โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ซูเปอร์สโนว์มูน มาแล้ว! พระจันทร์สว่างดวงโตสุดในรอบปี

Khaosod

อัพเดต 17 ก.พ. 2562 เวลา 16.18 น. • เผยแพร่ 17 ก.พ. 2562 เวลา 15.21 น.
snowmoon2

ซูเปอร์สโนว์มูน มาแล้ว พระจันทร์สว่างดวงโตสุดในรอบปี

ซูเปอร์สโนว์มูน – ดิ อินดิเพนเดนต์ รายงานว่า นักดูดาวและคนรักท้องฟ้าจะได้ชมปรากฎการณ์ “ซููเปอร์สโนว์ มูน” วันที่ 19 ก.พ.นี้ เมื่อดวงจันทร์จะโคจรเข้ามาใกล้โลกมากที่สุด ห่างจากโลกประมาณ 356,800 ก.ม. เป็นปรากฏการณ์ ซูเปอร์ ฟูลมูน ครั้งที่ 2 ในปีนี้ หลังจากเพิ่งมีปรากฏการณ์ “ซูเปอร์ บลัด วูลฟ์ มูน” หรือ “พระจันทร์สีเลือด” เมื่อวันที่ 21 ม.ค. ต้อนรับปีค.ศ.2019

พระจันทร์เต็มดวงในเดือนกุมภาพันธ์นี้  มีชื่อเล่นว่า “สโนว์ มูน” พระจันทร์หิมะ หรือ “ฮังเกอร์ มูน” เพราะเป็นเดือนที่มักจะมีหิมะตกหนักที่สุด ท่ามกลางอากาศหนาวเหน็บส่งผลให้อาหารขาดแคลนจนผู้คนเริ่มหิวโหย

พระจันทร์ในวันที่ 19 ก.พ. ตรงกับวันมาฆบูชาของไทย จะมีตำแหน่งโคจรใกล้โลกมากที่สุด หรือ เปริจิ ในเวลา 9.06 น. ตามเวลาในอังกฤษ หรือ ตรงกับเวลา 16.06 น. ตามเวลาในไทย และจะเห็นดวงจันทร์เต็มดวงขนาดใหญ่ที่สุด ในเวลา 15.53 น. ตามเวลาในอังกฤษ หรือตรงกับเวลา 22.53 น. ตามเวลาไทย

ซูเปอร์สโนว์มูน
ซูเปอร์สโนว์มูน

ซูเปอร์มูนจะใหญ่กว่าไมโครมูน หรือ พระจันทร์เต็มดวงที่โคจรห่างจากโลกที่สุด (ประมาณ 405,500 ก.ม.) ร้อยละ 14 และจะสว่างกว่าไมโครมูน ร้อยละ 30 ส่วนปรากฏการณ์ซูเปอร์มูนครั้งต่อไป มีชื่อว่า “ฟูล เวิร์ม มูน” หรือ พระจันทร์หนอน ซึ่งในอังกฤษจะเห็นได้ในวันที่ 21 มี.ค. เพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังจากเข้าสู่ฤดูใบไหม้ผลิอย่างเป็นทางการ

นอกจากนี้ ยังเกิิดปรากฏการณ์จันทรุุปราคาบางส่วนในอังกฤษ ในคืนที่ 16 ก.ค. ขณะที่จันทรุปราคาเต็มดวงจะเกิดขึ้นในปี 2564

เมื่อเดือนก่อน ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเห็นได้เฉพาะบางส่วนในอังกฤษเท่านั้นเนื่องจากเมฆบดบัง แต่มีผู้เห็นวัตถุบางอย่างพุ่งชนดวงจันทร์ในขณะเกิดจันทรุปราคา ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าสะเก็ดดาวขนาดเท่าๆ กับลูกบอลชายหาดพุ่งชนกับวัตถุที่มีน้ำหนักประมาณ 20-100 ก.ก. บนดวงจันทร์ด้วยความเร็วประมาณ 47,000 ก.ม.ต่อ ช.ม.

…………

อ่านปรากฏการณ์พระจันทร์ก่อนหน้านี้ :

 

youtube
0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0