โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ชาย VS หญิง ใครกันแน่ที่ครองบัลลังก์ผู้บริหารระดับสูงธุรกิจอีคอมเมิร์ซในไทย?

Positioningmag

อัพเดต 20 ก.ค. 2561 เวลา 11.33 น. • เผยแพร่ 21 ก.ค. 2561 เวลา 02.30 น.

เรื่อง ขนิษฐา สาสะกุล iPrice

ปฎิเสธไม่ได้ว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซกำลังได้รับความนิยมในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างมาก

แต่จะรุ่งหรือร่วงนอกจากรูปแบบการบริการที่จับกลุ่มลูกค้าได้อยู่หมัดแล้วการบริหารงานภายในบริษัทก็สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน

ยิ่งบริษัทไหนมีผู้บริหารวิสัยทัศน์กว้างไกลก็ยิ่งเปิดศึกงัดข้อกับคู่แข่งได้ยาวนานเท่านั้นที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าผู้บริหารระดับสูงในประเทศไทยเต็มไปด้วยเพศชายเพราะวัฒนธรรมดั้งเดิมที่ถูกปลูกฝังว่าเพศชายต้องเป็นช้างเท้าหน้าเสมอทำให้น้อยครั้งนักที่จะมีผู้บริหารเพศหญิงในองค์กร

แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปเพศหญิงและเพศชายมีความเท่าเทียมกันมากขึ้นประกอบกับธุรกิจอีคอมเมิร์ซในไทยส่วนใหญ่จะทำการตลาดในต่างประเทศด้วยทางiPrice จึงทำการศึกษาข้อมูลโดยการวิเคราะห์ความหลากหลายทางเพศของผู้บริหารในร้านค้าอีคอมเมิร์ซไทย ทำให้พบข้อมูลที่น่าสนใจถึง5 ประเด็นด้วยกัน ดังนี้

เพศชายเป็นผู้บริหารระดับสูงของร้านค้าอีคอมเมิร์ซในไทยมากกว่า

แม้ว่าผลวิจัยจะพบว่าเพศชายมีอัตราส่วนมากกกว่าเพศหญิงแต่เปอร์เซ็นความแตกต่างทางเพศกลับไม่ทิ้งห่างกันไหร่เพศชายมีสัดส่วน60% ในขณะที่เพศหญิงมี*40% *

ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะการเก็บข้อมูลผู้บริหารระดับสูงในร้านค้าอีคอมเมิร์ซในไทยซึ่งบางร้านไม่ได้เป็นอีคอมเมิร์ซสัญชาติไทยโดยตรงประกอบกับธุรกิจอีคอมเมิร์ซส่วนใหญ่มักทำการตลาดในหลายๆประเทศทำให้ธุรกิจประเภทนี้เลือกคณะผู้บริหารด้วยเกณฑ์การตัดสินแบบใหม่ไม่มีความแตกต่างทางเพศเข้ามาเกี่ยวข้องแต่ในขณะที่บางประเภทร้านค้าอีคอมเมิร์ซและบางตำแหน่งก็ยังต้องการเพศชายที่มีความชำนาญงานมากกว่าเพศหญิงเข้ามาบริหารอยู่เช่นร้านค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์และงานด้านไอทีเป็นต้น

ความแตกต่างทางเพศของผู้บริหารระดับต่างในร้านค้าอีคอมเมิร์ซ

เมื่อนำข้อมูลการวิเคราะห์ความแตกต่างทางเพศของผู้บริหารระดับสูงในร้านค้าอีคอมเมิร์ซไทยมาจำแนกเป็น3 ระดับ คือC-Levels, VP และHead พบว่าความแตกต่างทางเพศในแต่ละระดับผู้บริหารมีความแตกต่างกันออกไป

ระดับC-Levels เช่นSVP, Founders, Co-founders, C-Levels และManaging Directors เป็นต้น มีเปอร์เซ็นความแตกต่างทางเพศอยู่ที่ ชาย56% หญิง44% ซึ่งถือว่าค่อนข้างใกล้เคียงกันยิ่งช่วยยืนยันว่าประเทศไทยเริ่มมีการเปิดรับวัฒนธรรมและแนวคิดของชาวต่างชาติในเรื่องความเท่าเทียมทางเพศเข้ามามากขึ้น

ต่อมาคือระดับVP ที่เพศหญิงครองตำแหน่ง1 ต่อ3 ของข้อมูลทั้งหมด หรือเพศหญิง34% ต่อเพศชาย*66% *

สุดท้ายคือระดับHead ที่ถือเป็นระดับที่เก็บข้อมูลได้มากที่สุด เพราะแผนกและแผนผังการบริหารที่มีแยกย่อยมากมาย  อาทิHead of department และDirectors เป็นต้น

ในส่วนนี้ความแตกต่างทางเพศที่ได้เกือบครึ่งต่อครึ่งเพศชาย59% และเพศหญิง41% และอาจเพราะตำแหน่งผู้บริหารระดับนี้เสมือนเป็นการปูทางสร้างผลงานเพื่อเลื่อนระดับไปสูงขึ้นเรื่อย ๆ จึงอาจทำให้ระดับHead และC-Levels มีข้อมูลความแตกต่างทางเพศค่อนข้างใกล้เคียงกันเนื่องจากถ้าใครได้ตำแหน่งนี้แล้วก็มักจะมีแรงกระตุ้นที่ช่วยผลักดันให้สร้างผลงานเพื่อต่อยอดไปในตำแหน่งสูงขึ้นเรื่อยๆนั่นเอง

