โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ซีรีส์ "หุ้นน่าจับตา" ตอนที่หก MAJOR เติบโตท่ามกลางมรสุม Disruption

Stock2morrow

อัพเดต 25 มิ.ย. 2562 เวลา 08.06 น. • เผยแพร่ 25 มิ.ย. 2562 เวลา 08.34 น. • Stock2morrow
ซีรีส์
ซีรีส์ “หุ้นน่าจับตา” ตอนที่หก MAJOR เติบโตท่ามกลางมรสุม Disruption

 

“MAJOR ไม่เคยหยุดนิ่ง ปรับตัวติดเทรนด์ นำนวัตกรรมเข้าช่วย พิชิตฝันสร้าง 1,000 โรงหนัง สร้างตลาดคนดู สู้กระแสเทคโนโลยีดิสรัปชัน”

 

การอุบัติขึ้นของเทคโนโลยีดิสรัปชัน ได้ก่อเกิดแพลตฟอร์มการเข้าถึงความบันเทิงในราคาถูกมากมาย โดยเฉพาะการรับชมภาพยนตร์ออนไลน์ จนหลายฝ่ายกังวลว่า อุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์ในบ้านเราจะได้รับผลกระทบตามมา แต่สำหรับ วิชา พูลวรลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) (MAJOR) กลับไม่คิดเช่นนั้น เขามองว่า ธุรกิจโรงภาพยนตร์ยังมีอนาคต ‘สดใส’ เห็นได้จากภาพยนตร์บางเรื่องสามารถทำเงินระดับพันล้านบาทในประเทศไทย ขณะที่เมเจอร์เองก็ยังขยายจำนวนโรงภาพยนตร์มากขึ้นทุกปี ไม่นับรวมโอกาสใหม่ๆ ในประเทศเพื่อนบ้านที่คาดว่าจะมีโรงภาพยนตร์ได้ถึง 1,000 โรง ในอนาคต  

“การรับชมภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์นั้นกลายเป็นวัฒนธรรมที่มีเสน่ห์ที่ผู้คนยังหลงใหล เป็นความบันเทิงนอกบ้านที่หาได้ง่ายและทุกคนในครอบครัวสามารถใช้เวลาอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข นี่คือปัจจัยแห่งความสำเร็จของเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ตลอด 24 ปีที่ผ่านมา”  วิชาเปิดเผย

MAJOR ก่อตั้งขึ้นในปี 2538 ปัจจุบันมีธุรกิจหลักคือ ธุรกิจโรงภาพยนตร์ ธุรกิจโบว์ลิงและคาราโอเกะ ธุรกิจให้บริการสื่อโฆษณา ธุรกิจพื้นที่ให้เช่าและบริการ  และธุรกิจสื่อภาพยนตร์

 

MAJOR
MAJOR

โรงภาพยนตร์สยามภาวลัย

 

สร้าง ‘วัฒนธรรม’ การดูหนัง

วิชาบอกว่า เมเจอร์ไม่เคยหยุดนิ่ง ซึ่งไม่เพียงการสร้างองค์กรให้เติบโต แต่ยังช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์ให้เดินไปข้างหน้า จะเห็นได้ว่าตลอดเวลาที่ผ่านมา บริษัทได้มุ่งมั่นสร้างวัฒนธรรมการดูหนัง หรือ Movie Culture ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย หวังเทียบเท่ากับประเทศเกาหลีใต้ ที่มีโรงภาพยนตร์กว่า 2,200 โรง และขายตั๋วหนังได้ 200 ล้านใบต่อปี ดังนั้น บริษัทจึงมุ่งการขยายสาขาไปในหลากหลายพื้นที่ เพื่อให้ครอบคลุมทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด หวังกระตุ้นการชมภาพยนตร์ในโรงมากขึ้น 

ปัจจุบันเครือเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป มีโรงภาพยนตร์อยู่ใน 57 จังหวัด จาก 77 จังหวัดทั่วประเทศ  ในเวลาเดียวกันก็มุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมหนังไทย ซึ่งเป็น ‘ซอฟต์แวร์’ ของโรงภาพยนตร์ โดยพยายามผลักดันให้ภาพยนตร์ไทยได้ออกฉายในต่างประเทศมากขึ้น  ซึ่งปัจจุบันหนังไทยได้ออกฉายไป 12 ประเทศ ทั่วเอเชีย
 
ปัจจุบันตลาดภาพยนตร์ในประเทศ ภาพยนตร์ไทยมีสัดส่วนรายได้อยู่ที่ 33% (ปี 2560 อยู่ที่ 17% และ 2561 อยู่ที่ 26%) ของรายได้จากตั๋วหนังทั้งหมดแต่ละปี  แต่หากเทียบกับประเทศเกาหลีใต้แล้วก็ยังถือว่าต่ำทั้งในแง่ของสัดส่วนรายได้และจำนวนหนัง โดยมีภาพยนตร์เกาหลี 200 เรื่องที่เข้าฉาย มีสัดส่วนรายได้อยู่ที่ 60% ของรายได้จากการขายตั๋วหนังในโรงทั้งหมด และเมื่อพิจารณาจากสถิติดังกล่าว ถือว่าสำหรับภาพยนตร์ไทยยังมีโอกาสเติบโตอีกมากในอนาคต และหากภาพยนตร์ไทยประสบความสำเร็จ เมเจอร์ก็ได้อานิสงส์นี้เช่นกัน

