โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ชาวม่อนแจ่มรับยังไร้ทางออก หลังถูกกดดันให้รื้อบ้านพักรีสอร์ท ออกจากพื้นที่

TODAY

อัพเดต 18 ก.พ. 2563 เวลา 06.55 น. • เผยแพร่ 18 ก.พ. 2563 เวลา 06.34 น. • Workpoint News
ชาวม่อนแจ่มรับยังไร้ทางออก หลังถูกกดดันให้รื้อบ้านพักรีสอร์ท ออกจากพื้นที่

ชาวม่อนแจ่มร้องขอความเป็นธรรมหลังถูกกดดันให้ออกจากพื้นที่ป่า แจงเลิกอาชีพเกษตรปักหลักทำรีสอร์ทที่พัก ยอมรับไร้ทางออก ขอให้ทบทวนมาตรการต่างๆ 

วันที่ 18 ก.พ.2563 ชาวบ้านบนดอยม่อนแจ่มและหมู่บ้านใกล้เคียงกว่า 300 คน รวมตัวกันที่ อบต.โป่งแยง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ถือป้ายเรียกร้องความเป็นธรรม หลังถูกหน่วยงานรัฐกดดันหนักด้วยการสั่งตัดกระแสไฟฟ้าที่ต่อพ่วงจากมิเตอร์หลัก ตัดสัญญาณโทรศัพท์มือถือรวมทั้งเร่งรัดดำเนินคดีกับชาวบ้านเพิ่มเติมต่อเนื่องสร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านหลายร้อยคน การรวมตัวกันในวันนี้ กลุ่มชาวบ้านได้นำรายชื่อผู้ที่ได้รับผลกระทบกว่า 600 ราย พร้อมกับหนังสือข้อเรียกร้องยื่นกับนายวีระพันธ์ ดีอ่อน ปลัดจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อขอให้พิจารณาทบทวนมาตรการต่าง ๆ

นายชัยชนะ สุขสกุลปัญญา อดีตผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 11 บ้านหนองหอยใหม่ ตัวแทนชาวบ้าน บอกว่า นอกจากเรื่องไฟฟ้าที่ถูกตัดชาวบ้านยังกังวลจะถูกดำเนินคดีเพิ่มในส่วนของ พ.ร.บ.อาคาร, พ.ร.บ.โรงแรม และ ถูกยึดที่ดินทำกิน ทุกคนอยากจะได้ความชัดเจน ตอนนี้ชาวม่อนแจ่ม 3 หมู่บ้าน ทุกคนอยู่อย่างไม่มีความสุข จึงต้องการให้ภาครัฐหาแนวทางออกร่วมชาวบ้าน เพราะที่ผ่านมามีการสำรวจและใช้ กฎหมายบังคับ โดยไม่มีทางออกอื่นให้กับชาวบ้าน จึงอยากให้มีการเจรจาหาทางออกร่วมกัน  

นายชัยชนะ ยอมรับว่า หากจะต้องรื้อบ้านพักรีสอร์ททั้งหมดเพื่อคืนสภาพป่า ชาวบ้านรับไมได้ เพราะทุกวันนี้ชาวบ้านเกือบทั้งหมดได้เปลี่ยนจากทำการเกษตรมาเป็นการท่องเที่ยว ไม่ใช้เพราะอยากได้เงินอย่างเดียว แต่เป็นเพราะทำการเกษตร ก่อให้เกิดปัญหาหลายอย่างทั้ง ไฟป่า น้ำเสีย ปัญหาสิ่งแวดล้อมและราคาผลผลิตที่ตกต่ำต่อเนื่อง แต่การประกอบท่องเที่ยว เมื่อชาวบ้านีมีรายได้ทดแทนการเกษตร ทุกแห่งก็มีการปลูกต้นไม้ สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี ส่วนที่ถูกมองว่ามีรีสอร์ทมากเกินไปจนล้นดอยมองว่า 3 หมู่บ้านมีประชาชนกว่า 3,000 คน แต่มีรีสอร์ทประมาท 100 กว่าแห่ง ก็ถือว่าไม่มาก

ขณะที่นายกมล นวลใย ผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 เดินทางมาพบกับกลุ่มชาวบ้าน บอกว่า ภาครัฐพยายามแก้ไขปัญหาเพราะพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ต้นน้ำชั้น 1 ,  2 เสี่ยงต่อการพังทลายของหน้าดิน หากเกิดฝนตกหนัก จะเกิดน้ำป่า บ้านที่เป็นที่พักเสี่ยงพังถล่มเป็นอันตรายต่อผู้เข้าพัก จึงต้องมีการแก้ไขเร่งด่วน นอกจากนี้ยังมีเรื่องของสถานภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินไม่ถูกต้อง ต้องมีการแก้ไข ล่าสุดดำเนินคดีไปแล้ว  27 ราย ที่มีการซื้อขาย เปลี่ยนมือ บุกรุกใหม่ บุกรุกเพิ่ม ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างตรวจสอบ

การรวมตัวกันในครั้งนี้ตัวแทนกลุ่มชาวบ้านได้เจรจากับนายกมล นวลใย ผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 เพื่อเสนอข้อเรียกร้อง ขณะที่นายกมลระบุหน่วยงานภาครัฐจะต้องดำเนินการตามกฏหมาย  

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0