โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ต่ออายุมาตรการช่วย SMEs ต่อลมหายใจระบบเศรษฐกิจการเงินไทย

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

อัพเดต 10 ก.ค. 2563 เวลา 09.23 น. • เผยแพร่ 10 ก.ค. 2563 เวลา 09.23 น.
SME
SME

            การระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อภาคธุรกิจ และครัวเรือน โดยผู้ที่ได้รับผลกระทบหนักเป็นลำดับต้น ๆ คือ ธุรกิจเอสเอ็มอี ซึ่งในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 กระทรวงการคลัง ธปท. และสถาบันการเงิน ได้ร่วมกันออกมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน โดยมุ่งเน้นไปที่ธุรกิจดังกล่าว ทั้งนี้ หนึ่งในมาตรการสำคัญ คือ การเลื่อนชำระหนี้ ซึ่งกำลังจะสิ้นสุดลงประมาณเดือนต.ค 2563 จึงเกิดคำถามขึ้นว่าปัจจุบันความช่วยเหลือยังจำเป็นต่อไปหรือไม่ 
             จากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ยังคงมีความไม่แน่นอนสูง ทำให้อาจมีความจำเป็นที่ทางการไทยคงต้องพิจารณาต่ออายุโครงการ หรือออกมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติม ซึ่งมีตัวอย่างโครงการในต่างประเทศที่น่าสนใจที่มีข้อดีและข้อด้อยต่างกัน อาทิ โครงการที่เน้นการรักษาตำแหน่งงานโดยตรง ซึ่งมีข้อดีตรงที่ช่วยให้ลูกจ้างมีรายได้เพียงพอต่อการยังชีพและช่วยยับยั้งการชะลอตัวของการบริโภคในประเทศ ลดปัญหาเชิงสังคมจากการถูกเลิกจ้าง แต่ก็มีข้อสังเกตสำคัญ คือ การออกแบบมาตรการเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการปฏิบัติตาม รวมถึงกลไกการตรวจสอบที่รัดกุม นอกจากนี้ ยังมีแนวทางการโอนขายหนี้ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ ซึ่งเคยนำมาใช้ในไทยหลังช่วงปี 2540 อันจะช่วยลดภาระต่อเงินกองทุนของสถาบันการเงิน เพียงแต่จะบรรเทาลงไปได้เพียงใดนั้น ขึ้นกับราคาขายและเงื่อนไขของสัญญาซื้อขายหนี้เช่นกัน
              ​นอกจากผลสัมฤทธิ์ของการออกมาตรการให้ความช่วยเหลือต่อธุรกิจเอสเอ็มอี ลูกจ้างของธุรกิจ และเศรษฐกิจในภาพรวมแล้ว ผลกระทบต่อสถาบันการเงินก็เป็นอีกโจทย์ที่ต้องคำนึงถึงเช่นกัน โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่าหากมีการต่ออายุมาตรการออกไป ระบบธนาคารพาณิชย์ไทยจะยังสามารถประคองอัตราส่วนกองทุนชั้นที่ 1 ต่อสินทรัพย์เสี่ยงไว้ที่ประมาณ 13-14% ซึ่งถือว่ายังอยู่ในระดับสูง แต่ทางการควรต้องพิจารณาแนวทางให้ความช่วยเหลือสถาบันการเงินควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้ทุกฝ่ายสามารก้าวผ่านระยะเวลาที่ยากลำบากนี้ไปได้ 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0