โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของรางวัลโนเบล ยังไม่เคยมีนักวิทยาศาสตร์ผิวสีได้รับรางวัล...

Thaiware

อัพเดต 16 ต.ค. 2561 เวลา 08.00 น. • เผยแพร่ 16 ต.ค. 2561 เวลา 08.00 น. • เคนชิน
ตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของรางวัลโนเบล ยังไม่เคยมีนักวิทยาศาสตร์ผิวสีได้รับรางวัล...
ตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 100 ปีของการมอบรางวัลโนเบล ยังไม่มีนักวิทยาศาสตร์ผิวสีแม้แต่คนเดียวที่ได้รางวัล

คุณ Mary Jackson หญิงอัจฉริยะที่เป็นคนผิวสี เธอทำงานให้กับองค์กร NASA (1958 -1985) ในตำแหน่งนักคณิตศาสตร์ และวิศวกรอากาศยาน

ขอบคุณภาพประกอบจาก Wikipedia

เป็นข่าวที่น่ายินดีในวงการวิทยาศาสตร์เมื่อการประกาศรางวัลในปีนี้ มีนักวิทยาศาสตร์หญิงถึง 2 คนที่ได้รับรางวัลโนเบลในสาขาฟิสิกส์ และเคมี โดยคุณ Donna Strickland และ Frances Arnold เป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้หญิงคนที่ 20 และ 21 ที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้

และตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 100 ปีของการมอบรางวัลโนเบล ยังไม่เคยมีนักวิทยาศาสตร์ผิวสีแม้แต่เพียงคนเดียวที่ได้รับรางวัล…

และในเดือนตุลาคมของทุกๆ ปี อันเป็นช่วงเวลาของการประกาศรางวัลโนเบล นั้นเปรียบเหมือนช่วงเวลาอันน่ามืดหม่นของนักวิทยาศาสตร์ผิวสี มันย้ำเตือนว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มีผู้ได้รับรางวัลโนเบลรวมทั้งสิ้นเกิน 900 คน และมีคนผิวสีเพียง 14 คน (คิดเป็น 1.4%) เท่านั้นที่ได้รับรางวัล โดยไม่ได้เป็นรางวัลโนเบลในสาขาววิทยาศาสตร์ และมีคนผิวสี 10 คนที่ได้รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ และอีก 3 คนได้รับรางวัลในสาขาวรรณกรรม และมีนักวิทยาศาสตร์ผิวสีคนหนึ่ง ที่ใกล้เคียงกับการได้รับรางวัลมากที่สุดคือคุณ William Arthur Lewis ที่เป็นนักวิทยาศาสตร์สังคม ได้รับรางวัลสาขาสาขาเศรษฐศาสตร์ ในปี 1973

ตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของรางวัลโนเบล ยังไม่เคยมีนักวิทยาศาสตร์ผิวสีได้รับรางวัล…
ตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของรางวัลโนเบล ยังไม่เคยมีนักวิทยาศาสตร์ผิวสีได้รับรางวัล…

คุณ William Arthur Lewis นักวิทยาศาสตร์สังคม ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสาขาเศรษฐศาสตร์ ในปี 1973

และดูเหมือนว่ารางวัลโนเบลจะเปิดโอกาสให้คนเอเชียมากกว่า เพราะมาชาวเอเชียได้รับรางวัลกว่า 70 คน โดยมีเป็นจำนวนมากที่ได้รับรางวัลในสาขาวิทยาศาสตร์ และในช่วงหลังปี 2000 จำนวนรางวัลที่มอบให้ชาวเอเชียก็มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นผลมาจากการเข้ามามีส่วนร่วมของมหาวิทยาลัยจากชาติระดับแนวหน้าในภูมิภาคนี้อย่าง ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ รวมถึงความสำเร็จของสถาบันการศึกษาที่มีความร่วมมือระหว่างเอเชียและสหรัฐอเมริกา

และการที่ได้ทำงานอยู่ในสถาบันที่มีชื่อเสียง และมีเครื่องไม้เครื่องมือราคาแพงให้ใช้งานครบครัน นั้นก็เปิดโอกาสไปสู่การสร้างผลงานที่จะได้รับรางวัลโนเบล และเหตุผลง่ายๆ ของการที่ยังไม่มีคนผิวสีได้รับรางวัลโนเบล นั้นน่าจะมาจากมีคนผิวสีรุ่นหนุ่มสาวเพียงจำนวนน้อยที่สนใจในงานอาชีพด้านวิทยาศาสตร์

