โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ชวนชิมลาบหมาน้อย เมนูพื้นบ้านเพื่อสุขภาพรับปีใหม่ เมืองอุบลฯ

เทคโนโลยีชาวบ้าน

อัพเดต 17 ม.ค. 2563 เวลา 04.04 น. • เผยแพร่ 17 ม.ค. 2563 เวลา 04.04 น.
17 ลาบ

มาทำความรู้จักกับลาบหมาน้อย เมนูพื้นบ้านอีสานสุดแปลก แต่รสชาติสุดแซ่บ คนรักสุขภาพไม่ควรพลาด

ได้ยินชื่อเมนูอาหารสุดแปลกนี้ว่า “ลาบหมาน้อย” หลายคนที่ไม่รู้จักอาจคิดว่า เป็นลูกสุนัขหรือหมาตัวเล็กๆ แสนจะน่ารัก ฆ่าแล้วเอาเนื้อมาทำลาบ แต่ผิดถนัด เพราะถ้าถามคนอีสานถึงเมนูพื้นบ้านนี้ เป็นพืชชนิดหนึ่ง มีอยู่กระจายตามภาคต่างๆ ของประเทศ และมีชื่อเรียกหลายชื่อตามถิ่นที่พบ เช่น กรุงเขมา ขงเขมา เปล้าเลือด และหมอน้อย (หมาน้อย) โดยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cissampelos pareira L. var. hirsuta (Buch. ex DC.) Forman

ลักษณะของลำต้นเป็นไม้เถาเลื้อย มีขนนุ่มสั้นปกคลุมหนาแน่นตามเถา กิ่ง ช่อดอก และใบ ไม่มีมือเกาะ มีรากสะสมอาหารใต้ดิน ใบเป็นใบเดี่ยว มีหลายรูป เช่น รูปหัวใจ รูปกลม รูปไต หรือรูปไข่กว้าง ก้นใบปิด ออกแบบสลับ กว้าง 4.5-12 เซนติเมตร ยาว 4.5-11 เซนติเมตร ปลายใบส่วนมากมนหรือเรียวแหลม โคนใบกลมตัด หรือเป็นรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ เนื้อบางคล้ายกระดาษ มีขนนุ่มสั้นกระจาย ทั้งหลังใบและท้องใบ ใบเมื่อยังอ่อนจะมีขนอ่อนนุ่มปกคลุมอยู่ทั้งสองด้าน และตามขอบใบ แต่ขนจะร่วงไปเมื่อใบแก่ขึ้น พบมากในภาคอีสาน และมีการนำไปทำอาหาร อดีตพบได้ตามป่า จึงเป็นของหายาก

จากการสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ถึงชื่อ ต้นหมาน้อย อาจมีการเรียกเพี้ยน จากหมอน้อย ที่มีสรรพคุณทางยาสมุนไพรที่หลากหลาย ทั้งเป็นยาแก้ร้อนใน แก้โรคตับ รากมีกลิ่นหอม รสสุขุม ใช้แก้ไข้ แก้ดีรั่ว ดีล้น ดีซ่าน เป็นยาขับปัสสาวะ ยาถ่าย แก้ไข้มาลาเรีย ใช้เป็นยาเจริญอาหาร ยาอายุวัฒนะ แก้ลม โลหิต กำเดา แก้โรคตา ยาช่วยย่อย แก้ท้องร่วง บวมน้ำ แก้ไอ ขัดเบา กระเพาะปัสสาวะอักเสบ และใช้ในรายถูกงูกัด เป็นยาลดไข้ แก้ปวดท้อง โรคหนองใน ยาขับน้ำเหลืองเสีย เป็นต้น

