โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

ดื่มกาแฟอาจช่วยให้น้ำหนักลด

TODAY

อัพเดต 26 มิ.ย. 2562 เวลา 09.43 น. • เผยแพร่ 26 มิ.ย. 2562 เวลา 09.27 น. • Workpoint News
ดื่มกาแฟอาจช่วยให้น้ำหนักลด

งานวิจัยใหม่พบ ดื่มกาแฟ กระตุ้นให้ไขมันสีน้ำตาลเผาผลาญไขมัน ส่งผลให้น้ำหนักลดได้ เปิดความหวังใหม่ในการใช้รักษาโรคอ้วนและโรคเบาหวาน

 

งานศึกษาจาก University of Nottingham พบว่า กาแฟอาจช่วยกระตุ้นเนื้อเยื่อ "ไขมันสีน้ำตาล" ให้ทำงานเผาผลาญพลังงานในร่างกายได้ดีขึ้น

 การดื่มกาแฟช่วยการเผาผลาญแคลอรี่ในร่างกาย

 

ในร่างกายมนุษย์มีเนื้อเยื่อไขมัน 2 ชนิด คือ ไขมันสีขาวที่ทำหน้าที่เป็นแหล่งกักเก็บพลังงาน และไขมันสีน้ำตาลที่มีบทบาทสำคัญในการเผาผลาญแคลอรี่เพื่อสร้างความร้อนในร่างกาย ก่อนหน้านี้เรารู้กันว่า เนื้อเยื่อไขมันสีน้ำตาล (Brown adipose tissue หรือ BAT) มักพบในเด็ก แต่เร็ว ๆ นี้มีรายงานว่าเนื้อเยื่อดังกล่าวพบในร่างกายของผู้ใหญ่ด้วย

ศาสตราจารย์มิเชล ไซมอนด์ (Michael Symonds) หนึ่งในผู้ร่วมผลิตงานวิจัยอธิบายว่า ไขมันสีน้ำตาลทำงานต่างจากไขมันอื่นในร่างกาย โดยทำงานสร้างความร้อนด้วยการเผาผลาญน้ำตาลและไขมันเมื่อร่างกายอยู่ในภาวะอากาศหนาวเย็น ทำให้ร่างกายเพิ่มการควบคุมระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด และสุดท้ายการเผาผลาญแคลอรี่พิเศษนี้จะช่วยลดน้ำหนักได้ในที่สุด

 

รายงานจากองค์การอนามัยโลก ปี 2557 พบว่าทั่วโลกมีผู้ใหญ่ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ประมาณ 1,900 ล้านรายและเป็นโรคอ้วน อย่างน้อย 600 ล้านราย

 

พวกเขาทดสอบกาแฟกับสเต็มเซลล์ก่อนว่าคาเฟอีนจะมีผลต่อไขมันสีน้ำตาลหรือไม่ ก่อนจะย้ายไปทดลองที่คนเมื่อพบปริมาณที่เหมาะสมแล้ว ในการทดลองนี้ ทำขึ้นโดยใช้กล้องถ่ายภาพความร้อนกับชายสี่คนและผู้หญิงห้าคน พบว่าหลังจากดื่มกาแฟแล้วกล้องจับความร้อนก็แสดงให้เห็นไขมันสีน้ำตาลกำลังทำงานและเผาผลาญแคลอรี่

ทั้งนี้การศึกษาดังกล่าวอยู่ในช่วงเริ่มต้นเท่านั้น ยังต้องมีการตรวจสอบเกี่ยวกับการจับไขมันของกาแฟ และต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า นอกจากคาเฟอีนแล้วยังมีส่วนประกอบใดที่สามารถกระตุ้นการทำงานของไขมันสีน้ำตาลได้

"เมื่อเราสามารถยืนยันได้ว่ามีส่วนประกอบอื่นที่สามารถกระตุ้นอีก มันอาจจะนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของ การควบคุมน้ำหนักหรือโปรแกรมควบคุมระดับน้ำตาลเพื่อช่วยป้องกันโรคเบาหวาน" ศาสตราจารย์ไซมอนต์กล่าวเสริม

ที่มา

CNN

MIRROR

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0