โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ตะลึงกันทั่วหน้า! หลังตรวจพบการปนเปื้อนยาปฏิชีวนะในแม่น้ำกว่า 711 สายทั่วโลก

Horrorism

อัพเดต 10 มี.ค. 2563 เวลา 00.00 น. • เผยแพร่ 10 มี.ค. 2563 เวลา 07.40 น. • Horrorism

 

ที่มาของภาพ : pixabay

 

       ถ้าใครหลาย ๆ คนที่เคยมีโอกาสสัญจรไปไหนมาไหนโดยการใช้เรือขนส่ง หรือแม้กระทั่งต้องผ่านไปบริเวณแหล่งน้ำหรือแม่น้ำสายต่าง ๆ ของไทย ไม่ว่าจะเป็นคลองแสนแสบหรือแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อว่าหลายคนก็คงคิดเหมือนกันว่าน้ำที่ดำคล้ำนั้นดูแล้วก็ช่างน่าเสียดาย เพราะหลาย ๆ คนก็คงจะอดคิดย้อนไปถึงเมื่อวันวานไม่ได้ว่าแม่น้ำที่เคยงดงามเหล่านี้ ทำไมถึงได้กลับกลายมาเป็นแม่น้ำที่ไม่น่าอภิรมย์เช่นนั้น

 

ที่มาของภาพ : home

 

       และที่น่าตกใจคือ ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีกระแสเรียกร้องให้มีการบำบัดน้ำเสียกันอย่างจริงจัง รวมทั้งมีโครงการรณรงค์หรือมาตรการควบคุมมลพิษต่าง ๆ นานา หากแต่ผลวิจัยจาก University of York กลับเปิดเผยเรื่องราวที่น่าตกใจและเรียกได้ว่าแสดงให้เห็นได้ชัดถึงปัญหามลภาวะทางน้ำในระดับโลกเลยทีเดียว

 

University of York ประเทศอังกฤษ

ที่มาของภาพ : i1.wp

 

       University of York ตั้งอยู่ในเมืองยอร์คที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน และยังเป็น 1 ใน 24 สมาชิกของกลุ่มรัสเซลซึ่งเป็นกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาระดับโลกที่มุ่งเน้นไปที่การทำงานวิจัยแบบเข้มข้น ซึ่งงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยในกลุ่มนี้จัดได้ว่าเป็นงานวิจัยที่สร้างคุณค่าอย่างสูงของสหราชอาณาจักรและยังเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะอย่างมาก

       รายงานจากการประชุมนักพิษวิทยาด้านสิ่งแวดล้อมที่กรุงเฮลซิงกิของฟินแลนด์ เมื่อวันที่ 27 พ.ค. ที่ผ่านมานั้น ผลงานวิจัยของ University of York ซึ่งได้ทำการวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำในแม่น้ำหลายสายกว่า 72 ประเทศ พบว่า 65% มีการปนเปื้อนยาปฏิชีวนะ โดยเฉพาะแม่น้ำในเอเชียและแอฟริกา ซึ่งพบยาปฏิชีวนะปนเปื้อนในระดับที่เป็นอันตรายกว่าปกติหลายเท่า

 

ที่มาของภาพ : pixabay

 

       งานวิจัยชิ้นนี้ได้ทำการวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำจากแหล่งต่าง ๆ ซึ่งเก็บจากแม่น้ำสายสำคัญทั่วโลกรวม 711 แห่ง และหนึ่งในนั้นก็คือแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำโขง ด้วยเช่นกัน โดยยาปฏิชีวนะที่ตรวจหาเป็นยาฆ่าเชื้อที่ใช้กันอย่างแพร่หลายรวม 14 ชนิด ซึ่งยาปฏิชีวนะในแต่ละชนิดนั้นจะมีอัตราปนเปื้อนแตกต่างกันไปตามชนิดของยานั้น ๆ

 

 

       ในแหล่งน้ำของบังกลาเทศ เคนยา กานา ปากีสถาน และไนจีเรีย คือบริเวณที่พบการปนเปื้อนร้ายแรงที่สุด โดยมีการตรวจพบยาเมโทรนิดาโซล ซึ่งใช้สำหรับรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังและปาก เกินระดับความปลอดภัยถึง 300 เท่า นอกจากนี้ยังพบยาไตรเมโทพริม ซึ่งใช้สำหรับฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทางเดินปัสสาวะปนเปื้อนมากถึง 43%

       จากการวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยานั้นพบว่า มีสารตกค้างหลายชนิดที่ปนเปื้อนอยู่กับน้ำ แต่ที่พบมากที่สุดก็คือ ยาต้านจุลชีพ ยาต้านแบคทีเรีย และเชื้อดื้อยา ซึ่งสถานที่ที่มีความเสี่ยงของการปนเปื้อนยาปฏิชีวนะสูง มักจะอยู่ใกล้กับโรงงานบำบัดน้ำเสีย หรือสถานที่ที่มีขยะมาก

 

ที่มาของภาพ : pixabay

 

        ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวนอกจากจะเป็นไปเพื่อแสดงให้เห็นถึงปัญหาการปนเปื้อนของแหล่งน้ำ ตลอดจนปัญหาในเรื่องของการบำบัดน้ำเสียที่ควรจะมีมาตรการให้รัดกุมและเดินหน้ากันอย่างจริงจังในเรื่องนี้แล้ว ยังสามารถสะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะมากจนเกินไป และเมื่อยาปฏิชีวนะเหล่านั้นถูกปล่อยลงไปตามธรรมชาติหรือแหล่งน้ำต่าง ๆ ไม่ว่าจะจากการขับถ่ายของเสียหรือการระบายของเสียลงสู่แหล่งน้ำก็ตาม นั่นเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เชื้อแบคทีเรียของเชื้อโรคต่าง ๆ เกิดการกลายพันธุ์และเกิดการดื้อยา ซึ่งผู้เขียนรายงานของสหประชาชาติคาดการณ์ว่าจะมีผู้ติดเชื้อจำนวน 10 ล้านคนที่อาจจะเสียชีวิตจากโรคดื้อยาในปี ค.ศ. 2030 และแน่นอนว่าอาจจะส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติด้วย

 

ข่าวจาก THAI PBS

 

ข้อมูลอ้างอิงและภาพประกอบ : ตะลึงกันทั่วหน้า! หลังตรวจพบการปนเปื้อนยาปฏิชีวนะในแม่น้ำกว่า 711 สายทั่วโลก

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0