โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคอนาคตใหม่ ตัดสิทธิ์กก.บห.พรรค10ปี

ประชาชาติธุรกิจ

อัพเดต 21 ก.พ. 2563 เวลา 15.56 น. • เผยแพร่ 21 ก.พ. 2563 เวลา 08.52 น.
ยุบพรรคอนค.

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 เมื่อเวลา 15.00 น. ที่ศาลรัฐธรรมนูญองคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัย กรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย พรรคอนาคตใหม่กู้ยืมเงินจากนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ จำนวน 191,200,000 บาท เป็นการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 หรือไม่ และขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณายุบพรรคอนาคตใหม่ ตามมาตรา 92 วรรคหนึ่ง (3) ประกอบมาตรา 93 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 หรือไม่

ทั้งนี้คำชี้แจงของ กกต.ต่อศาลรัฐธรรมนูญ ระบุว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยพรรคการเมือง 2560 มาตรา 62 กำหนดที่มารายได้ของพรรคการเมืองไว้ 7 ประเภท ไม่มีประเภทรายได้อื่นที่เปิดช่องให้พรรคการเมืองสามารถกู้ยืมเงินมาดำเนินกิจการพรรคการเมืองได้ ดังนั้น หากไม่ใช่เงินรายได้ที่กำหนดไว้ในกฎหมายพรรคการเมือง 7 ประเภท แม้จะเป็นเงินที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ก็อาจเป็นเงินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายพรรคการเมือง

ขณะเดียวกันรายได้จากเงินบริจาคตามมาตรา 66 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง 2560 กำหนดว่า บุคคลใดจะบริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดให้แก่พรรคการเมือง มีมูลค่าเกินสิบล้านบาทต่อพรรคการเมืองต่อปีมิได้ อันเป็นเงื่อนไขในเพื่อเป็นหลักประกันถึงความโปร่งใสการได้มาซึ่งรายได้ และการป้องกันมิให้เกิดการกระทำนิติกรรมอำพรางการได้มาซึ่งรายได้ของพรรคการเมือง

ดังนั้น พรรคการเมืองที่หารายได้โดยไม่เป็นไปตามประเภทรายได้ หรือรับเงินโดยไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการได้มาของรายได้ที่ พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมืองกำหนด เงินที่ได้มาจึงไม่เป็นเงินจากแหล่งรายได้ตามที่กฎหมายกำหนดเข้าลักษณะความผิดตามมาตรา 72 ใน พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2560

โดยมาตรา 72 ระบุว่า ห้ามมิให้พรรคการเมืองและผู้ดํารงตําแหน่งในพรรคการเมืองรับบริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด โดยรู้หรือควรจะรู้ว่าได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่า มีแหล่งที่มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประกอบกับมาตรา 92 (3) จึงส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยยุบพรรค

ขณะที่ข้อต่อสู้ของพรรคอนาคตใหม่ ระบุว่า พรรคการเมืองเป็นนิติบุคคล เช่นเดียวกับนิติบุคคลเอกชน สามารถกู้ยืมเงินได้ โดยมีการเมืองอีก 16 พรรค ที่มีการกู้เช่นกันแต่ กกต.กลับเลือกปฏิบัติไม่ดำเนินการเอาผิด รวมทั้งเงินกู้ไม่ใช่เงินรายได้ ไม่ใช่บริจาค รวมถึงไม่ใช่ผลประโยชน์อื่นใดหรือเป็นเงินที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีแหล่งที่มาไม่ชอบที่จะผิดมาตรา 72 อีกทั้งขั้นตอนการพิจารณาของ

กระบวนการ กกต.เร่งรัด ไม่ถูกต้องไม่ให้โอกาสพรรคในการยื่นเอกสารหลักฐานอย่างเต็มที่ซ้ำเป็นการมุ่งที่จะเอาผิดกับพรรคอนาคตใหม่โดยเฉพาะ และคณะอนุกรรมการไต่สวนของ กกต.2 ชุดได้ยกคำร้องไปแล้ว แต่ กกต.ยังดำเนินการกับพรรคอนาคตใหม่

