โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ต่างชาติรักษาตัวในไทย ลงทะเบียนแล้วกว่า 1,700 คน โรงพยาบาลร่วม 62 แห่ง

The Bangkok Insight

อัพเดต 04 ก.ค. 2563 เวลา 11.56 น. • เผยแพร่ 04 ก.ค. 2563 เวลา 11.44 น. • The Bangkok Insight
ต่างชาติรักษาตัวในไทย ลงทะเบียนแล้วกว่า 1,700 คน โรงพยาบาลร่วม 62 แห่ง

ต่างชาติรักษาตัวในไทย ลงทะเบียนแล้ว 1,700 คน โรงพยาบาลเสนอตัวเข้าร่วม 62 แห่ง ศบค.  เผยร่างข้อปฏิบัติ สานเป้าไทยศูนย์กลางเมดิคัล ฮับ

นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) เปิดเผยว่า ร่างข้อปฏิบัติ Medical and Wellness Program หรือ การนำ ต่างชาติรักษาตัวในไทย ในระยะที่ 1 เริ่มเข้ามาได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563

ทั้งนี้ หากเป็นไปได้ด้วยดี การเปิดระยะที่ 2 จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม และระยะที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน ส่วนการอนุญาตให้ชาวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวได้ (Travel Bubble) ยังเป็นกรณีพิเศษเฉพาะในกลุ่มที่สามารถจัดการได้ หรือ Special Arrestment

สำหรับผู้ที่เข้ามารักษา ในรูปแบบ Medical and Wellness Program ทั้งที่โรงพยาบาลของรัฐหรือโรงพยาบาลเอกชนที่เป็นคู่สัญญา ต้องถูกกักตัวเพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่นำเชื้อออกไปแพร่กระจายในประเทศ

ปัจจุบัน มีโรงพยาบาลเอกชนที่สมัครเป็นสถานกักกัน โรงพยาบาลทางเลือก (Alternative Hospital Quarantine) แล้ว 57 แห่งที่เป็นทางการ ล่าสุดเพิ่มเป็น 62 แห่ง ต้องเดินทางโดยเครื่องบินเท่านั้น และต้องมีใบอนุญาต Certificate of Entry (COE) ที่ออกโดยสถานเอกอัครราชทูต ขณะนี้ผู้ลงทะเบียนแล้วกว่า 1,700 คน จาก 17 ประเทศ

ขณะที่ สาธารณสุขจะตรวจสอบทั้งจำนวนเตียง บุคลากร เพื่อไม่เกิดการแย่งใช้ทรัพยากรซึ่งกันและกัน โดยหวังว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการ Medical and Wellness Program ในช่วงที่ยังไม่อนุญาตชาวต่างชาติเข้ามาเที่ยวเมืองไทยในขณะนี้

ด้านคณะกรรมการอำนวยการ เพื่อพัฒนาประเทศไทย ให้เป็น ศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (นโยบาย Medical Hub) ได้เตรียมความพร้อม 3 ด้าน รับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ หากได้รับการผ่อนปรนหลังสถานการณ์โควิด 19 คลี่คลาย

ทั้งนี้ มติที่ประชุมได้พิจารณาและเห็นชอบในหลักการ 3 ด้าน ได้แก่ 1. จัดทำแนวทางการรักษาพยาบาลพร้อมเป็น สถานกักกันในโรงพยาบาล สำหรับผู้ป่วยชาวไทย และชาวต่างชาติ ที่ต้องการเข้ารับการ รักษาพยาบาล ต่อเนื่องในประเทศไทย ซึ่งรวมผู้ติดตาม โดยแบ่งเป็น สถานกักกันในโรงพยาบาล (Hospital Quarantine) กักกันตัวผู้ป่วยชาวไทย ที่เดินทางกลับเข้ามาในไทย และสถานกักกัน ในโรงพยาบาลทางเลือก (Alternative Hospital Quarantine)

สำหรับผู้ป่วยชาวต่างชาติและผู้ติดตาม ต้องมีการนัดหมายไว้ล่วงหน้า โดยรักษาและกักกันเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 14 วัน ต้องมีผลการตรวจโควิด 19 ก่อนเข้าประเทศไม่เกิน 72 ชั่วโมง เมื่อเข้ามา รักษาพยาบาล ต้องมีการตรวจอีก 3 ครั้ง (ก่อนรักษา ระหว่างรักษา และหลังการรักษา) เพื่อความปลอดภัยและเพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่นำเชื้อมาแพร่ระบาดในไทย

ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการรักษากรณี Hospital Quarantine หากเป็นคนไทยเป็นไปตามสิทธิการรักษา หากเกินสิทธิ์ต้องจ่ายเองโดยสมัครใจ กรณี Alternative Hospital Quarantine ผู้ป่วยต่างชาติและคนไทยที่สมัครใจต้องชำระค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด

2. เห็นชอบให้ ประเทศไทยเป็น "เมืองหลวงของโลกด้านการดูแลสุขภาพ" โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชาสัมพันธ์ตราสัญลักษณ์ Medical Hub ภายใต้แนวคิด “Healthcare Capital of the World” และกำหนดข้อความสำคัญในการสื่อสารว่า “Beyond Healthcare, Trust Thailand” เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการกลับเข้ามาใช้บริการ รักษาพยาบาล ในประเทศไทย

3. มาตรการพัฒนาชุดเครื่องมือแพทย์รองรับการระบาดของโรคโควิด 19 เพื่อรับมือและลดโอกาสติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์ และผู้เข้ารับการตรวจหาเชื้อวิด 19 โดยเน้นการผลิตในประเทศไทย แบ่งเป็น 4 กลุ่มคือ เครื่องมือแพทย์สำหรับการคัดกรองและตรวจสอบโรค เครื่องมือแพทย์สำหรับการป้องกันและควบคุมโรค เครื่องมือแพทย์สำหรับการคัดแยกและการฆ่าเชื้อ และเครื่องมือแพทย์สำหรับการบำบัดรักษาโรค โดยเน้นการผลิตในประเทศไทย

อ่านข่าวเพิ่มเติม

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0