 

ธุรกิจหลักของเมเจอร์

 

MAJOR
MAJOR

 

จะ ‘แกร่ง’ ต้องปรับตัว

ปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามาเปลี่ยนโฉมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ทั่วโลก และเมเจอร์ก็ได้เตรียมตัวตั้งรับกับแนวโน้มดังกล่าวมานานแล้ว โดยบริษัทมีทีมผู้บริหารและพนักงานที่คอยติดตามไลฟ์สไตล์และเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น  อีกทั้งยังพร้อมจะปรับตัวให้สอดรับกับพฤติกรรมของผู้ชมภาพยนตร์อยู่ตลอดเวลา 

วิชากล่าวว่า การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีดิสรัปชัน ได้ส่งผลดีกับบริษัท  ซึ่งอาจสวนทางกับบริษัทอื่น เพราะทางเมเจอร์เองได้ปรับตัวรองรับกับการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา กล่าวคือ นำนวัตกรรมที่เกิดขึ้นมาปรับใช้กับธุรกิจที่ทำอยู่ให้แข็งแกร่งและเพื่อรักษาความเป็นผู้นำในตลาด ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป มองเห็นถึงภาพอนาคตของภาพยนตร์และโรงภาพยนตร์ว่าเป็นอย่างไร เราจึงได้มีการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ล้ำสมัยเข้ามาให้บริการแก่ลูกค้าได้สัมผัสก่อนใครเป็นแห่งแรกเสมอ ไม่ว่าจะเป็นโรงภาพยนตร์ระบบ 3D, โรงภาพยนตร์ 4DX, Screen X, IMAX VR และล่าสุดเปิดให้บริการโรงภาพยนตร์ E-Sports แห่งแรกในโลก ซึ่งโรงภาพยนตร์ระบบต่างๆ ได้ตอบสนองไลฟ์สไตล์ความต้องการของลูกค้ากลุ่มที่ชื่นชอบดิจิทัลและความทันสมัยของเทคโนโลยีที่หาไม่ได้จากช่องทางอื่นๆ ซึ่งเราได้ปรับตัวและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในเรื่องของ Convenience ให้กับลูกค้ามากยิ่งขึ้น ไม่ว่าการเลือกภาพยนตร์ที่เรานำเสนออย่าง Movie on Demand ให้ลูกค้าเลือกเวลาชมภาพยนตร์ และภาพยนตร์ที่ต้องการได้เอง โดยเป็น Your Time มากกว่า Showtime ซึ่งเหล่านี้จะเป็น Movie Experience การชมภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ที่ให้ความรู้สึก

 

MAJOR
MAJOR

 

โรงภาพยนตร์ IMAX VR

และอรรถรสที่แตกต่างจากการชมภาพยนตร์ผ่านช่องทางอื่นๆ ทั้งจากภาพ เสียง และบรรยากาศที่แตกต่าง อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะอย่างแท้จริง นอกจากนี้เทคโนโลยียังช่วยให้บริษัทได้เปรียบในการแข่งขัน โดยเฉพาะในด้านการจัดการต้นทุน

“การดูหนังในโรงภาพยนตร์ คือ First Window บวกกับความเป็น Lifestyle  Entertainment ที่คนออกมาใช้เวลาร่วมกัน ในแง่อุตสาหกรรมภาพยนตร์โลก แสดงให้เห็นว่ายังมีการขยายโรงภาพยนตร์  เพื่อตอบรับกับความต้องการของคนดูหนัง รวมไปถึงจำนวนหนังที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกปีจากค่ายหนังใหญ่ๆ”  วิชากล่าว

พร้อมกันนี้ยังยกตัวอย่างประเทศจีนในการอธิบายให้เห็นภาพ โดยบอกว่า จีนมีโรงภาพยนตร์มากที่สุดในโลก และรายได้จาก Box Office ยังสามารถเติบโตได้ 21% และเทรนด์ของโรงหนังในโลกยังมีการขยายอย่างต่อเนื่อง สิ่งนี้ช่วยตอกย้ำว่า ภาพยนตร์คือ First Window และหากจะดูในแพลตฟอร์มอื่นต้องใช้เวลาอย่างน้อย 4-6 เดือน ในการรอดูผ่านช่องทางอื่นๆ 

 

โรงหนังของเมเจอร์ในภูมิภาค

 

MAJOR
MAJOR

 

เครือข่ายโรงหนัง

มีสาขาในประเทศไทยและต่างประเทศ

จำนวน 163 สาขา คิดเป็น 791 โรง
จำนวน 177,952 ที่นั่ง

เป้าหมายในอนาคตมีโรงภาพยนตร์
จำนวน 1,000 โรง

 

