โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ต้นกำเนิดของเครื่องเขียนคู่ใจ - เพจฉันเรียนแฟชั่นที่มิลาน

TOP PICK TODAY

เผยแพร่ 14 มี.ค. 2563 เวลา 17.00 น. • เพจฉันเรียนแฟชั่นที่มิลาน

ทุกวันนี้ พอพูดถึงเครื่องเขียน เราก็นึกถึงดินสอ ปากกาได้ทันที แต่กว่าที่เครื่องเขียนเหล่านี้จะมาเป็นอย่างที่เราเห็นกันทั่วไปนั้น เคยสงสัยถึงต้นกำเนิดของพวกมันกันมั้ย ว่ามาจากไหนกันแน่ แล้วทำไมถึงกลายมาเป็นหน้าตาแบบนี้อย่างทุกวันนี้ ไปหาคำตอบในโพสต์นี้กัน

จากก้อนหินสู่ดินสอแท่งจริง ๆ แล้วดินสอที่ทุกคนใช้ขีดเขียน วาดรูปกันอยู่ทุกวันนี้ต้นกำเนิดของมันเริ่มขึ้นเมื่อ400 ปีที่แล้วในประเทศอังกฤษ ในขณะที่ผู้คนส่วนใหญ่นั้นยังคงใช้ขนนกจุ่มหมึกดำในการเขียนหนังสือ คนเลี้ยงแกะจากหมู่บ้านบอร์โรว์เดล ตำบลคัมเบอร์แลนด์ ได้พบเจอหินสีดำหรือ แร่แกรไฟต์  โดยบังเอิญในขณะที่ขนย้ายซากต้นไม้หลังจากเกิดพายุใหญ่ เขาเลยลองนำเอาหินนั้นมาขีดเขียน ปรากฏว่ามีความคมชัดดีมาก คนเลี้ยงแกะจึงนำมาเขียนสัญลักษณ์ลงบนตัวแกะของตนเอง หลังจากนั้นไม่นาน ก็มีคนนำหินชนิดนี้มาทำเป็นแท่ง และนำไปขายโดยโฆษณาว่าเป็น“หินสี” สามารถนำไปเขียนบนสิ่งใดก็เขียนได้ทั้งนั้น ต่อมาพระเจ้านโปเลียนที่1 ได้รับสั่งให้ นิโคลัส แจ๊ค ดังเต้ นักเคมีและนักประดิษฐ์แนวหน้าของฝรั่งเศสให้นำเอาแร่แกรไฟต์มาบดเป็นผงและผสมเข้ากับดินเหนียวในสัดส่วนต่าง ๆ และนำเข้าเตาเผา ออกมาเป็นดินสอแท่งหลากหลายเฉดที่ถูกพัฒนามาสู่รูปแบบที่ใช้กันอย่างแพร่หลายนั่นเอง

ปากกาที่เริ่มมาจากมนุษย์ถ้ำ

อีกหนึ่งเครื่องเขียนที่สำคัญมาก ๆ ก็คือปากกา แต่เชื่อไหมว่าปากกาไม่ว่าจะชนิดไหนก็ตามมันมีอิทธิพลมาจากยุคหินเลยนะ เพราะตามประวัติศาสตร์มนุษย์ได้เริ่มการขีดเขียนมาจากการเอานิ้วจุ่มดินหรือผงหินสีที่บดผสมกับยางไม้หรือของเหลวที่ได้จากหนังสัตว์ขีดเขียนบนผนังถ้ำ ต่อมาได้เริ่มมีการสร้างแปรงและพู่กันในช่วงอียิปต์โบราณยาวมาจนถึงปากกาต้นกกของชาวกรีกโบราณ แต่จุดเปลี่ยนของวิวัฒนาการปากกานั้นมันมาพีคในปี ค.ศ.1884 เพราะ ลูอิส เอ็ดสัน วอร์เตอร์แมน ได้คิดค้นปากกาหมึกซึมขึ้นมาและเป็นที่นิยมไปทั่วโลก ต่อมาในปี1900 ได้เกิดปากกาลูกลื่นขึ้นมาโดย จอห์น เอช. ลาวด์ ซึ่งเป็นคู่แข่งของปากกาหมึกซึมมาจวบจนปัจจุบันนี้

