โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ตำราฝนหลวงพระราชทานของในหลวงรัชกาลที่ ๙ พระบิดาแห่งฝนหลวง

MThai.com

เผยแพร่ 14 พ.ย. 2562 เวลา 02.00 น.
ตำราฝนหลวงพระราชทานของในหลวงรัชกาลที่ ๙ พระบิดาแห่งฝนหลวง
ในวันที่ 14 พฤศจิกายน เป็นวันพระบิดาแห่งฝนหลวง โดยเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชากาลที่๙ มีพระราชดำริโครงการฝนหลวงขึ้น

ในวันที่ 14 พฤศจิกายน เป็นวันพระบิดาแห่งฝนหลวง โดยเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชากาลที่๙ มีพระราชดำริโครงการฝนหลวงขึ้น และทรงทุ่มเทพระวรกายในการคิดค้น วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการทำฝนหลวงจน ประสบความสำเร็จตามพระราชประสงค์ในการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยแล้งให้รอดพ้นวิกฤติ

ตำราฝนหลวงพระราชทาน

ของในหลวงรัชกาลที่ ๙
พระบิดาแห่งฝนหลวง

เพื่อแสดงความรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่หาที่สุดมิได้ คณะรัฐมนตรี จึงมีมติเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ในฐานะที่ทรงเป็น “พระบิดาแห่งฝนหลวง” และกำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวันพระบิดาแห่งฝนหลวง เพื่อจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ ของชาติไทย ให้ประชาชนทั้งในปัจจุบันและอนุชนรุ่นหลัง ได้มีโอกาสแสดงความจงรักภักดี ชื่นชมในพระบารมี และร่วมกันถวายสดุดีเฉลิมพระเกียรติติดต่อกันไปทุกปี

ภาพตำราฝนหลวงพระราชทาน

แถวบนสุด ของตำราฝนหลวงพระราชทาน

ช่องที่ 1. “นางมณีเมฆขลา”

  • เป็นเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ของสำนักงาน มณีเมฆขลาเป็นส่วนหนึ่งของสำนักงาน ฝล.
  • เป็นหัวหน้าสำนักงานอุตุนิยมวิทยา แห่งเขาไกรลาส หรือเขาพระสุเมรุ วิเทศะสันนิษฐานว่าอยู่ในทะเล

ช่องที่ 2. “พระอินทร์ทรงเกวียน”

  • พระอินทร์เป็นพระสักกะเทวราช เป็นราชาของเทวดา ที่ลงมาช่วยทำฝน

ช่องที่ 3. “21 มกราคม 2542”

  • เป็นวันที่ทรงประทับบนเครื่องบินพระที่นั่ง เสด็จไปประกอบพระราชกรณียกิจที่จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่าง เส้นทางพระราชดำเนินกลับ ทรงสังเกตเห็นกลุ่มเมฆปกคลุมพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างที่หน้าจะทำฝนได้ ทรงบันทึก ภาพเมฆเหล่านั้นพระราชทานลงมา และมีพระราชกระแสรับสั่งให้ส่งคณะปฏิบัติการฝนหลวงพิเศษออกไปปฏิบัติ การกู้ภัยแล้งในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา และภาคเหนือตอนล่าง โดยเร่งด่วน

ช่องที่ 4. “เครื่องบิน 3 เครื่อง”

  • เป็นตัวอย่างของเครื่องบินที่เหมาะสมกับการปฏิบัติการตามตำราฝนหลวงพระราชทานตามขั้นตอนที่ 1 – 6 ประกอบด้วย

  • 1) เครื่องบินเมฆเย็น (BEECHCRAFT KING AIR) (จำนวนที่เหมาะสม 1 เครื่อง)

    • 2) เครื่องบินเมฆอุ่น (CASA) (จำนวนที่เหมาะสม 2 เครื่อง)
    • 3) เครื่องบินเมฆอุ่น (CARAVAN) (จำนวนที่เหมาะสม 2 เครื่อง)

วิธีทำฝนหลวง

แถวที่ 1 ช่องที่ 1 – 3

เป็นขั้นตอนที่ 1 เป็นการเร่งให้เกิดเมฆโดยใช้เครื่องบินเมฆอุ่น 1 เครื่อง โปรยสารฝนหลวงผงเกลือโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ที่ระดับความสูง 7,000 ฟุต ในขณะที่ ท้องฟ้าโปร่งหรือมีเมฆเดิมก่อตัวอยู่บ้างความชื้นสัมพัทธ์ไม่ต่ำกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ ให้เป็นแกนกลั่นตัว (Cloud Condensation Nuclei) เรียกย่อว่า CCN ความชื้นหรือไอน้ำ จะถูกดูดซับเข้าไปเกาะรอบแกนเกลือแล้วรวมตัวกันเกิดเป็นเมฆ ซึ่งเมฆเหล่านี้จะพัฒนาเจริญ ขึ้นเป็นเมฆก้อนใหญ่ อาจก่อยอดถึงระดับ 10,000 ฟุต ได้

