โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ชง 7 มาตรการนายกฯแก้ปัญหาภัยแล้ง

new18

อัพเดต 22 ก.ค. 2562 เวลา 09.36 น. • เผยแพร่ 22 ก.ค. 2562 เวลา 09.30 น. • new18
ชง 7 มาตรการนายกฯแก้ปัญหาภัยแล้ง
สนทช.ถกด่วนปัญหาภัยแล้งชี้สาเหตุเกิดจากฝนตกน้อยกว่าปกติ เผยพื้นที่นอกเขตชลประทาน 83 อำเภอ 20 จังหวัดเสี่ยงขาดแคลนน้ำ ชง 7 มาตรการเร่งด่วนให้นายกฯแก้ปัญหา

*สนทช.ถกด่วนปัญหาภัยแล้งชี้สาเหตุเกิดจากฝนตกน้อยกว่าปกติ เผยพื้นที่นอกเขตชลประทาน 83 อำเภอ 20 จังหวัดเสี่ยงขาดแคลนน้ำ ชง 7 มาตรการเร่งด่วนให้นายกฯแก้ปัญหา *

เมื่อวันที่ 22 ก.ค. ที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะทำงานอำนวยการบริหารจัดการน้ำ ครั้งที่ 8/2562 ว่า สำหรับสาเหตุของน้ำต้นทุนที่มีปริมาณน้อยแม้จะอยู่ในช่วงฤดูฝน เนื่องจากสาเหตุ 3 ปัจจัย คือ 1.ปริมาณฝนตกช่วงฤดูฝนปี 2561 ตกน้อยน้อยกว่าปกติ (ค่าปกติ 10%-17%) 2.มีการส่งน้ำให้กับพื้นที่การเกษตรที่เพาะปลูกเกินแผนในฤดูแล้งปี 2561-2562 โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ้มน้ำเจ้าพระยา มีการเพาะปลูกเกินแผน 1.2 ล้านไร่ ทำให้ต้องจัดสรรน้ำมากกว่าแผน 20% และ 3.มีปริมาณฝนตกจริงน้อยกว่าที่กรมอุตุณคาดการณ์ไว้ 30%-40% ทำให้ต้องจัดสรรน้ำจากอ่างเก็บน้ำให้พื้นที่เกษตรมากกว่าแผน โดยล่าสุด สทนช.ได้ประเมินพื้นที่ฝนตกน้อยและอาจมีความเสี่ยงขาดแคลนน้ำโดนเฉพาะพื้นที่นอกเขตชลประทาน 83 อำเภอ 20 จังหวัด 

นายสมเกียรติ กล่าวว่า สำหรับภาคเหนือ ภาคกลาง และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะบริเวณเหนือเขื่อนและท้ายเขื่อน จะต้องเร่งเพิ่มน้ำต้นทุนในพื้นที่เกษตร เนื่องจากฝนไม่ได้ตกต่อเนื่อง 3-4 วัน ส่งผลทำให้น้ำอาจจะเข้ามาในพื้นที่กักเก็บน้ำได้ไม่มาก ขณะนี้จำเป็นจะต้องปรับลดการระบายน้ำในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ไม่น้อกว่า 3,000 ลบ.ม. ซึ่งขณะนี้มีบางพื้นที่ ที่ยังไม่ได้ทำการเพาะปลูกก็จำเป็นต้องชะลอการปลูกไว้ก่อน ส่วนที่ปลูกแล้วให้ประเมินค่าชดเชยและค่าเสียหายให้เกษตรต่อไป ขณะที่ 3 เขื่อนหลักที่ยังมีปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำ ประกอบด้วย เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์และ เขื่อนอุบลรัตน์ ที่น้ำยังไม่มีเพียงพอต่อการเพาะปลูก อาจจะต้องให้เกษตรกรงดการปลูกข้าวในฤดูแล้ง อย่างไรก็ตามขณะนี้ตั้งแต่วันที่ 19-20 ก.ค.2562 จะประสานขอความร่วมมือไปยังเขื่อนชัยบุรี สปป.ลาว และ เขื่อนของประเทศจีน เพื่อปรับเพิ่มการระบายน้ำเนื่องจากน้ำในแม่น้ำโขงลดลงอย่างต่อเนื่อง

นายสมเกียรติ กล่าวอีกว่า เบื้องต้นที่ประชุมได้พิจารณามาตรการรับมือภัยแล้งในช่วงฤดูฝน เพื่อเสนอต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม โดยเร่งด่วน 7 มาตรการ ได้แก่ 1.ตั้งศูนย์เฉพาะชั่วคราวในภาวะวิกฤต เพื่อติดตามสถานการณ์และรายงานต่อนายกฯ 2. ปฏิบัติการฝนหลวงในพื้นที่เหนือและท้ายอ่างเก็บน้ำ 3. สนับสนุนน้ำอุปโภคบริโภคจากแหล่งน้ำใกล้เคียงในพื้นที่เสี่ยง 4. เร่งรัดขุดลอกเพิ่มความจุแหล่งน้ำต่างๆโดยเฉพาะในพื้นที่ประกาศภัยแล้งซ้ำซาก 144 โครงการ วงเงิน 1,226 ล้านบาท 5. ปรับแผนการขุดเจาะและซ่อมแซมบ่อบาดาล 6. กำหนดมาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรหรือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง และ 7.รณรงค์การใช้น้ำอย่างประหยัด สำหรับมาตรการระยะสั้น 1. เร่งรัดการก่อสร้างหรือซ่อมแซมฝายชะลอน้ำบริเวณต้นน้ำในเขต 67 จังหวัดจำนวน 30,000 แห่ง 2. ทบทวนการคาดการณ์ปริมาณน้ำฝนที่ตกไหลเข้าอ่างตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค.ถึง 31 ต.ค.2562 3. สำรวจความต้องการใช้น้ำในแต่ละพื้นที่พร้อมเตรียมอุปกรณ์ บุคลากรสนับสนุนจัดสรรน้ำตามลำดับความสำคัญโดยเน้นการอุปโภคบริโภค 4. บริหารจัดการน้ำฝนที่ตกบริเวณพื้นที่ด้านท้ายแหล่งเก็บกักน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด /และ 5.ให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0