โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ดัชนีเชื่อมั่น 2 สถาบันดิ่งเหว

ไทยรัฐออนไลน์ - Economics

อัพเดต 21 พ.ย. 2562 เวลา 02.50 น. • เผยแพร่ 21 พ.ย. 2562 เวลา 02.50 น.
ภาพไฮไลต์
ภาพไฮไลต์

ชี้มาตรการดูแลค่าเงินบาทยังไม่เพียงพอ

ดัชนีอุตสาหกรรมเดือน ต.ค.ดิ่งเหว เป็นครั้งแรกในรอบ 17 เดือน เหตุสารพัดปัจจัยรุมกระหน่ำ ภาคเอกชนขอเคลียร์ปัญหาคาใจกับ “คลัง-ธปท.” วันที่ 27 พ.ย.นี้ ร้องหา “สมคิด” ให้เป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจเต็มตัว ขณะที่ความเชื่อมั่นหอการค้าไทยวูบในรอบ 22 เดือนเช่นกัน

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเมื่อเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา อยู่ที่ระดับ 91.2 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 92.1 ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบ 17 เดือน นับตั้งแต่เดือน มิ.ย.61 เนื่องจากผู้ประกอบการยังคงมีความกังวลกำลังซื้อในส่วนของประชาชนในภูมิภาคที่ยังชะลอตัว และผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ประสบปัญหาด้านการเงิน หลังจากสถาบันการเงินมีความระมัดระวัง การปล่อยสินเชื่อมากขึ้น รวมทั้ง สถานการณ์สงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ ยังคงยืดเยื้อ และการแข็งค่าของเงินบาทที่ทำให้ความสามารถในการแข่งขันด้านราคาลดลง

“ในวันที่ 27 พ.ย.นี้ ภาคเอกชนมีกำหนดการหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อประชุมเชิงปฏิบัติการกับกลุ่มอุตสาหกรรมส่งออก ที่ได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาท เนื่องจากมาตรการที่ ธปท.ใช้ดูแลค่าเงินบาทอยู่ในปัจจุบันอาจไม่เพียงพอเท่าที่ควร”

สำหรับดัชนีอุตสาหกรรม คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า สมาชิก ส.อ.ท.ที่ตอบแบบสอบถามคาดการณ์ว่าจะปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 102.9 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 103.4 เนื่องจากผู้ประกอบการมีความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจในประเทศและเศรษฐกิจโลก ที่ยังมีความไม่แน่นอน รวมทั้งการที่ประเทศไทยถูกสหรัฐฯตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) ซึ่งกำลังจะมีผลบังคับใช้ในปี 2563 ทำให้สินค้าส่งออกของไทย มีราคาสูงขึ้นเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง

นอกจากนี้ ส.อ.ท.ยังต้องการให้กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกันเป็นหน่วยงานหลัก ในการหาแนวทางดูแล
เศรษฐกิจฐานราก เพราะที่ผ่านมายังไม่มีแผนออกมาชัดเจน รวมทั้งอยากให้รัฐบาลตั้งหัวหน้าทีมเศรษฐกิจขึ้นมาให้ชัดเจน เช่น มอบให้นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ เพราะขณะนี้การดำเนินงานทุกอย่างต้องขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีภารกิจจำนวนมาก อาจเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจเกิดความล่าช้า

ด้านนายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย ซึ่งสำรวจจากความคิดเห็นสมาชิกหอการค้าไทยทั่วประเทศ เดือน ต.ค.62 พบว่าอยู่ที่ระดับ 46.0 ต่ำสุดในรอบ 22 เดือน เพราะผลกระทบสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน ที่มีผลทำให้การส่งออกไทยลดลง, สหรัฐฯตัดสิทธิจีเอสพี, สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ปรับลดเป้าหมายเศรษฐกิจไทยปี 62, ภาคการบริโภคชะลอตัว, ปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรบางรายการเริ่มลดลงจนกระทบต่อรายได้เกษตรกร, เงินหมุนเวียนในธุรกิจฝืดเคืองก่อให้เกิดปัญหาหนี้สินเพิ่มขึ้น เป็นต้น

“แม้จะมีปัจจัยลบที่ฉุดความเชื่อมั่น แต่จะมีปัจจัยบวกที่จะช่วยพยุงเศรษฐกิจจำนวนมาก เช่น การกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชนผ่านชิม
ช้อป ใช้, ราคาที่ดินในย่านปริมณฑลพุ่งขึ้น 3-5 เท่า จากการเชื่อมต่อของรถไฟฟ้า, รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนภาคเกษตรอย่าง
ต่อเนื่อง, มาตรการกระตุ้นการบริโภคภาครัฐที่ส่งผลดีต่อยอดขายและคำสั่งซื้อของผู้ประกอบการ และจำนวนนักท่องเที่ยวไทยเพิ่มขึ้นในช่วงวันหยุดยาว เป็นต้น”.

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง

ตามข่าวก่อนใครได้ที่
- Website : www.thairath.co.th
- LINE Official : Thairath

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0