โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ดอกเบี้ยนโยบายลด แล้วสารพัดหนี้ของเรา จะลดลงด้วยมั้ย ?

ทันข่าว Today

อัพเดต 01 มิ.ย. 2563 เวลา 00.00 น. • เผยแพร่ 01 มิ.ย. 2563 เวลา 00.00 น. • ทันข่าว Channel

Highlight

สงสัยกันมั้ยว่า “ดอกเบี้ยนโยบาย” คืออะไร
และสารพัดหนี้ ทั้งหนี้สินเชื่อบ้าน หนี้ผ่อนรถ และหนี้บัตรเครดิต ที่รายล้อมรอบตัวเรา ปรับลดลงกับเค้าด้วยบ้างมั้ย ?

เพราะจากข่าวที่ทาง คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติให้ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงอีกครั้ง เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563 จาก 0.75% ต่อปี เหลือ 0.50% ต่อปี ซึ่งถือว่าต่ำที่สุดเป็นประวัติศาสตร์!!

ด้วยเหตุผล …
เนื่องจากประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2563 มีแนวโน้มหดตัวกว่าที่ประมาณการเดิมตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่หดตัวรุนแรงกว่าที่คาด และผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ โควิด 19 จึงต้องลดดอกเบี้ยเพื่อช่วยภาคธุรกิจและลดภาระลูกหนี้

“ดอกเบี้ยนโยบาย” คืออะไร ?

ดอกเบี้ยนโยบาย (Policy Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางของแต่ละประเทศกำหนดขึ้นเป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง และเป็นเครื่องมือหลักในการส่งสัญญาณนโยบายการเงิน โดยมีคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงก์ชาติ เป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลดอกเบี้ยนโยบายให้เป็นไปภายใต้กรอบของเงินเฟ้อไม่ให้เกิน 3% เพื่อที่จะควบคุมปริมาณเงินในระบบให้สอดคล้องกับนโยบายดังกล่าวได้ ธนาคารแห่งประเทศไทยก็ต้องใช้ “ดอกเบี้ยนโยบาย” ในการกำหนดอัตราดอกเบี้ยในตลาดว่าควรอยู่ที่เท่าไร ตามแต่ละสถานการณ์ เช่น

ในช่วงที่เศรษฐกิจอ่อนแอ หรือหดตัว แบงก์ชาติจะประกาศลดดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อให้นโยบายการเงินผ่อนคลายมากขึ้น กระตุ้นให้คนถอนเงินไปจับจ่ายใช้สอย หรือนำเงินไปลงทุนมากขึ้น ช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัว

ลดดอกเบี้ยนโยบาย จริงๆและส่งผลกระทบกับคนทั่วไปแบบเราๆ หลายมิติ ทั้ง เงินฝาก เงินกู้ ตลาดพันธบัตร และตลาดหุ้น รวมไปถึงผลคนทำธุรกิจ หรือผู้ประกอบการ แต่ในที่นี้ ของไฮไลต์  “หนี้ ” เป็นหลัก

  • สินเชื่อบ้าน

ข่าวดีสำหรับคนที่กำลังจะขอสินเชื่อ โดยเฉพาะสินเชื่อบ้าน เพราะเมื่อธนาคารปรับลดดอกเบี้ยเงินฝากแล้ว ก็ต้องปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ด้วยเช่นกัน เพื่อรักษาส่วนต่างดอกเบี้ยไว้ ทำให้อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อต่าง ๆ ถูกลง คนทั่วไปก็จะกล้าเข้าไปขอสินเชื่อเพิ่มขึ้น

ส่วนคนที่มีภาระกู้ ผ่อนบ้าน ผ่อนคอนโดอยู่ก่อนแล้ว ถ้าสัญญาที่เราทำไว้เป็นแบบ “ดอกเบี้ยเงินกู้แบบลอยตัว” (Floating Rate) ก็ได้รับผลดีจากการที่ภาระดอกเบี้ยลดลงตามไปด้วย หรือถ้ากำลังคิดจะรีไฟแนนซ์บ้านในช่วงนี้ก็เป็นโอกาสดีเลยทีเดียว

  • หนี้ผ่อนรถ

ส่วนสัญญากู้ซื้อรถ จะไม่ได้ประโยชน์จากการลดดอกเบี้ย เพราะยังต้องจ่ายดอกเบี้ยตามอัตราเดิม (Fixed Rate) ไปตลอดสัญญา ตั้งแต่เราเริ่ม อันนี้ก็เศร้าไป

  • หนี้บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล

ส่วนใหญ่แล้ว หนี้กลุ่มนี้มีอัตราดอกเบี้ยคงที่อยู่แล้ว คล้ายกับสินเชื่อผ่อนรถ ช่วยลดภาระหนี้สินภาคธุรกิจ ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง เนื่องจากดอกเบี้ยที่กู้ยืมเป็นอัตราลอยตัว (Floating Rate) ผู้ประกอบการที่กู้เงินมาลงทุนอยู่ก็จะจ่ายดอกเบี้ยถูกลง

หรือสำหรับใครที่คิดจะขยับขยายธุรกิจ หรือคนทั่วไปที่อยากเปิดกิจการใหม่ (ไม่หวั่น Covid-19) ก็สามารถใช้จังหวะที่ดอกเบี้ยเงินกู้ลดลง รีบขอสินเชื่อมาทำธุรกิจในช่วงนี้ก็ได้เช่นกัน ทำให้ธุรกิจขยายตัว ภาคเอกชนมีการลงทุนมากขึ้น มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นทั่วประเทศ

ข้อมูลอ้างอิง
Bank of Thailand
https://www.bot.or.th/Thai/PressandSpeeches/Press/2020/Pages/n2763.aspx
ใครได้ ใครเสีย เมื่อ ‘ดอกเบี้ย’ ลด : Bangkokbiz
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/865317

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0