โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ตายละหว่า! แอนตาร์กติกา “ขั้วโลกใต้” กำลังจะกลายเป็นสีเขียวเพราะสาหร่าย เมื่อโลกร้อนและน้ำแข็งละลายไปเกือบหมดแล้ว

Beartai.com

อัพเดต 24 พ.ค. 2563 เวลา 13.05 น. • เผยแพร่ 24 พ.ค. 2563 เวลา 08.15 น.
ตายละหว่า! แอนตาร์กติกา “ขั้วโลกใต้” กำลังจะกลายเป็นสีเขียวเพราะสาหร่าย เมื่อโลกร้อนและน้ำแข็งละลายไปเกือบหมดแล้ว
ตายละหว่า! แอนตาร์กติกา “ขั้วโลกใต้” กำลังจะกลายเป็นสีเขียวเพราะสาหร่าย เมื่อโลกร้อนและน้ำแข็งละลายไปเกือบหมดแล้ว

มีรายงานล่าสุดของนักวิทยาศาสตร์เปิดเผยว่า คาบสมุทรแอนตาร์กติกที่เผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นอย่างรวดเร็วมากในช่วงปลายศตวรรษที่ 21 ที่ผ่านมา ปรากฎผลร้ายให้เห็นเด่นชัดบริเวณขั้วโลกใต้ นั่นคือ การเพิ่มจำนวนขึ้นของสาหร่ายขนาดเล็กที่กำลังเติบโต ขยายพื้นที่บนพื้นผิวของหิมะที่ละลายหายไป ทำให้พื้นที่ที่เคยปกคลุมด้วยหิมะสีขาวกลายเป็นสีเขียว และจะกลายเป็นแหล่งอาหารให้แก่สัตว์บางสายพันธุ์ต่อไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ย่อมส่งผลกระทบในทางที่ไม่ดีเท่าไรนักกับระบบนิเวศของบริเวณนั้น

ทีมนักวิทยาศาสตร์สำรวจและวิจัยการเพิ่มขึ้นของพื้นที่สาหร่ายสีเขียวในพื้นที่ที่เคยเป็นหิมะ (ภาพจาก BBC)
ทีมนักวิทยาศาสตร์สำรวจและวิจัยการเพิ่มขึ้นของพื้นที่สาหร่ายสีเขียวในพื้นที่ที่เคยเป็นหิมะ (ภาพจาก BBC)
จากสีขาวกลายเป็นสีเขียว ดรรชนีชี้วัดวิกฤตอีกอย่างหนึ่งปัญหาโลกร้อนในปัจจุบัน (ภาพจาก BBC)
จากสีขาวกลายเป็นสีเขียว ดรรชนีชี้วัดวิกฤตอีกอย่างหนึ่งปัญหาโลกร้อนในปัจจุบัน (ภาพจาก BBC)

ทีมนักวิจัยของประเทศอังกฤษที่อยู่เบื้องหลังผลงานวิจัยชิ้นนี้ได้เปิดเผยผ่านวารสาร Nature Communication เล่าว่า อุณหภูมิที่สูงกว่า 0 องศาเซลเซียสซึ่งร้อนมากพอจะทำให้น้ำแข็งละลายนั้น ทำให้พื้นที่ดังกล่าวเหมาะแก่การเจริญเติบโตของสาหร่าย ในบางพื้นที่สาหร่ายพวกนี้มีความหนาแน่นมากจนทำให้หิมะกลายเป็นสีเขียวสว่างและสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนจากการสำรวจโดยภาพถ่ายจากอวกาศราว ๆ 1,700 จุดบริเวณแอนตาร์กติก จากการสำรวจในปัจจุบันพื้นที่ของสาหร่ายสีเขียวที่สำรวจพบ กินพื้นที่ไปแล้วกว่า 1.9 ตารางกิโลเมตร โดยนักวิทยาศาสตร์ค้นพบสาหร่ายสีเขียวครั้งแรกในพื้นที่แถบนี้ตั้งแต่ยุค 1950s-1960s ตอนที่ปริมาณยังไม่เยอะมาก

ภาพจำลองการสำรวจสาหร่ายสีเขียวจากอวกาศ (ภาพจาก BBC)
ภาพจำลองการสำรวจสาหร่ายสีเขียวจากอวกาศ (ภาพจาก BBC)

