โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ตกงาน ลาออก ถูกเลิกจ้าง ฟังให้ดี…แนะนำวิธีรับเงินชดเชยประกันสังคม กรณีว่างงาน

Mango Zero

เผยแพร่ 23 ส.ค. 2562 เวลา 08.05 น. • Mango Zero
ตกงาน ลาออก ถูกเลิกจ้าง ฟังให้ดี…แนะนำวิธีรับเงินชดเชยประกันสังคม กรณีว่างงาน

ตกงาน ลาออก ถูกเลิกจ้าง ฟังให้ดี…แนะนำวิธีรับเงินชดเชยประกันสังคม กรณีว่างงาน

สำหรับมนุษย์เงินเดือนหลายๆท่าน คงจะคุ้นเคยกันดีกับยอดเงิน 750 บาทที่มักจะถูกหักออกจากบัญชีเงินเดือนทุกๆเดือน เป้าหมายก็เพื่อไว้ช่วยเหลือเราในยามเจ็บยามแก่ แต่บางคนอาจจะยังไม่รู้ว่าในยามทุกข์ยาก ตกงาน เคว้งคว้างหลังลาออก… เจ้าเงินสมทบประกันสังคมนี่ ก็ยังเป็นเงินก้นถุงให้เราเบิกใช้ระหว่างว่างงานได้นะ

ส่วนขั้นตอนการขอรับเงินนั้นต้องทำอะไรบ้าง? วันนี้ Mangozero จะสรุปมาให้ดูกัน

 

ใครมีสิทธิได้รับเงินชดเชยนี้บ้าง?

1. คนที่ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนลาออก ได้จ่ายเงินสมทบประกันสังคมมาแล้วครบ 6 เดือน2. คนที่มีช่วงเวลาว่างงานตั้งแต่ 8 วันขึ้นไป

  1. ต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานมาแล้ว ผ่านเว็บสำนักงานจัดหางาน (https://empui.doe.go.th)

  2. ต้องรายงานตัวรายงานตัวผ่านเว็บสำนักงานจัดหางาน เดือนละ 1 ครั้ง

  3. เป็นผู้มีความสามารถในการทำงาน และพร้อมที่จะทำงานที่เหมาะสมตามที่จัดให้

  4. ต้องไม่ปฏิเสธการฝึกงาน

  5. ต้องไม่ถูกเลิกจ้างด้วยสาเหตุ ดังนี้  

  6.  ทุจริตต่อหน้าที่ หรือทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง 

  7.  จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย 

  8.  ฝ่าฝืนข้อบังคับ ระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายในกรณีร้ายแรง 

  9.  ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 7 วันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันควร 

  10.  ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง 

  11.  ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา 

  12.  ต้องไม่ใช่ผู้มีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ 

 

เราจะได้เงินเท่าไหร่?

สำหรับจำนวนเงินชดเชยที่เราจะได้ ขอแบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้

1. กรณีลาออกเอง หรือ หมดสัญญาจ้างแล้ว

  • ได้เงินทดแทนระหว่างว่างงาน ปีละไม่เกิน 90 วัน
  • ในอัตรา 30% ของค่าจ้างเฉลี่ย
  • คำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
  • เช่น เงินเดือน 10,000 บาท จะได้เงินชดเชย เดือนละ 3,000 แต่สำหรับคนที่เงินเดือน 15,000 บาทขึ้นไปทั้งหมดจะได้เงินชดเชย เดือนละ 4,500 บาทเท่ากัน

2.กรณีถูกเจ้านายเลิกจ้าง

  • ได้เงินทดแทนระหว่างว่างงาน ปีละไม่เกิน 180 วัน
  • ในอัตรา 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย
  • คำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
  • เช่น เงินเดือน 10,000 บาท จะได้เงินชดเชย เดือนละ 5,000 แต่สำหรับคนที่เงินเดือน 15,000 บาทขึ้นไปทั้งหมดจะได้เงินชดเชย เดือนละ 7,500 บาทเท่ากัน

FYI: ค่าจ้างเฉลี่ย ตรงนี้หมายความว่า ประกันสังคมได้คำนวณเงินเดือนโดยเฉลี่ยของคนไทยไว้ สำหรับหักเงินสมทบประกันสังคม 5% ในแต่ละเดือน คิดฐานต่ำสุดอยู่ที่ 1,650 แต่จะไม่เกิน 15,000 บาท ต่อให้เงินเดือนจริงของเราจะได้เท่าไหร่ จะมากกว่า 15,000 บาทไปแล้ว ก็จะหักเงินประกันสังคมเราทุกเดือนเพียง 750 บาทเท่านั้น ก็เพราะคิดจากฐานเงินเดือน 15,000 นั่นเอง เช่นเดียวกันกับเงินชดเชยที่จะได้รับ ต่อให้เงินเดือนจริงของแราจะได้เกินกว่า 15,000 บาทไปแล้ว แต่ประกันสังคมก็จะชดเชยเงินให้ในเรท 15,000 เท่านั้นนะ

 

Step ที่ต้องทำหลังลาออก เริ่มจากตรงไหน?

