โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ดราม่าแรง!! ‘เราไม่ทิ้งกัน’ แจงกรณีเรียกคืนเงินเยียวยา 5 พันบาท

The Bangkok Insight

อัพเดต 08 ก.ค. 2563 เวลา 00.43 น. • เผยแพร่ 07 ก.ค. 2563 เวลา 23.46 น. • The Bangkok Insight
ดราม่าแรง!! ‘เราไม่ทิ้งกัน’ แจงกรณีเรียกคืนเงินเยียวยา 5 พันบาท

เราไม่ ทิ้งกัน แจงกรณีเรียกคืนเงินเยียวยา 5,000 บาท ชี้ส่งหนังสือเรียกคืนเงินเฉพาะผู้ที่ขอ "สละสิทธิ์" ส่วนใครที่ได้รับเงินเยียวยา 15,000 บาทไปแล้วม่ต้องคืน!!

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณี มีผู้ที่ได้รับหนังสือจาก สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง หรือ สศค. โดยหนังสือดังกล่าว ระบุว่า ตามที่กระทรวงการคลัง มีมาตรการชดเชยรายได้ แก่ลูกจ้างสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบ หรือ ผู้ที่ได้รับผลกระทบอื่นๆ ของการแพร่ระบาดของ โควิด-19 จำนวน 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน และ ท่านได้แสดงความประสงค์สละสิทธิ์ การได้รับเงินชดเชย เพื่อให้การดำเนินการสละสิทธิ์ เป็นไปอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ขอให้ท่านดำเนินการ คืนเงินชดเชยรายได้ ที่ท่านได้รับแล้วทั้งหมด ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ และให้ชำระเงินผ่านช่องทาง โมบาย แบงก์กิ้ง และ เอทีเอ็มของธนาคารใดก็ได้นั้น

ล่าสุด นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เผยว่า สศค. ได้ดำเนินการส่งหนังสือดังกล่าวไปให้ผู้ที่ลงทะเบียนมาตรการ "เราไม่ทิ้งกัน" ที่กดปุ่มขอสละสิทธิ์ (ปุ่มสีชมพู) ผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com ตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน เป็นต้นไป จำนวนหลายพันคนจริง ซึ่งเป็นไปตามกระบวนการขั้นตอน ของการสละสิทธิ์เงินเยียวยา ซึ่งกระทรวงการคลังจะต้องเรียกเงินคืนให้ครบถ้วน

เราไม่ทิ้งกัน
เราไม่ทิ้งกัน

ส่วนผู้ที่ผ่านเกณฑ์และได้รับเงินเยียวยาจำนวน 5,000 บาทไปแล้ว 3 เดือน หรือจำนวน 15,000 บาท ไม่ต้องดำเนินการคืนเงิน เพราะจะไม่ได้รับหนังสือในส่วนนี้

อย่างไรก็ตาม มองว่า เป็นไปไม่ได้ กรณีคนที่ไม่ได้กดปุ่มสละสิทธิ์ ในโครงการ เราไม่ ทิ้งกัน จะได้รับหนังสือของ สศค. ฉบับนี้ เพราะ หลังจากขอสละสิทธิ์แล้ว ระบบจะมีรหัส OTP เพื่อให้ผู้ที่ลงทะเบียน ยืนยันตัวตนว่า ขอสละสิทธิ์จริงอีกครั้ง ดังนั้น ข้อมูลในระบบที่ได้รับ ไม่น่าจะคลาดเคลื่อน เพราะหนังสือนี้ ถูกส่งให้กับผู้ที่สละสิทธิ์เงินเยียวยาไว้เท่านั้น

ส่วนโครงการ "เราเที่ยวด้วยกัน" นั้น นายลวรณ กล่าวว่า กระทรวงการคลัง ประเมินว่า มาตรการ "เราเที่ยวด้วยกัน" จะส่งผลให้มีเม็ดเงิน เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 50,000 ล้านบาท และส่งผลให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ปีนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้น 0.2 - 0.3%

ทั้งนี้ เชื่อว่า การสนับสนุน ให้ประชาชนท่องเที่ยวในประเทศ มีผลดีกว่า เมื่อเทียบกับมาตรการอื่นๆ เพราะเป็นการกระจายเม็ดเงินเข้าสู่ชุมชน แต่ถ้าเป็นมาตรการ ที่สนับสนุนให้ภาคธุรกิจขยายตัว ในบางกลุ่มอุตสาหกรรม ถ้ากลุ่มนั้นโตได้ 2% แม้จะมีผลทางเศรษฐกิจ แต่ก็ไม่มีผลเท่ามาตรการท่องเที่ยว ที่กระจายตัวกว่า

เราไม่ทิ้งกัน
เราไม่ทิ้งกัน

นายลวรณ กล่าวอีกว่า กระทรวงการคลัง ขอประเมินผลจากมาตรการดังกล่าว ที่จะดำเนินการในรอบแรกก่อนว่า การสนับสนุนเงินงบประมาณ 15,000 ล้านบาท ในการช่วยค่าห้องพัก 5 ล้านคืนนั้น จะมีผลตอบรับเป็นอย่างไร ก่อนจะพิจารณาว่า จำเป็นต้องปรับหลักเกณฑ์ให้เหมาะสมมากขึ้นหรือไม่

"ตอนนี้อยู่ระหว่างหารือกับ กรมสรรพากร เกี่ยวกับมาตรการกระตุ้น ให้คนมีฐานะใช้จ่ายมากขึ้น รวมถึง อยู่ระหว่างการศึกษามาตรการอื่นเพิ่มเติม เช่น มาตรการกระตุ้น ให้คนไทยเดินทางท่องเที่ยวในวันธรรมดา เพื่อให้เกิดการกระจายตัว ของเม็ดเงินรายได้ทุกวันแบบสม่ำเสมอ เป็นต้น" นายลวรณ กล่าว

โดยมาตรการดังกล่าวข้างต้น อาจมาจากวงเงินที่เหลือ จากมาตรการชดเชยค่าห้องพักให้ 40% แต่ไม่เกิน 3,000 บาท ต่อห้อง ต่อคืน ในการเข้าพักในโรงแรม ที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย ว่าด้วยโรงแรม และ โฮมสเตย์ ที่ได้ขึ้นทะเบียนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากมองว่า ประชาชนอาจใช้สิทธิ์ ไม่เต็มเพดานที่ให้ทั้งหมด และ อาจทำให้มีเงินเหลือจากมาตรการได้

อ่านข่าวเพิ่มเติม

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0