โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

ตรวจพบอื้อยาปฏิชีวนะในเนื้อไก่-ตับไก่

new18

อัพเดต 20 ก.ค. 2561 เวลา 02.45 น. • เผยแพร่ 19 ก.ค. 2561 เวลา 16.00 น. • new18
ตรวจพบอื้อยาปฏิชีวนะในเนื้อไก่-ตับไก่
ฉลาดซื้อตรวจพบยาปฏิชีวนะตกมาตรฐาน 5 ตัวอย่าง ในเนื้อไก่สดและตับไก่สด จากจำนวนที่ตรวจพบยา 26 ตัวอย่าง หรือร้อยละ 41.93 จากทั้งหมด 62 ตัวอย่าง

ฉลาดซื้อตรวจพบยาปฏิชีวนะตกมาตรฐาน 5 ตัวอย่าง ในเนื้อไก่สดและตับไก่สด จากจำนวนที่ตรวจพบยา 26 ตัวอย่าง หรือร้อยละ 41.93 จากทั้งหมด 62 ตัวอย่าง

 น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และบรรณาธิการบริหารนิตยสารฉลาดซื้อ กล่าวว่า ฉลาดซื้อสุ่มเก็บตัวอย่างอกไก่และตับไก่สด จำนวนทั้งสิ้น 62 ตัวอย่าง แบ่งเป็นอกไก่สด จำนวน 32 ตัวอย่าง และตับไก่สด จำนวน 30 ตัวอย่าง ได้รับความร่วมมือในการเก็บตัวอย่างจากเครือข่ายอาสาสมัครผู้บริโภคในพื้นที่ กทม.และปริมณฑล จากห้างสรรพสินค้า ตลาดสด และห้างออนไลน์ ระหว่างวันที่ 9 - 15 มิ.ย.2561เพื่อตรวจหาการปนเปื้อนของยาปฏิชีวนะ 3 กลุ่ม นำมาตรวจวิเคราะห์หาการตกค้างของยาปฏิชีวนะ 3 ชนิด จาก 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มฟลูออโรควิโนโลน(Fluoroquinolone group) คือ เอนโรฟลอคซาซิน(Enrofloxacin), กลุ่มที่ 2 กลุ่มเตตราไซคลิน(Tetracycline group) คือ ด็อกซีไซคลิน (Doxycycline), กลุ่มที่ 3 กลุ่มเบต้า-แลคแทม (Beta-lactam groups) คือ อะม็อกซีซิลลิน(Amoxicillin)
 

น.ส.สารี กล่าวต่อว่า ผลการตรวจวิเคราะห์ ผลการตรวจวิเคราะห์การตกค้างของยาปฏิชีวนะทั้ง 3 ชนิด ใน 3 กลุ่ม จากตัวอย่างทั้งหมด 62 ตัวอย่าง พบการตกค้างตกของยาปฏิชีวนะ 26 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 41.93 พบ ตกมาตรฐานการใช้ยาปฏิชีวนะ จำนวน 5 ตัวอย่าง (8.06%) ในยาเอนโรฟลอคซาซิน(Enrofloxacin) เนื่องจากป็นยานอกเหนือบัญชีแนบท้ายประกาศ ซึ่งสามารถใช้ได้แต่ต้องไม่พบการตกค้างของยานี้ และยาด็อกซีไซคลิน(Doxycycline) จำนวน 21 ตัวอย่าง (33.87%) โดยตรวจไม่พบยาปฏิชีวนะกลุ่มที่ 3 ชนิดอะม็อกซีซิลลิน (Amoxicillin) ส่วนอีก 36 ตัวอย่าง นั้น ตรวจไม่พบยาปฏิชีวนะทั้ง 3 กลุ่ม
น.ส.สารี กล่าวด้วยว่า จากผลการตรวจวิเคราะห์พบ ยาเอนโรฟลอคซาซิน (Enrolfloxacin) จำนวน 5 ตัวอย่าง ซึ่งไม่ได้เป็นรายการยาในบัญชีแนบท้ายประกาศที่ อย.อนุญาตให้ใช้ยานี้ได้ แต่ต้องไม่พบการตกค้างเลย โดยมีความผิดตามมาตรา 60 โทษปรับไม่เกิน 50,000 บาทของ พ.ร.บ..อาหาร พ.ศ. 2522
ส่วนผลวิเคราะห์ยาปฏิชีวนะในกลุ่มเตตราไซคลิน พบว่า ไม่มีตัวอย่างใดที่พบปริมาณเกินเกณฑ์มาตรฐานตามที่ อย.ประกาศกำหนด

ด้าน ดร.นิยดา เกียรยิ่งอังศุลี ศูนยฺวิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) กล่าวว่า ยาปฏิชีวนะที่ใช้ในสัตว์ มีอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ คือ การดื้อยา การแพ้ยา และอาการไม่พึงประสงค์อื่นๆ ส่วนอันตรายของ ยาด็อกซีไซคลิน ผลไม่พึงประสงค์ อาจทำให้ฟันมีสีคล้ำ สามารถพบเห็นได้ในเด็กมากกว่าในผู้ใหญ่ มีอาการระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร มีผื่นคันบริเวณผิวหนัง อันตรายของ ยาเอนโรฟลอคซาซินผลไม่พึงประสงค์ มีอาการอาเจียนหรือท้องเสียในรายที่ใช้ยาตัวนี้สูงกว่าขนาดที่แนะนำ 10 เท่า ทำให้กระดูกอ่อนตามข้อต่อต่างๆเกิดความเสียหายจากผลของยา ส่วนอันตรายของ ยาอะม็อกซีซิลลิน ผลไม่พึงประสงค์ ทำให้เกิดผื่นคัน ลมพิษ หรือมีอาการหอบหืด หากพบอาการหายใจมีเสียงหวีด หลังใช้ยา ควรต้องหยุดใช้ยาทันทีและรีบพบแพทย์

ดร.นิยดา กล่าวด้วยว่า สำนักงานงานคณะกรรมการอาหารและยา และกรมปศุสัตว์ จะต้องเข้มงวดและติดตามการใช้ยาปฏิชีวนะ ไม่ให้ตกค้างเกินมาตรฐานที่กำหนด และเปิดเผยข้อมูลการตรวจสอบอย่างเป็นระบบ สม่ำเสมอ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0