โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ต้องเหวี่ยงแค่ไหนถึงจะเข้าข่ายโรคไบโพลาร์ (Bipolar disorder) - หมอเอิ้น พิยะดา

TOP PICK TODAY

เผยแพร่ 08 ก.ค. 2563 เวลา 03.49 น. • หมอเอิ้น พิยะดา
ภาพโดย dashu83 / freepik.com
ภาพโดย dashu83 / freepik.com

“พี่เป็นไบโพลาร์รึเปล่าวะ?” เป็นคำถามที่เคยได้ยินจากผู้บริหารท่านหนึ่ง  

“เจ้านายหนูเป็นไบโพลาร์รึเปล่าคะหมอ?” คำถามนี้ก็เจอได้บ่อยกับพนักงานที่ต้องรองรับอารมณ์เจ้านาย  

โดยเฉพาะช่วงเวลาที่งานมีความกดดันหรือมีปัญหาอย่างในช่วงนี้

 หลายคนคงเคยได้ยินคำว่าไบโพลาร์ ( Bipolar) แล้วรู้ว่ามันคืออะไร  

บางคนเคยได้ยินแต่ไม่รู้ว่าคืออะไร บางคนไม่เคยได้ยินเลย 

วันนี้หมอเลยอยากมาเล่าเรื่อง "Bipolar" ให้ฟัง

Bipolar Disorder หรือที่ภาษาไทยเราเรียกว่า “โรคอารมณ์สองขั้ว” เป็นโรคทางอารมณ์ชนิดหนึ่ง ลักษณะอาการคือ ผู้ที่เป็นจะมีความเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์แบบแปรปรวนสองลักษณะ ลักษณะแรกคือช่วงอารมณ์ขึ้น ( mania ) อารมณ์ช่วงนี้จะสนุกสนาน คึกครื้น มั่นใจในตัวเองเกินกว่าปกติที่เป็น แต่บางคนเป็นลักษณะหงุดหงิดก้าวร้าว ความคิดรวดเร็วจนบางครั้งพูดไม่ทันความคิด พฤติกรรมคึกคะนอง อยากทำอะไรต้องทำ ไม่ค่อยนอน คนที่เป็นส่วนมากจะรู้สึกดีกับตัวเองที่มีความมั่นใจแต่คนรอบข้างจะเริ่มรู้สึกเดือดร้อนจากความมั่นใจที่มากเกิน

ลักษณะที่สองคือช่วงอารมณ์ขาลง ( Depression ) ช่วงอารมณ์ตกก็จะรู้สึกเบื่อหน่าย ท้อแท้ ไม่อยากทำอะไร ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง ตามปกติเวลาที่เป็นขั้วไหน อาการมักจะเป็นขั้วนั้นยาวนาน เกือบตลอดเวลา เกินกว่า 1 สัปดาห์

สาเหตุของการเกิดโรคมาจากหลายสาเหตุ แต่มักพบได้บ่อยในกลุ่มที่มีประวัติครอบครัว เช่น แฝดไข่ใบเดียวกันมีโอกาสเป็นถึงร้อยละ 70 ญาติสายตรงมีโอกาสร้อยละ 5 – 10 หรืออาจจะเกิดจากโรคทางกายบางอย่าง เช่น Hyperthyroid เป็นต้น หรือการใช้สารเสพติด และอายุที่มักพบโรคอารมณ์สองขั้วมักอยู่ในช่วง 15 – 24 ปีถ้าพบในคนสูงอายุมากกว่า 60 ปีมักเกิดจากโรคทางกายอื่น

ดังนั้นการที่ใครคนหนึ่งรับรู้ได้ว่าตัวเองมีอารมณ์แปรปรวน จำเป็นต้องเป็นโรคอารมณ์สองขั้วมั้ย? คำตอบคือไม่จำเป็น ความแปรปรวนนี้อาจเป็นพื้นนิสัยเดิม อาจเป็นเพราะการปรับตัวกับความเครียดความกดดันได้ ซึ่งบุคลิกลักษณะนี้อาจพบได้บ่อยในกลุ่มผู้บริหาร หรือหัวหน้าที่ต้องรองรับความกดดันมาก ต้องทำงานกับความรวดเร็ว ต้องใช้ความมั่นใจในตัวเองในการตัดสินใจและสามารถแสดงออกถึงอารมณ์ได้โดยไม่มีใครต่อว่า

แล้วอารมณ์เหวี่ยงแค่ไหนที่น่าสงสัย Bipolar Didorder แล้วต้องรีบมาหาหมอ?

  •  เหวี่ยงมากเกินกว่าปกติที่เคยเป็นและควบคุมไม่ได้
  • เหวี่ยงได้ทุกที่ทุกเวลาและกับทุกคน
  • เหวี่ยงจนคนรอบข้างเกิดความเดือดร้อน
  • ไม่หลับไม่นอน
  • พูดมากจนแทบจะหยุดไม่ได้
  • เป็นเกือบตลอดเวลามายาวนานเกือบอาทิตย์
  • เริ่มส่งผลเสียต่อการงาน สังคม ครอบครัว และความสัมพันธ์

สิ่งหล่านี้จะเป็นจุดสังเกตสำคัญที่บอกว่า ต้องได้รับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญแล้วนะคะ

ตราบใดที่เรายังเป็นมนุษย์ เรายังคงมีอารมณ์ โรคของอารมณ์ก็เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตเราทุกคน รู้ตัวก่อน ดูแลอารมณ์ได้ก่อน ชีวิตเราก็จะกลับมามีความสุขได้ง่ายและเร็วขึ้นนะคะ

ทำอย่างไรเมื่อต้องอยู่กับคนคิดลบ?

-

ติดตามบทความใหม่ ๆ จาก หมอเอิ้น พิยะดา ได้ทุกวันพุธ บน LINE TODAY

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0