ที่มาของชื่อ อีกทางหนึ่งอาจมาจากเมื่อนำมาทำลาบแล้ว เป็นของหายาก คนในอดีตจะเรียกเป็นลาบหมาน้อย ก็จะทำให้คนไม่รู้จักพืชชนิดนี้ ไม่กล้าที่จะมากินด้วย เพราะคิดว่า ฆ่าหมาแล้วเอามาทำเป็นลาบกินกับข้าว นอกจากต้นหมาน้อย จะสามารถนำไปทำเป็นลาบเมนูพื้นบ้านแล้ว ก็ยังทำเป็นของหวานได้ด้วย โดยใบของหมาน้อยนี้ จะมีรสชาติจืด จึงทำให้สามารถเติมรสชาติที่ต้องการลงไปได้

ด้วยคุณลักษณ์ที่เป็นประโยชน์อย่างมากมายของอาหารพื้นบ้านชนิดนี้ กลุ่มแม่บ้านบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จึงมีการรณรงค์ให้คนในหมู่บ้านเอาต้นหมาน้อย ซึ่งอดีตพบมีแต่ในป่ามาปลูกไว้ตามหน้าบ้าน หลังบ้าน เพื่อให้มีอาหารสมุนไพรไว้ปรุงให้ลูกหลาน หรือแขกที่มาเยือนชุมชนได้กิน รวมทั้งยังเป็นการสืบทอดเมนูอาหารพื้นบ้านไม่ให้จางหายไปจากวัฒนะชนบทที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามความสะดวกสบายของสังคมยุคปัจจุบัน

คุณศิริลักษ์ นำภา หรือ แม่หอม แกนนำกลุ่มแม่บ้านบุ่งหวาย ได้เล่าถึงเรื่องราวความเป็นมาที่คนยุคปู่ย่าตายาย เอาเครือไม้ชนิดมาทำเป็นลาบหมาน้อยกินกับข้าวเหนียว ก็เนื่องจากหลังไปทำไร่ทำนาตามป่าเขา ก็จะพบกับต้นหมาน้อยขึ้นอยู่ จึงเก็บเอาใบมาทำเป็นลาบกิน เพราะอดีตอาหารตามท้องถิ่นหากินค่อนข้างยาก ไม่เหมือนกับสมัยนี้

เมื่อพบว่านอกจากเป็นพืชที่สามารถกินได้แล้ว ยังมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพรที่หลากหลาย จึงมีการนำมาประกอบเป็นอาหารหลายเมนูให้ลูกให้หลานได้กินกันในครัวเรือน แทนต้องไปกินยาวิทยาศาสตร์เวลามีอาการเจ็บป่วย

ส่วนกระบวนการนำมาปรุงทำเป็นลาบนั้น จะใช้ในส่วนของใบที่มีสารเพคติน เมื่อขยำใบกับน้ำแล้วทิ้งไว้จะแข็งตัวเป็นวุ้น มีความกรุบๆ เหมือนเคี้ยววุ้น ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของหมาน้อย เมื่อกินเข้าไปแล้ว จะรู้เย็นๆ ในท้อง

สำหรับส่วนผสมในการทำลาบนั้น จะมีพริกป่น ปลาร้า น้ำปลา ต้นหอม ผักชี ตะไคร้ ขั้นแรกจะนำใบหมาน้อยมาล้างแล้วนำมาขยำกับน้ำเปล่าจนได้น้ำสีเขียวเข้มออกมา กรองเอาแต่น้ำ จากนั้นนำน้ำหมาน้อยที่ได้มาปรุงรสสัดส่วนตามต้องการ ใส่เนื้อปลา พริกป่น ปลาร้าสับ น้ำปลา ต้นหอม ผักชี ตะไคร้ คนให้เข้ากัน เทใส่ภาชนะแล้วทิ้งไว้จนจับตัวเป็นก้อนวุ้น เพียงเท่านี้ก็พร้อมกิน จึงเป็นเมนูลาบหมาน้อยที่ทำได้ง่ายและดีต่อสุขภาพ แม่หอมยังได้ฝากถึงใครที่สนใจต้องการทำลาบหมาน้อยสามารถโทร.มาสอบถาม หรือจะสั่งไปกินก็ได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ (083) 755-8995

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0