ความบังเอิญที่จุดประกายให้เกิดยางลบ

เวลาเด็กอาร์ตหรือศิลปินวาดรูปด้วยดินสอแล้ววาดผิดหรืองานเลอะคราบดินสอ เราอาจจะได้เห็นบางคนนั้นหยิบเอาขนมปังมาใช้ลบคราบดินสอเหล่านั้นออก แต่อย่าตกใจไปเพราะในสมัยก่อนที่จะมีก้อนยางลบมาให้ใช้กันเนี่ย ผู้คนต่างก็ใช้ขนมปังสีขาวที่เอามาปิ้งกินนั่นแหละมาลบคราบดินสอต่าง ๆ เป็นปกติ แต่ในปี1770 วิศวกรชาวอังกฤษชื่อว่า เอ็ดเวิร์ด แนร์น บังเอิญหยิบเอาก้อนยางมาลบรอยดินสอแทนขนมปัง ทำให้เขาค้นพบว่าเจ้าก้อนยางนั้นก็สามารถลบคราบดินสอได้คล้าย ๆ กับขนมปัง เลยมีการผลิตยางลบจากก้อนยางออกมาขายในราคา3 ชิลลิงต่อก้อน ซึ่งถือว่าแพงมากเลยทีเดียวและมันมักจะเน่าเสียและย่อยสลายก่อนจะใช้หมดก้อนเสียอีก แต่ในปี1839 ชาร์ลส์ กู้ดเยียร์ ได้ค้นพบการวัลคาไนเซชั่น(Vulcanisation)
ที่ช่วยรักษาสภาพยางไว้ได้นาน ยางลบชนิดนี้จึงเป็นที่นิยมจนถึงปัจจุบัน

น้ำยาลบคำผิดที่มีสาเหตุจากปัญหาเล็กเบ็ตต์ แคลร์ แมคเมอร์เรย์ เป็นเด็กสาวเจ้าอารมณ์และหัวทื่อที่หงุดหงิดกับปัญหากวนใจในที่ทำงานจนทำให้เธอสามารถคิดค้นไอเทมติดกระเป๋าดินสอทุกคนได้ เนื่องจากในช่วงสงครามโลกครั้งที่2 นั้นเธอทำอาชีพเป็นเลขาในสำนักงานทนายความที่หนึ่ง ซึ่งเธอต้องอยู่กับเครื่องพิมพ์ดีดที่คอยสร้างปัญหากวนใจเธอตลอดเวลาคือเวลาที่เธอพิมพ์คำผิดจะไม่สามารถลบตัวหมึกสีดำออกจากกระดาษไปได้ ทำให้งานดูไม่เรียบร้อยเอามาก ๆ ยิ่งไปกว่านั้นเครื่องพิมพ์ดีดรุ่นใหม่ที่เธอได้ใช้ต่อมา ถึงจะสามารถลบคำผิดได้จริงแต่มันจะทิ้งแถบสีดำใหญ่ ๆ ไว้บนเอกสาร เรียกได้ว่างานเละไปกันใหญ่เลยล่ะ วันหนึ่งขณะที่แมคเมอร์เรย์กำลังทำงานพิเศษเป็นช่างตกแต่งสถานที่รับเทศกาลคริสต์มาส เธอได้เห็นช่างทาสีกำลังใช้สีขาวทาทับตัวหนังสือที่เขียนผิดอยู่ จากนั้นแมคเมอร์เรย์ก็ได้พกขวดที่ใส่สีน้ำสีขาวและพู่กันไปที่ทำงานเพื่อใช้ลบคำผิดจนเพื่อนร่วมงานของเธอเกิดความสนใจและขอให้เธอทำน้ำยาให้บ้าง ในที่สุดแมคเมอร์เรย์ก็ไปขอคำปรึกษากับครูวิชาเคมีของลูกชายในการพัฒนาน้ำยาลบคำผิดและว่าจ้างคนผลิตสีในท้องถิ่นกับนักเคมีให้ช่วยผลิตตัวน้ำยาออกมาจนกลายเป็น ลิควิด เปเปอร์ที่เราใช้กันในปัจจุบัน

ถึงแม้ว่าในปัจจุบันนั้นเทคโนโลยีเครื่องปริ้นท์ สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ หรือแท็ปเล็ตที่เขียนได้ ได้ถูกพัฒนาออกมาจนแทบจะแทนที่เครื่องเขียนเหล่านี้ได้แต่ท้ายที่สุดแล้วทุก ๆ คนก็ยังต้องใช้ปากกา ดินสอต่าง ๆ ในการจดรายละเอียดเพิ่มเติมบนเอกสารอยู่ดี อย่างแพรเองก็ยังชอบวาดรูปด้วยดินสอ จดด้วยปากกาในสมุดนะ ส่วนตัวเพราะมันให้ความรู้สึกจับต้องได้มากกว่าในหน้าจอนี่นา ส่วนเพื่อน ๆ ทุกวันนี้ยังชอบใช้ปากกากันอยู่ หรือเปลี่ยนมาเขียนบนจอกันหมดแล้วคะ มาแชร์ความคิดเห็นกันได้นะ

อ้างอิง

https://www.silpa-mag.com/culture/article_19379

https://sites.google.com/site/chatiporntan/home/prawati-yanglb

https://portal.weloveshopping.com/blog/9829/who-think-clutch-type-pencil-first

https://craftnroll.net/craft-insight/pencil/

http://pencil2pens.com/2015/04/ประวัติของปากกา.html


ติดตามบทความใหม่ ๆ จากเพจฉันเรียนแฟชั่นที่มิลาน ได้ทุกวันอาทิตย์ที่ 1 และ 3 ของเดือน บน LINE TODAY และหากสามารถอ่านบทความอื่นได้ที่เพจฉันเรียนแฟชั่นที่มิลาน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0