1. ขึ้นทะเบียนผู้ว่างงาน 

  •  ลงทะเบียนที่เว็บไซตสำนักงานจัดหางาน (https://empui.doe.go.th
  • ต้องลงทะเบียนภายใน 30 วัน นับจากวันที่ลาออก
    ถ้าเกินกำหนดจะไม่สามารถใช้สิทธิ์ย้อนหลังได้ (หมายถึงว่าจะไม่ได้ยอดเงินเต็มๆที่ควรจะได้นั่นเอง)
  • ขั้นตอน เข้าเว็บไซต์ > ลงทะเบียนเข้าใช้งาน > ยอมรับเงื่อนไข > กรอกข้อมูลส่วนตัว/บันทึก > เลือกงานที่แนะนำ
  • พิมพ์หนังสือรับรองขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงานออกมา
  • พิมพ์ใบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส 2-01/7)  ออกมากรอกรายละเอียด
    (Download ได้ที่ https://empui.doe.go.th/assets/doc/sos_2-017.pdf)

2. ยื่นเอกสารที่สำนักงานประกันสังคม

เดินทางไปที่สำนักงานประกันสังคมสาขาใกล้บ้านทั่วประเทศ (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ ที่นั่นไม่รับเอกสารนะ ไม่ต้องไป)
จากนั้นยื่นเอกสารให้เจ้าหน้าที่ ดังนี้

  • บัตรประชาชน พร้อมสำเนาบัตร
  • หนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน
  • ใบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส 2-01/7)
  • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์ หน้าแรกต้องเห็นชื่อและเลขบัญชีของผู้ประกันตนชัดเจน
    ใช้ได้ 11 ธนาคาร ได้แก่
    1) ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)
    2) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน)
    3) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)
    4) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน)
    5) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
    6) ธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน)
    7) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
    8) ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)
    9) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
    10) ธนาคารออมสิน
    11) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

ตรงนี้เช็คกับบริษัทเก่าดีๆ กรณีนายจ้างยังไม่ได้ยื่นเอกสารว่าเราลาออกแล้ว ให้เตรียมเอกสารไปให้เจ้าหน้าที่เพิ่ม ได้แก่

  • หนังสือรับรองการออกจากงานหรือสำเนาแบบแจ้งการลาออกจากงานของผู้ประกันตน (สปส. 6-09)  
  • หนังสือหรือคำสั่งของนายจ้างให้ออกจากงาน (ถ้ามี)
  • หนังสือรับรองการขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัย กรณีผู้ประกันตนว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย

3. รอรายงานตัว/รับตังค์

หลังจากยื่นเอกสาร ประกันสังคมจะให้นัดหมายรายงานตัวให้เราเก็บไว้ และไปรายงานตัวตามวันที่ระบุ ให้เรารอกดรายงานตัวตามวันเวลานั้นที่เว็บสำนักงานจัดหางาน อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ที่เว็บไซต์สำนักงานจัดหางาน (https://empui.doe.go.th) ตามกำหนดเวลาในแต่ละเดือน หลังจากยื่นเอกสารไปแล้ว เงินจะยังไม่ได้เข้าเลยนะ
เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบเอกสารก่อน ว่าทุกอย่างตรงกับที่บริษัทเราแจ้งหรือไม่ เมื่อทุกอย่างเรียบร้อย เราจะได้รับเงินหลังจากวันที่รายงานตัวในเว็บไปแล้ว 5-7 วันทำการ

 

Q&A อื่นๆ

  • ถ้าลืมรายงานตัวกับสำนักจัดหางานภายใน 30 วัน ยังขอรับเงินได้อยู่ไหม?
    ตอบ : ได้ แต่จำนวนเงินที่ได้จะลดหลั่นกันไป ทางที่ดีรีบแจ้งใน 30 วันดีกว่า
  • ถ้าไม่ได้ว่างงานจนถึง 90 วัน วันที่เหลือจะขอเงินใหม่ได้อีกไหม?ตอบ : ได้ เขานับเป็นวัน ถ้าเหลืออีกกี่วัน ไว้คราวหน้าว่างงานใหม่อีกรอบ ก็ขอได้ใหม่อยู่
  • ถ้าใช้สิทธิรับเงินครบ 90 วันแล้ว ขอได้อีกไหม?
    ตอบ : เขานับปีต่อปี ในรอบปีนี้รับเงินครบ 90 วันแล้ว ปีหน้าขอได้ใหม่นะ
  • ทำไมเราถูกเลิกจ้างมา แต่ประกันสังคมไม่ให้เงิน 50%?
    ตอบ : กรณีนี้ทางประกันสังคมบอกว่า ต้องย้อนกลับไปดูว่าบริษัทนายจ้างแจ้งทางประกันสังคมว่ายังไง แจ้งว่าเลิกจ้าง หรือลาออก
    จะมีบางบริษัทที่มักจะแจ้งว่าลูกน้องลาออกเอง ถ้าเป็นแบบนี้เราสามารถยื่นคำร้องว่าข้อมูลไม่ตรงกันได้ให้เข้าไปติดต่อที่สำนักงานประกันสังคมเลย
    เจ้าหน้าที่จะอธิบายอีกครั้งว่าต้องเตรียมเอกสารอะไรเพิ่มเติม

 

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0