โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ตามไปดู ความเชื่อผิดๆ ที่คนชอบคิดว่า เป็นสาเหตุของ 'มะเร็งเต้านม'

กรุงเทพธุรกิจ

เผยแพร่ 20 ต.ค. 2562 เวลา 07.55 น.

เดือนตุลาคมของทุกปี เป็นเดือนที่ประเทศไทยและทั่วโลกร่วมกันรณรงค์ต่อต้านมะเร็งเต้านม ซึ่งถือเป็นโรคร้ายที่มีอุบัติการณ์สูงเป็นอันดับหนึ่งสำหรับเพศหญิงต่อเนื่องมานานหลายปี ในโอกาสนี้ มะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย ได้เห็นความสำคัญของโรคมะเร็งเต้านม จึงต่อยอดจัดงานPink Alertเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านมให้แก่ประชาชนทั่วไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปีนี้ ได้จัดงานภายใต้ชื่อPink Alert 2019:รู้ไว หายทันโดยเน้นการให้ความรู้ถึงเทคโนโลยีการแพทย์ยุคใหม่ ที่มอบตัวเลือกการรักษาให้ผู้ป่วยมีโอกาสหายขาดได้มากขึ้น พร้อมแก้ไขความเข้าใจผิด ๆ ของโรคมะเร็งเต้านม เพื่อสร้างความตื่นตัวในการตรวจคัดกรองให้แก่ผู้หญิงไทยทุกคน

โรคมะเร็งเต้านม ถือเป็นโรคมะเร็งที่ผู้หญิงไทยตรวจพบเป็นอันดับหนึ่ง และมีแนวโน้มที่จำนวนผู้ป่วยจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกปี ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยมะเร็งเต้านมทั่วโลก โดยเมื่อปี2561มีการคาดการณ์จำนวนผู้ป่วยใหม่ของโรคมะเร็งเต้านมถึงสองล้านรายทั่วโลกถือเป็นหนึ่งในสองโรคมะเร็ง (มะเร็งเต้านม และมะเร็งปอด) ที่คาดการณ์ว่าจะมีผู้ป่วยใหม่มากที่สุดในโลก

จากรายการศึกษาของสมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา(American Cancer Society)ในปี2560เผยว่า จำนวนของผู้หญิงที่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเต้านมลดลงถึง40เปอร์เซ็นต์ทั่วโลก ในช่วง25ปีที่ผ่านมา ซึ่งหมายความว่ามีผู้หญิงประมาณ322,000คนที่ได้รับการรักษาจนสามารถรอดชีวิต จากการที่มีเทคโนโลยีการแพทย์ที่มีความก้าวหน้า ประกอบกับการรณรงค์ให้ผู้หญิงมีการตรวจคัดกรองด้วยตัวเองอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเมื่อผู้ป่วยสามารถตรวจสัญญาณของโรคมะเร็งเต้านมได้เร็วเท่าใด ก็จะยิ่งมีโอกาสหายขาดได้สูงขึ้นเท่านั้น

ผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิงเอื้อมแข สุขประเสริฐกรรมการมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทยและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า

"เราพบเคสโรคมะเร็งเต้านมใหม่ ประมาณ30รายต่อวัน และมีผู้เสียชีวิตโดยเฉลี่ย10คนต่อวัน โดยมีสัดส่วนของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในไทยอยู่ที่30คนต่อประชากร100,000คน ซึ่งในจำนวนนี้ หากมีการตรวจเจอในระยะเริ่มต้น เช่น ระยะ0ซึ่งเป็นระยะก่อนมะเร็ง จะมีโอกาสในการรักษาให้หายขาดสูงถึง95-100เปอร์เซ็นต์ หากเจอในระยะที่หนึ่ง ซึ่งยังไม่มีการลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลือง โอกาสหายจะเหลือ90เปอร์เซ็นต์ ระยะที่ 2 จะอยู่ที่70-80เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่หากตรวจเจอในระยะที่ 3 ที่มีการลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลือง จะมีโอกาสหายขาดที่60-70เปอร์เซ็นต์

- ผศ.พญ.เอื้อมแข สุขประเสริฐ -

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0