แถวที่ 2 ช่องที่ 1 – 4

เป็นขั้นตอนที่ 2 เป็นการเร่งการเจริญเติบโตของเมฆที่ก่อขึ้นหรือเมฆเดิมที่มีอยู่ตามธรรมชาติและก่อยอดขึ้นถึงระดับ 10,000ฟุต ฐานเมฆสูงไม่เกิน 7,000ฟุต ใช้เครื่องบินแบบเมฆอุ่นอีกหนึ่งเครื่อง โปรยสารฝนหลวงผงแคลเซียมคลอไรด์ (CaCl2) เข้าไปในกลุ่มเมฆที่ระดับ 8,000ฟุต (หรือสูงกว่าฐานเมฆ 1,000ฟุต)ทำให้เกิดความร้อน อันเนื่องมาจากการคายความร้อนแฝง จากการกลั่นตัวรอบ CCN รวมกับความร้อนที่เกิดจาก ปฏิกิริยาของไอน้ำกับสารฝนหลวง CaCl2 โดยตรงและพลังงานความร้อนจาก แสงอาทิตย์ตามธรรมชาติ จะเร่งหรือเสริมแรงยกตัวของมวลอากาศภายในเมฆยกตัวขึ้น เร่งกิจกรรมการกลั่นตัวของไอน้ำ และการรวมตัวกันของเม็ดน้ำภายในเมฆ ทวีความหนาแน่นจนขนาดของเมฆใหญ่และก่อยอดขึ้นถึงระดับ 15,000 ฟุต ได้เร็วกว่าที่จะปล่อยให้เจริญขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งยังเป็นส่วนของเมฆอุ่น จนถึงระดับนี้ การยกตัวขึ้นและจมลงของ มวลอากาศ การกลั่นและการรวมตัวของเม็ดน้ำยังคงเป็นอย่างต่อเนื่องแบบปฏิกิริยาลูกโซ่ แต่บางครั้งอาจมีแรงยกตัวเหลือพอที่ยอดเมฆอาจ พัฒนาขึ้นถึงระดับสูงกว่า 20,000 ฟุต ซึ่งเป็นส่วนของเมฆเย็น เริ่มตั้งแต่ระดับประมาณ 18,000 ฟุตขึ้นไป (อุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส)

แถวที่ 3 ช่องที่ 1 – 4

เป็นขั้นตอนที่ 3 เป็นการเร่งหรือบังคับให้เกิดฝน เมื่อเมฆอุ่นเจริญเติบโตขึ้นจนเริ่ม แก่ตัวจัด ฐานเมฆลดระดับต่ำลงประมาณ 1,000 ฟุต และเคลื่อนตัวใกล้ เข้าสู่พื้นที่เป้าหมาย ทำการบังคับให้ฝนตกโดยใช้เทคนิคการโจมตี แบบ Sandwich โดยใช้เครื่องบินเมฆอุ่น 2 เครื่อง เครื่องหนึ่งโปรยผงโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ทับยอดเมฆ หรือไหล่เมฆที่ระดับไม่เกิน 10,000 ฟุต ทำด้านเหนือลม อีกเครื่องหนึ่งโปรยผง ยูเรีย (Urea) ที่ระดับฐานเมฆด้านใต้ลม ให้แนวโปรยทั้งสองทำมุมเยื้องกัน 45 องศา เมฆจะทวีความหนาแน่นของเม็ดน้ำขนาด ใหญ่และปริมาณมากขึ้น ล่วงหล่นลงสู่ฐานเมฆทำให้ฐานเมฆหนาแน่นจนใกล้ตกเป็นฝน หรือเริ่มตกเป็นฝนแต่ยัง ไม่ถึงพื้นดิน หรือตกถึงพื้นดินแต่ปริมาณยังเบาบาง

แถวที่ 4 ช่องที่ 1 – 3

เป็นขั้นตอนที่ 4 เป็นการเสริมการโจมตีเพื่อเพิ่มปริมาณฝนให้สูงขึ้น เมื่อกลุ่มเมฆ ฝนตามขั้นตอนที่ 3 ยังไม่เคลื่อนตัวเข้าสู่เป้าหมาย ทำการเสริมการโจมตี เมฆอุ่นด้วยสารฝนหลวงสูตรเย็นจัดคือน้ำแข็งแห้ง (Dry Ice) ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำระดับ –78 องศาเซลเซียส ที่ใต้ฐานเมฆ 1,000 ฟุต จะทำให้อุณหภูมิของ มวลอากาศใต้ฐานเมฆ ลดต่ำลงและความชื้นสัมพัทธ์สูงขึ้นจะทำให้ฐานเมฆยิ่งลดระดับต่ำลงปริมาณฝนตกหนาแน่นยิ่งขึ้น และชักนำให้กลุ่มฝนเคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่เป้าหมายหวังผลได้แน่นอนและเร็วขึ้น

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0