ธุรกิจสดใส ขยายโรงเพิ่ม

ปัจจุบันเมเจอร์ยังคงขยายสาขาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในต่างจังหวัด รวมถึงในพื้นที่อำเภอและตำบล โดยในการขยายสาขาจะคำนวณจำนวนโรงให้เหมาะสมกับจำนวนกลุ่มลูกค้า ซึ่งระยะหลังๆ นี้ เมเจอร์ขยายไปสาขาละ 1-3 โรงภาพยนตร์  เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ทุกจังหวัด โดยตั้งเป้าจะขยายโรงภาพยนตร์ให้ได้ 1,000 โรงทั่วประเทศ จากปัจจุบันที่มีเครือข่ายโรงภาพยนตร์ทั้งในประเทศและต่างประเทศจำนวน 163 สาขา คิดเป็น 791 โรง    “การขยายสาขาจะควบคู่ไปกับการผลักดันอุตสาหกรรมภาพยนตร์ให้เติบโตไปพร้อมกัน เพราะในต่างจังหวัดผู้บริโภคชอบที่จะดูหนัง Local มากกว่า”  วิชากล่าว   ในเวลาเดียวกัน บริษัทขยายโรงภาพยนตร์เพิ่มในประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศ CLMV ปัจจุบันบริษัทเปิดโรงหนังในกัมพูชาและสปป. ลาว รวม 37 โรง ทำให้ปัจจุบันมีส่วนแบ่งทางการตลาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย กัมพูชา และสปป. ลาว  พร้อมกับนำภาพยนตร์ไทยไปฉายในประเทศในกลุ่ม CLMV เนื่องจากภาพยนตร์ไทยเป็นที่ต้องการในตลาด ปัจจุบันหนังที่ผลิตในท้องถิ่นในแต่ละประเทศมีสัดส่วนอยู่ประมาณ 40% ของจำนวนหนังที่ฉายทั้งหมด  

MAJOR
MAJOR

โรงภาพยนตร์ 4DX      หารายได้เพิ่ม บริหารต้นทุน เพิ่มความแกร่ง    วิชายืนยันว่า เมเจอร์ไม่หยุดที่จะพัฒนาในเรื่องของคุณภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ในขณะเดียวกันก็ยังหารายได้และจัดการต้นทุนให้ดี  ปัจจุบันการขยายสาขาในต่างจังหวัด เมเจอร์สามารถลดต้นทุนค่าก่อสร้างลงมาได้ถึง 35%-40% ทำให้บริษัทใช้งบลงทุนน้อยกว่าหลายๆ ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังทำโปรเจ็กต์ MPASS ขึ้นมา ปัจจุบันมีลูกค้าอยู่ 80,000 ราย เป็นนักเรียน นักศึกษา โดยนักเรียนนักศึกษา จ่ายเงินเดือนละ 200 บาท เป็นเวลา 12 เดือน แล้วสามารถดูหนังเรื่องใดก็ได้ เพื่อสร้างช่องทางการดูหนังที่ไม่ใช่แค่ Blockbuster เท่านั้น     หรือในปีที่ผ่านมาก็ได้เปิดตัวโรงภาพยนตร์สำหรับเด็ก หรือ Kid Cinema ซึ่งปัจจุบันมีอยู่  10 โรง เพื่อรองรับลูกค้ากลุ่มครอบครัว ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีมาก การฉายภาพและระบบเสียงเหมาะสมกับเด็ก หรือแม้แต่โรง E-Sport แห่งแรกของโลก ก็ได้รับการตอบรับที่ดีเช่นเดียวกัน   วิชาย้ำว่า “นี่คือ ‘ความแข็งแกร่ง’ ของเมเจอร์ ปัจจุบันผู้ถือหุ้นเมเจอร์ส่วนใหญ่เป็นทั้งนักลงทุนสถาบันทั้งไทยและต่างชาติ เนื่องจากบริษัทมีผลการดำเนินการที่เติบโตขึ้นทุกปี การหารายได้จากธุรกิจหลักและหารายได้จากช่องทางใหม่ๆ เติบโตอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีการจัดการต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ  สามารถจ่ายเงินปันผลที่มีอัตราสูงกว่า 80% ต่อเนื่องติดต่อกันในหลายๆ ปีที่ผ่านมา”    สุดยอดโรงภาพยนตร์  

MAJOR
MAJOR

 

MAJOR
MAJOR

ข้อมูลนี้เป็นส่วนหนึ่งจากหนังสือ Stock Guide 2019-2020 ดาวน์โหลด E-Book ฉบับเต็ม ฟรี ได้ที่ >> http://bit.ly/2WNQiHi

Stock Guide 2019-2020
Stock Guide 2019-2020

stock2morrow

ศูนย์รวมความรู้เรื่องหุ้น ศูนย์รวมนักลงทุนรายย่อย ที่อยากรู้วิธีการลงทุนในหุ้นอย่างถูกต้องและได้กำไรอย่างยั่งยืน ติดตามเราได้ที่

www.stock2morrow.com 

FB: stock2morrow 

LINE@stock2morrow

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0