นอกจากข้อจำกัดเรื่องการเข้าถึงการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของคนผิวสีในทวีปแอฟริกาแล้ว คนผิวสีในประเทศโลกตะวันตกนั้นก็เลือกเรียนในสายวิทยาศาสตร์เพียงจำนวนน้อย ทำให้มีนักวิทยาศาสตร์ผิวสีในจำนวนน้อยมากที่มีความก้าวหน้าในสายอาชีพนี้ และการที่จะมีสิทธิได้รับรางวัลโนเบล ก็จะต้องผ่านงานวิจัยมาเป็นจำนวนมาก หรือไม่ก็ต้องเป็นศาสตราจารย์ในสถาบันชั้นนำ

และเมื่อคนผิวสีสำเร็จการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ มันก็เป็นบันไดก้าวแรกที่ทำให้เขาต้องเผชิญกับความท้าทายเช่นเดียวกับนักวิชาการผิวสีในสายงานอื่นๆ ที่มักจะไม่ค่อยได้รับการส่งเสริมหรือไม่ค่อยจะได้เข้าถึงทรัพยากรที่ใช้ในการทำงานวิจัย ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ นักวิทยาศาสตร์ผิวสีในสหรัฐอเมริกา มักจะไม่ค่อยได้งบการวิจัยทางด้านสุขภาพ

และคนที่จะได้เป็นศาสตราจารย์ ต้องมีการสนับสนุนจากสถาบันหรือหน่วยงานที่สังกัด ทั้งยังต้องมีศาสตราจารย์อีกอย่างน้อย 4 คนจากสถาบันอื่นที่ให้การรับรองว่าเราก็เป็นผู้นำในสายงานนั้นๆ และเรายังต้องได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติอีกด้วย ทำให้เป็นเรื่องสำคัญทีเดียว ที่จะต้องสร้างเครือข่ายขนาดใหญ่เพื่อที่จะได้เป็นที่ยอมรับในหมู่นักวิทยาศาสตร์

และด้วยเหตุผลหลายๆ อย่างทำให้ไม่มีนักวิชาการผิวสีที่ทำงานในสถาบันต่างๆ ในจำนวนที่มากพอที่จะสร้างเครือข่ายที่แข็งแกร่ง ทำให้มีโอกาสน้อยเหลือเกินที่คนผิวสีจะได้รับการโปรโมทให้เป็นศาสตราจารย์

และสิ่งที่น่าสนใจคือ มีงานวิจัยที่ชี้ว่า การที่มีผู้หญิงได้รับรางวัลโนเบลในสาขาที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ นั้นเป็นแรงกระตุ้นให้ผู้หญิงหันมาสนใจในอาชีพการเป็นนักวิทยาศาสตร์มากขึ้น และในมุมของคนผิวสี ถ้ามีนักวิทยาศาสตร์ผิวสีได้รับรางวัลบ้าง ก็น่าจะเป็นแรงกระตุ่นที่ดีที่วัยรุ่นผิวสี จะสนใจในการเรียนวิทยาศาสตร์มากขึ้นเช่นกัน

และการที่โลกจะมีนักวิทยาศาสตร์ผิวสีมากขึ้น ไม่ได้แสดงให้เห็นเพียงชัยชนะของความเท่าเทียม แต่การที่ทำให้คนสนใจเล่าเรียนในสายวิทยาศาสตร์มากขึ้น ก็ยังเป็นผลประโยชน์ในวงกว้างกับสังคม ตัวอย่างเช่น โรคบางอย่าง อาทิ โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคมะเร็งบางรูปแบบนั้นมีโอกาสเกิดกับคนผิวสี หรือคนแอฟริกัน ได้สูงกว่าชนชาติอื่น แต่ผลงานการวิจัยโรคโดยส่วนมากนั้นเน้นทำกับคนผิวขาว และการที่จะมีนักวิทยาศาสตร์ผิวสีมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ในระดับผู้นำ ก็น่าจะเปลี่ยนแปลงมุมมองเกี่ยวกับงานวิจัยทางด้านสุขภาพ โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยที่เป็นคนผิวสีมากขึ้น

ทำให้งานวิจัยนั้นได้รับใช้มวลมนุษยชาติอย่างแท้จริง โดยไม่มีกรอบจำกัดเรื่องความแตกต่างของสีผิวเข้ามาทำให้คุณค่าของงานวิจัยลดลง และเราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า อัจฉริยะของโลกหลายๆ คนก็เป็นคนผิวสี และมันคงไม่แปลกอะไรถ้าคนผิวสีจะได้รับรางวัลโนเบลในสาขาวิทยาศาสตร์ หากเขาได้รับการสนับสนุนที่ดี

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0