อีกทั้ง ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจยุบพรรคและตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรค เนื่องจากมาตรา 92(3) ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 (3) ที่บัญญัติถึงอำนาจศาลรัฐธรรมนูญว่า “หน้าที่และอำนาจอื่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ” ไม่มีตรงไหนที่ศาลมีอำนาจยุบพรรค ดังนั้น อำนาจการยุบพรรคเกิดใน พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2560 มาตรา 92 แสดงให้เห็นว่า มาตรา 92 ขัดกับรัฐธรรมนูญ 210

ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญ ได้ตีตกข้อโต้แย้งเรื่องอำนาจการยุบพรรคของศาลรัฐธรรมนูญ รวมถึงวินิจฉัยว่า พรรคการเมืองเป็นนิติบุคคลมหาชน และวินิจฉัยว่าการที่นายธนาธรให้กู้เงิน 191.2 ล้านบาท มีการคิดดอกเบี้ยไม่เป็นไปตามปกติทางการค้า รวมถึงเงินบริจาค 8.5 ล้านบาท เท่าเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด และจากข้อเท็จจริง นายธนาธรให้เงินกู้เป็นทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด ให้กู้เงินเป็นจำนวนมาก กรรมการบริหารพรรคควรจะรู้การเป็นหนี้จำนวนมาก ย่อมทำให้เกิดการครอบงำของเจ้าหนี้ หรือ งดเว้นอื่นใดตามสัญญาได้ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการเงิน เป็นส่งผลให้พรรคการเมืองเป็นธุรกิจการเมือง การยืมเงินเป็นการหลีกเลี่ยง มาตรา 66 ของ พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2560 จึงมีสั่งยุบพรรคอนาคตใหม่ ตาม พ.ร.ป.พรรคการเมือง 2560 มาตรา 92 (3) ประกอบมาตรา 72 เพิกถอนสิทธิคณะกรรมการบริหารพรรคที่ดำรงตำแหน่งวันที่ 2 ม.ค 2562 หรือ 11 เม.ย.2562 มีเหตุ 10 ปี นับแต่วันที่ศาลยุบพรรคผู้ถูกร้อง และห้ามไม่ให้ผู้เคยดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคจัดตั้งพรรคการเมือง หรือ มีส่วนร่วมจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ 10 ปี

สำหรับ ส.ส.พรรคอนาคตใหม่ ทั้งหมด 76 คน แบ่งเป็น ส.ส.แบ่งเขต 26 คน และ ส.ส. บัญชีรายชื่อ 50 คน โดย ในจำนวนนั้นมี 11 คน ที่ เป็นกรรมการบริหาร ณ วันที่มีการกู้เงิน และตอนนี้ยังมีสมาชิกสภาพเป็นผู้แทนราษฎรอยู่ (ข้อมูล ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563) ได้แก่

1. ปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรค ส.ส.บัญชีรายชื่อ

  1. กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ รองหัวหน้าพรรค ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  2. ชำนาญ จันทร์เรือง ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  3. พล.ท.พงศกร รอดชมภู รองหัวหน้าพรรค ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  4. พรรณิการ์ วานิช โฆษกพรรค ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  5. ไกลก้อง ไวทยการ ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  6. นิรามาน สุไลมาน ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  7. เยาวลักษณ์ วงษ์ประภารัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  8. สุรชัย ศรีสารคาม ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  9. เจนวิทย์ ไกรสินธุ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  10. จารุวรรณ ศรัณย์เกตุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ

ส่วนกรรมการบริหารอีก 5 คนที่ไม่ได้เป็น ส.ส. ปัจจุบัน ได้แก่

12. นิติพัฒน์ แต้มไพโรจน์ เหรัญญิกพรรค

  1. ชัน ภักดีศรี กรรมการบริหารพรรค
  2. สุนทร บุญยอด กรรมการบริหารพรรค
  3. รณวิต หล่อเลิศสุนทร รองหัวหน้าพรรค
  4. ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรค สิ้นสุดการเป็น ส.ส.

อ่านเพิ่มเติม

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0