อัตราเชื้อชาติผู้บริหารระดับสูงของร้านค้าอีคอมเมิร์ซไทย

สืบเนื่องมาจากธุรกิจอีคอมเมิร์ซส่วนใหญ่มักทำการตลาดในหลายๆประเทศผู้บริหารชาวต่างชาติจึงเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ด้านแนวคิดการบริหารที่หลากหลาย

จากข้อมูลพบว่าในผู้บริหารระดับสูงของร้านค้าอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยถูกแบ่งออกเป็นผู้บริหารชาวต่างชาติถึง33% ถือเป็น1 ใน3 ของข้อมูลทั้งหมด ในขณะที่ผู้บริหารชาวไทยมี67% แม้จะเป็นจำนวนที่มากกว่าถึงสองเท่า แต่ส่วนต่างที่ได้ก็ทำให้คาดเดาได้ว่า ร้านค้าอีคอมเมิร์ซในไทยส่วนใหญ่ก็คำนึงถึงแนวความคิดอันหลากหลายของผู้บริหารแต่ละเชื้อชาติจึงมอบตำแหน่งระดับสูงให้ชาวต่างชาติได้มีโอกาสกุมบังเหียนเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจด้วยเช่นกัน 

ความแตกต่างทางเพศและเชื้อชาติของผู้บริหารระดับสูงในร้านค้าอีคอมเมิร์ซไทย

หากนำข้อมูลที่ได้มาจำแนกออกเป็นความแตกต่างทางเพศและเชื้อชาติผลลัพธ์ที่ได้คือผู้บริหารชาวไทยมีเพศหญิงนั่งเก้าอี้มากกว่าเพศชายที่51% ต่อ49% ในขณะที่ผู้บริหารชาวต่างชาติมีจำนวนเพศชายมากถึง82% ต่อ18%

จากข้อมูลดังกล่าวยิ่งกล่าวเสริมความน่าจะเป็นที่ว่าเกณฑ์การคัดเลือกผู้บริหารระดับสูงของร้านค้าอีคอมเมิร์ซในไทยจะเน้นเรื่องความสามารถเป็นหลักโดยคำนึงถึงความแตกต่างทางเพศเป็นส่วนน้อยยิ่งปัจจุบันมีร้านค้าออนไลน์ที่เน้นให้บริการสินค้าด้านแฟชั่นสุขภาพและความงามมากขึ้นยิ่งทำให้ผู้บริหารเพศหญิงเป็นที่ต้องการมากขึ้นตามไปด้วยจึงไม่แปลกที่เพศหญิงจะค่อนข้างมีบทบาทในการบริหารร้านค้าอีคอมเมิร์ซในไทย

ความแตกต่างทางเพศของผู้บริหารในร้านค้าอีคอมเมิร์ซแต่ละประเภท

เมื่อนำข้อมูลที่ได้มาจำแนกออกเป็น3 ประเภทธุรกิจ ได้แก่Fashion, Electronic และGeneral ยิ่งช่วยเสริมความน่าจะเป็นในเรื่องการเพิ่มขึ้นของร้านค้าอีคอมเมิร์ซที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้หญิงอย่างประเภทFashion ซึ่งทำให้ผู้บริหารระดับสูงต้องการแนวคิดของเพศหญิงที่เป็นเพศเดียวกับกลุ่มเป้าหมาย มีความแตกต่างทางเพศอยู่ที่หญิง60% ต่อชาย40% ต่อมาคือร้านค้าอีคอมเมิร์ซประเภท Electronic ที่ย่อมมีกลุ่มเป้าหมายหลักเป็นเพศชาย ซึ่งมีสัญชาติญาณความหลงไหลในอุปกรณ์ไอทีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ทำให้อัตราส่วนผู้บริหารเพศชายมีจำนวนมากกว่าเพศหญิงถึง2 ใน3 หากคิดเป็นเปอร์เซ็นคือ70% ต่อ*30% *

สุดท้ายคือร้านค้าอีคอมเมิร์ซทั่วไปหรือGeneral ที่ยังคงกุมพื้นที่ทางการตลาดอีคอมเมิร์ซไทยมากที่สุด จากข้อมูลที่ได้พบว่ามีผู้บริหารระดับสูงเป็นเพศชายที่61% และเพศหญิง39% ซึ่งเป็นตัวเลขที่คาดเดาได้ไม่ยากนัก

การเก็บข้อมูล: เก็บข้อมูลโดยการวิเคราะห์ความหลากหลายทางเพศของผู้บริหารจาก15 ร้านค้าอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยที่มีรายชื่ออยู่ใน Map of E-commerce Q1 2018 ของiPrice ซึ่งเป็นข้อมูลสาธารณะจากLinkedin. โดยiPrice Group แบ่งกลุ่มผู้บริหารระดับสูงออกเป็น3 ระดับด้วยกัน ได้แก่C-levels, VP และHead

เขียนและวิเคราะห์โดย :ขนิษฐา สาสะกุลiPrice

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0