โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ตรวจสอบสิทธิ์เงินเยียวยาเกษตรกร ธ.ก.ส. โอนเงิน 5,000 ต่อเนื่อง ไม่เว้นวันหยุด

ไทยรัฐออนไลน์ - Economics

อัพเดต 29 พ.ค. 2563 เวลา 13.31 น. • เผยแพร่ 29 พ.ค. 2563 เวลา 23.30 น.
ภาพไฮไลต์
ภาพไฮไลต์

อย่าลืมเช็กสิทธิ์ "เยียวยาเกษตรกร" เช้านี้หลายคนได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาทแล้ว เนื่องจากธนาคาร ธ.ก.ส. โอนเงินทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ

จากกรณี โครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจาก "โควิด-19" รายละ 5,000 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือน พ.ค.-ก.ค. 2563 รวมวงเงินของโครงการ 150,000 ล้านบาท โดยเริ่มทยอยโอนเงินผ่าน ธ.ก.ส.ทุกสาขากว่า 1,200 สาขาทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค. 2563 ที่ผ่านมา วันละประมาณ 1 ล้านราย 

ทางด้าน นายกษาปณ์ เงินรวง รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่าถึงข้อมูล เกษตรกรกลุ่มที่ 1 รอบที่ 2 ที่ ธ.ก.ส. ได้รับจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เป็นจํานวน 3,519,434 ราย หลังจากตรวจสอบความซ้ำซ้อนและคัดกรองสถานะผู้เสียชีวิตแล้ว เหลือผู้มีสิทธิ์จํานวน 3,410,314 ราย โดยดำเนินการจ่ายเงินเยียวยาถึงวันที่ 29 พ.ค. 2563

สำหรับเกษตรกรที่ผ่านเกณฑ์แล้ว และส่งรายชื่อมายัง ธ.ก.ส. แล้วพบว่าไม่สามารถโอนเงินได้ เนื่องจากไม่พบบัญชีเงินฝาก ล่าสุดจำนวนเหลือ 256,000 ราย จากก่อนหน้านี้ 400,000 ราย อยากให้เกษตรกรแจ้งบัญชีเงินฝากกรณีที่เป็นบัญชีจากธนาคารอื่น ที่ www.เยียวยาเกษตรกร.com

ขณะที่ ข้าราชการทำการเกษตร 910,000 ราย ที่หมดสิทธิ์รับเงินเยียวยา 5,000 บาท นั้น ธ.ก.ส. ยังไม่มีการจ่ายเงินในส่วนนี้ ทำให้ไม่ต้องหักเงินเดือนคืนแต่อย่างใด

ขณะที่ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยขั้นตอนการยื่นอุทธรณ์ของเกษตรกร กรณีรายชื่อตกหล่นจากการเยียวยา ดังนี้

เกษตรกรขอยื่นอุทธรณ์ด้วยตนเอง โดยแจ้งข้อมูลดังต่อไปนี้

  • ชื่อ-นามสกุล

  • เลขที่บัตรประชาชน

  • ที่อยู่และรายละเอียดของอาชีพ

ทั้งนี้ สามารถยื่นอุทธรณ์ที่หน่วยงานในพื้นที่ใกล้บ้าน 8 หน่วยงาน ดังต่อไปนี้

1. กรมส่งเสริมการเกษตร ที่สำนักงานเกษตรอำเภอทุกแห่ง

2. กรมประมง ที่สำนักงานประมงจังหวัด และสำนักงานประมงอำเภอทุกแห่ง

3. กรมปศุสัตว์ ที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด และสำนักงานปศุสัตว์อำเภอทุกแห่ง

4. กรมหม่อนไหม ที่กรมหม่อนไหม และศูนย์หม่อนไหม 21 แห่ง

5. การยางแห่งประเทศไทย ที่สำนักงานการยางแห่งประเทศไทยประจำจังหวัด และสาขาทุกแห่ง

6. ยาสูบแห่งประเทศไทย ในส่วนภูมิภาคทุกแห่ง

7. สำนักงานอ้อยและน้ำตาลทราย ในส่วนภูมิภาคทุกแห่ง

8. สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด ทุกจังหวัด

จากนั้น "เจ้าหน้าที่ส่วนภูมิภาคตรวจสอบ" แล้วส่งต่อ "หน่วยงานต้นสังกัดตรวจสอบ" (ระยะเวลา 3 วัน) แล้วส่งต่อให้ "คณะกรรมการอุทธรณ์พิจารณา" (ระยะเวลา 5 วัน) หลังจากนั้นสามารถตรวจสอบได้ที่ www.อุทธรณ์เงินเยียวยาเกษตรกร.com

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง

ตามข่าวก่อนใครได้ที่
- Website : www.thairath.co.th
- LINE Official : Thairath

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0