สาหร่ายถูกสำรวจพบเป็นพื้นที่เล็ก ๆ และพบในเกาะที่เป็นพื้นที่ราบรอบ ๆ คาบสมุทรแอนตาร์กติก โดยเกือบสองในสามของสาหร่ายเป็นสีเขียว พบได้ในบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากความร้อนค่อนข้างหนักหน่วง นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ยังได้สังเกตการปรากฎขึ้นของตระไคร่น้ำและมอสบ้าง แต่พวกนี้จะมีการเจริญเติบโตที่ช้ากว่ามากเมื่อเทียบกับสาหร่ายสีเขียว ในอนาคตนักวิทยาศาสตร์วางแผนที่จะวัดสาหร่ายสีแดงและสีส้ม รวมถึงคาดการณ์ผลกระทบของสาหร่ายจำพวกสีสันอกเหนือจากสีเขียวที่เกิดขึ้นว่า จะสามารถสะท้อนความร้อนจากดวงอาทิตย์ได้หรือไม่

See why I've been hiding on a computer for the last year or so by reading this: https://t.co/KCJGIv7bcn @plantsci @scienceisnotfun @NERC_FSF @NCEOscience @NERCscience @BAS_News Services and Facilities. Also about snow algae in Antarctica, where it is and why. pic.twitter.com/Ge6KbTWEzt

— Andrew Gray (@monas_nivalis) May 20, 2020

ในรายงานข่าวยังบอกอีกว่า Matt Davey นักชีววิทยาจากมหาวิทยาลัย Cambridge ได้ใช้เวลาทั้งหมด 6 ปี ในการรวบรวมข้อมูล ลงพื้นที่สำรวจและวัดพื้นที่ของสาหร่ายหิมะสีเขียว โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียมและการสังเกตการณ์จากภาคพื้นดิน เขาพบว่า อีกไม่นานทวีปแอนตาร์กติกาจะปลกคลุมด้วยสีเขียวมากขึ้นไปอีก ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมที่ไม่เคยปรากฎขึ้นมาก่อนในช่วงที่มนุษย์เกิดขึ้นและดำรงอยู่บนโลก“สาหร่ายเหล่านี้เกิดขึ้นมาร่วมกับเชื้อราและแบคทีเรีย ซึ่งอาจจะกลายเป็นที่อยู่อาศัยแห่งใหม่ของสิ่งมีชีวิต 3 ชนิดนี้ รวมถึงสามารถเป็นจุดเริ่มต้นของระบบนิเวศแบบใหม่อีกด้วยครับ”

We have created the first ever large-scale map of microscopic algae as they bloomed across the surface of snow along Antarctic Peninsula. Results indicate this ‘green snow’ is likely to spread as global temperatures increase. Published in @NatureComms https://t.co/Y0no54Kvwc

— Matt Davey (@scienceisnotfun) May 20, 2020

The snow around the #Antarctica coastline is turning green – and it's visible from space!
Researchers combined European Space Agency @esa satellite images with their own measurements on the icy continent to find out what's going on.#SustainableEarth pic.twitter.com/8Fixcajvka

— Cambridge University (@Cambridge_Uni) May 21, 2020

ซึ่งเมื่อมองย้อนกลับมาว่า ปริมาณของคาร์บอนที่เกิดจากภาวะโลกร้อนจำนวนมากแค่ไหนที่ทำให้เกิดปรากฎการณ์นี้ได้ นักวิทยาศาสตร์ก็บอกว่า ต้องใช้มากถึง 479 ตันต่อปี และเทียบเท่ากับปริมาณการปล่อยคาร์บอนจากการเดินทางด้วยรถยนต์ประมาณ 875,000 คัน ซึ่งก็หมายความว่า ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มากขนาดนั้นและมากพอจะทำให้เกิดภาวะดังกล่าว ได้เกิดขึ้นแล้วในตอนนี้เลย (และจะมากขึ้นไปอีกแน่นอน ถ้ามนุษย์ยังไม่หยุดพฤติกรรมเพิ่มก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ)

ภาพจาก Nature และ The Guardian
ภาพจาก Nature และ The Guardian

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส

ตายละหว่า! แอนตาร์กติกา “ขั้วโลกใต้” กำลังจะกลายเป็นสีเขียวเพราะสาหร่าย เมื่อโลกร้อนและน้ำแข็งละลายไปเกือบหมดแล้ว
0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0