โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ดัชนีราคาที่ดินเปล่า กทม.-ปริมณฑล ขยับขึ้น 32.3%

ไทยโพสต์

อัพเดต 23 ก.ค. 2561 เวลา 02.37 น. • เผยแพร่ 23 ก.ค. 2561 เวลา 02.37 น. • ไทยโพสต์

                            ดัชนีราคาที่ดินเปล่า กทม.-ปริมณฑล ขยับขึ้น 32.3%

ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ ธอส. เผยดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนา ไตรมาส 2 ปี 61 ในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล พบมีค่าดัชนีเท่ากับ 217.8 จุด ปรับเพิ่มขึ้น 32.3% ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยถึงการเปลี่ยนแปลงของราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล รวม 6 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และนครปฐม โดยในไตรมาส 2 ปี 2561 ดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาในพื้นที่ กรุงเทพฯ-ปริมณฑลมีค่าดัชนีเท่ากับ 217.8 จุด ปรับเพิ่มขึ้น 32.3% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้โดยผลมาจากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาที่ดินเปล่าที่อยู่ใกล้แนวเส้นทางการก่อสร้างรถไฟฟ้าและในเขตจังหวัดปริมณฑล นอกจากนี้ศูนย์ยังได้วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาโดยจำแนกตามประเภทแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน พบว่า พื้นที่ที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก มีการปรับราคาเพิ่มขึ้น 56.1% ส่วนพื้นที่อุตสาหกรรม มีการปรับราคาเพิ่มขึ้น 29.8% พื้นที่ที่อยู่อาศัยชุมชน (ทำเลในจังหวัดปทุมธานี นครปฐม และสมุทรสาคร) มีการรับราคาเพิ่มขึ้น 19.7% พื้นที่ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย มีการปรับราคาเพิ่มขึ้น 13.1% พื้นที่พาณิชยกรรม มีการปรับราคาเพิ่มขึ้น 6.6ถ พื้นที่ที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง มีการปรับราคาเพิ่มขึ้น 3.6% และพื้นที่เกษตรกรรม มีการปรับราคาเพิ่มขึ้น 2.6% อย่างไรก็ตามเมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างที่ดินเปล่าในการใช้ประโยชน์เพื่อเกษตรกรรมที่มีราคาต่ำสุดกับราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาในแต่ละแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอื่น พบว่า พื้นที่พาณิชยกรรม มีราคาสูงกว่าพื้นที่เกษตรกรรม 133.4% ส่วนพื้นที่ที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางมีราคาสูงกว่า 81% พื้นที่ที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก มีราคาสูงกว่า 74.6% พื้นที่ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย มีราคาสูงกว่า 57.4% พื้นที่ที่อยู่อาศัยชุมชน มีราคาสูงกว่า 48.3% และพื้นที่อุตสาหกรรม มีราคาสูงกว่า 30.7% ทั้งนี้ศูนย์ข้อมูลฯ ยังได้วิเคราะห์เปรียบเทียบราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาในแต่ละทำเลที่มีเส้นทางรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนผ่านกับราคาที่ดินในทำเลที่ไม่มีโครงการรถไฟฟ้าผ่าน พบว่า ทำเลที่มีแผนการลงทุนโครงการลงรถไฟฟ้าในอนาคต มีราคาสูงกว่า 52.1% เนื่องจากราคาที่ดินปรับเพิ่มจากฐานราคาเดิมที่ยังไม่สูงมากนัก ส่วนทำเลที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า จะมีราคาสูงกว่า 32.1% ในขณะที่ทำเลที่มีโครงการรถไฟฟ้าเปิดให้บริการแล้ว จะมีราคาสูงกว่า 24.2%  

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0