โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ดูสัญญาณจากส่งออก ผลกระทบสงครามการค้า ซึมลึกเศรษฐกิจไทย

Money2Know

เผยแพร่ 22 มี.ค. 2562 เวลา 04.14 น. • money2know - เงินทองต้องรู้
ดูสัญญาณจากส่งออก ผลกระทบสงครามการค้า ซึมลึกเศรษฐกิจไทย

เศรษฐกิจไทยส่งสัญญาณชะลอตัวในไตรมาสแรก แม้ว่าตัวเลขมูลค่าการส่งออกในเดือนก.พ. 2562 จะขยายตัวได้ 5.9% แต่เมื่อดูจากการส่งออกสินค้าจริง ๆ จะพบว่ามูลค่าการส่งออกหดตัว 3.4%

กระทรวงพาณิชย์ รายงานว่าการส่งออกของไทยในเดือนก.พ.2562 มีมูลค่า 21,554 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวที่ 5.9% แต่เมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องน้ำมัน ทองค้าและอาวุธ การส่งออกหดตัวที่ 4.9%

ส่งออกเดือนก.พ.62
ส่งออกเดือนก.พ.62

การส่งออกของไทยปรับตัวลดลง ตามปริมาณการค้าโลกที่เริ่มชะลอตัวตั้งแต่ปีที่ผ่านมา จากผลกระทบสงครามการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน ซึ่งมูลค่าการส่งออกลดลงต่อเนื่อง ชี้ให้เห็นว่าผลกระทบจากสงครามการค้าเริ่มซึมลึกลงมากขึ้นขึ้นต่อเศรษฐกิจของประเทศ

กระทรวงพาณิชย์ระบุว่า "ความไม่แน่นอนทางการค้ายังคงกดดันให้การค้าโลกชะลอตัว และอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าอ่อนแอ อีกทั้งราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีแนวโน้มลดลง ส่งผลกระทบต่อการส่งออกประเทศเกิดใหม่ (Emerging Markets) รวมถึงไทย และประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค"

หากตามไปดูตลาดส่งออกสำคัญจะเห็นว่าตลาดส่งออกของไทยปรับลดลงถ้วนหน้า ยกเว้นสหรัฐที่มีการนำเข้าอาวุธจากการซ้อมรบเมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยจำแนกได้ดังนี้

ตลาดสหรัฐอเมริกา ขยายตัว 97.3% ส่วนหนึ่งเป็นปัจจัยชั่วคราว ขณะที่ 2 เดือนแรกของปี 2562 ขยายตัว 51.8%

ตลาดจีน หดตัว 1.5% เป็นการปรับตัวดีขึนจากเดือนก่อนหน้าซึ่งหดตัว 16.7% ขณะที่ 2 เดือนแรกของปี 2562 หดตัว 9.2%

ตลาดสหภาพยุโรป หดตัว 12.2% ขณะที่ 2 เดือนแรกของปี 2562 หดตัว 8.5%

ตลาดเอเชียใต้ หดตัว 9.9% ขณะที่ 2 เดือนแรกของปี 2562 หดตัว 6.8%

ตลาด CLMV หดตัว 0.4% ขณะที่ 2 เดือนแรกของปี 2562 ขยายตัว 0.1%

ตลาดญี่ปุ่น หดตัว 11.4% ขณะที่ 2 เดือนแรกของ ปี 2562 หดตัว 5.8%

ตลาดลาตินอเมริกา หดตัว 4.2% ขณะที่ 2 เดือนแรกของปี 2562 หดตัว 4.7%

ตลาดอาเซียน-5 ขยายตัว 2.8% ขณะที่ 2 เดือนแรกของปี 2562 หดตัว 2.5%

ตลาดตะวันออกกลาง หดตัว 14.2% ขณะที่2 เดือนแรกของปี 2562 หดตัว 11.5%

ตลาดทวีปออสเตรเลีย หดตัว 12.7% ขณะที่ 2 เดือนแรกของ ปี 2562 หดตัว 9.7%

ตลาดรัสเซีย และกลุ่มประเทศ CIS หดตัว 12.2% ขณะที่ 2 เดือนแรกของปี 2562 หดตัว 7.8%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยในเดือนก.พ. 2562 พลิกกลับมาขยายตัว 5.9% เป็นไปตามคาด ซึ่งเป็นผลของปัจจัยชั่วคราวที่มีการส่งออกอาวุธ กระสุน และส่วนประกอบที่นำเข้ามาใช้ในการซ้อมรบเมื่อเดือนม.ค. 2562 กลับไปยังสหรัฐฯ เมื่อหักลบมูลค่าการส่งออกอาวุธ กระสุน และส่วนประกอบแล้ว การส่งออกสินค้าของไทยหดตัว 3.4% ในเดือนก.พ. 2562

สอดคล้องกับการส่งออกสินค้าของประเทศในภูมิภาคที่หดตัวสูงในเดือนเดียวกัน เช่น จีน (หดตัว 20.7%) ญี่ปุ่น (หดตัว 1.2%)  และไต้หวัน(หดตัว 8.8%)

ปัจจัยหลักๆ ที่ทำให้การส่งออกสินค้าของไทยหดตัว มาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ความไม่แน่นอนของประเด็นข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนที่การเจรจาถูกเลื่อนออกไปเป็นช่วงเดือนเม.ย. 2562 วัฎจักรขาลงของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงฐานการส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับปิโตรเลียมในปีก่อนที่สูงจากระดับราคาน้ำมันดิบที่สูงและการเร่งนำเข้าของจีน

*ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงยังคงประมาณการอัตราการขยายตัวของการส่งออกสินค้าไทยในปี 2562 ไว้ที่ 4.5% แต่ยังต้องติดตามผลการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนที่จะมีขึ้นในช่วงเดือนเม.ย. 2562 และทิศทางการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนในระยะข้างหน้า *

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0