีกว่านี้

++ 10 เดือนยอมรับเหนื่อย

ตลอดเวลา10 เดือนกับบทบาทแม่ทัพเคลื่อนช่อง3 อริยะถูกคาดหวังจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรอบด้านไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้นครอบครัวมาลีนนท์พนักงานแม้กระทั่งบุคคลภายนอกที่อยากเห็น“ฝีมือ” ของคนทำงานออนไลน์ที่ดิสรัปสื่อดั้งเดิมมาก่อน 

“ผมรู้ทุกคนคาดหวังยิ่งพื้นฐานผมมาจากออนไลน์คนต้องการเห็นผลลัพธ์ธุรกิจจากออนไลน์ทันทีแต่ในความเป็นจริงสิ่งที่ผมต้องพูดมาตลอดคือพยายามแก้จุดที่สื่อออนไลน์มีราคาค่อนข้างต่ำในแง่สื่อเราต้องมีกลยุทธ์ไปแก้ทำให้ออนไลน์ได้มูลค่าที่ดีขึ้น”

ส่วนการกลับมามีกำไรยอมรับว่าเป็นเป้าหมายสำคัญ“เป็นสิ่งที่ผมวางไว้มันไม่มีข้ออ้างแล้วเป็นปีที่ต้องทำให้ได้แม้จะมีความยากอยู่หากกรณีเลวร้ายทำตามเป้าไม่ได้ก็มีแผนสำรองต้องผลักดันตัวเลขให้ดำมันสำคัญกับตัวเราเองความคาดหวังจากตลาดเป็นส่วนหนึ่งแต่คาดหวังจากตัวเองด้วย

158270648529
158270648529

นอกจากนี้ตลอด10 เดือนเสียงวิพากษ์วิจารณ์เชิงลบที่มีต่อการทำงานและตัวของอริยะบั่นทอนตนเองบ้างหรือไม่เขาตอบว่า“ก็มีบ้าง” ส่วนการทำงานเหนื่อยอย่างที่คิดหรือไม่คิดไว้อยู่แล้วว่าเหนื่อยพอเจอจริงๆต้องยอมรับว่ามันเหนื่อยมีความเหนื่อยเรื่องงานและในเวลาเดียวกันความคาดหวังทุกคนมีอยู่ยิ่งพูดถึงโครงการ(สมัครใจลาออก) มีการวิพากษ์อะไรต่อมิอะไรมากมายต้องบอกว่าคนที่มาทำตรงนี้ต้องจิตแข็งพอสมควรเพราะมีคนคอยวิพากษ์เราอยู่บ่อย

ทุกคนวิพากษ์ได้ถ้าเราไปด้วยกันหมดเราตายหมู่หากเรากลับมาดีขึ้นได้อุตสาหกรรมโดยรวมจะดีขึ้น

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0