โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ตัวเลขไม่เข้าเป้า! 'กอบศักดิ์' เรียกหน่วยงานจัดเก็บภาษี หารือ 25 ก.ย.

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ - Economics

เผยแพร่ 21 ก.ย 2561 เวลา 05.35 น.

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวระหว่างงานสัมนารับฟังความคิดเห็นเรื่องข้อเสนอปรับปรุงและแก้ไขประมวลรัษฎากร จัดโดยคณะกรรมการดำเนินการปฏิรูปกฎหมายในระยะเร่งด่วนวานนี้ (21 ก.ย.) ว่าในวันอังคารที่ 25 ก.ย.ตนได้นัดหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีอากร และหน่วยงานที่มีบทบาทในการสนับสนุนการพัฒนาของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อย (เอสเอ็มอี) ได้แก่ หน่วยงานต่างๆ เช่นกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) มาประชุมร่วมกันที่ทำเนียบรัฐบาลเพื่อหามาตรการจูงใจให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลและเข้าสู่ระบบภาษีมากขึ้น

นายกอบศักดิ์กล่าวว่าปัจจุบันทั่วประเทศมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกว่า 3 ล้านราย แต่มีผู้ประกอบการที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเพียง 7 - 8 แสนรายเท่านั้น และพบว่าส่วนใหญ่ยังมีการทำระบบบัญชีที่ไม่ถูกต้องตามมาตรฐานหรือมีการทำบัญชีธุรกิจมากกว่า 1 บัญชีเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษี ดังนั้นจะต้องมีมาตรการจูงใจให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้ามาจดทะเบียนอย่างถูกต้องโดยมีหลักการว่าภาษีนิติบุคคลที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเสียให้กับภาครัฐจะมีผลตอบแทนจากการเสียภาษีให้ในรูปแบบต่างๆเป็นสิทธิประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนภาษีที่เสียจากผลกำไรในการทำธุรกิจ

ทั้งนี้มาตรการที่กำหนดไว้คร่าวๆ เช่น ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่เข้าระบบและเสียภาษีถูกต้องก็จะได้การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐเป็นลำดับแรก เช่น การเพิ่มวงเงินค้ำประกันในส่วนของ บสย. การได้สิทธิ์ในการคืนเงินภาษีที่รวดเร็ว ส่วนเอสเอ็มอีที่มีผลกำไรเพิ่มและเสียภาษีเพิ่มขึ้นในปีต่อๆไปก็จะได้รับการสนับสนุนให้เข้าอบรมในโครงการเพิ่มศักยภาพ เช่น การอบรมกับผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จเกี่ยวกับเคล็ดลับธุรกิจ รวมทั้งจะได้สิทธิ์ร่วมโครงการกับ สสว.ในการไปเปิดตลาดและจับคู่ธุรกิจในต่างประเทศ เป็นต้น ซึ่งจะมีแพคเกจสนับสนุนที่ชัดเจนออกมาภายใน 2 เดือนข้างหน้านี้

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0